"เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอเตือน 4 โรค ห้ามขับรถตามลำพัง ได้แก่
1.โรคหัวใจ ที่อาจเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลัน
2.เบาหวาน ที่ต้องฉีดอินซูลีน เพราะหากน้ำตาลในเลือดต่ำอาจหมดสติ
3.โรคลมชัก ที่กินยาควบคุมอาการไม่ได้
4.ผู้ที่เคยผ่าตัดสมอง อาจส่งผลต่อการทรงตัวและการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ จึงส่งผลต่อประสิทธิภาพในการขับรถ
และข้อควรปฏิบัติในการขับรถสำหรับผู้มีโรคประจำตัวมีดังนี้ ปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความพร้อมของร่างกาย ทั้งการมองเห็น กำลังกล้ามเนื้อการทำงานของแขนและขา ระบบสั่งการของสมอง ความแข็งแรงของกระดูก ประวัติการรับประทานยาและโรคประจำตัวต่างๆ เพื่อพิจารณาสมรรถนะในการขับรถ หากแพทย์ไม่อนุญาต ห้ามขับรถโดยเด็ดขาด ควรนำยารักษาโรคและบัตรประจำตัวผู้ป่วยติดไว้เสมอ พร้อมระบุอาการของโรค
วิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง และสิ่งที่ไม่ควรทำขณะทำการช่วยเหลือ เพราะหากอาการโรคกำเริบ ผู้พบเห็นจะได้ช่วยเหลือในทันที ไม่ทานยาในช่วงก่อนขับรถ โดยเฉพาะในช่วงที่เปลี่ยนยาหรือปรับขนาดยา เพราะอาจมีผลข้างเคียงให้เกิดอาการง่วงนอน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการขับรถ
-ไม่ขับรถตามลำพัง ควรมีเพื่อนร่วมทางไปด้วยเสมอ
-หากอาการของโรคกำเริบหรือเกิดเหตุฉุกเฉินในขณะขับรถจะได้มีคนช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
-ควรใช้บริการรถแท็กซี่ หรือรถโดยสารสาธารณะหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้อาการของโรคกำเริบ โดย--ไม่ดื่มเครื่องแอลกอฮอล์
-ไม่ขับรถระยะทางไกลติดกันเป็นเวลานาน
-ไม่ขับรถในเส้นทางที่มีสภาพการจราจรติดขัด
ทั้งนี้ การขับรถเป็นทักษะที่ต้องใช้การทำงานที่สัมพันธ์กันของอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย ผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพหรือมีโรคประจำตัวร้ายแรงควรหลีกเลี่ยงการขับรถเด็ดขาดเพราะจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ" อธิบดี ปภ. กล่าว