3.มีส่วนร่วมในการกระทำสิ่งที่ดีงามให้กับพระองค์ท่าน เช่น การบริจาค กิจกรรมจิตอาสา
ส่วนบทเรียนจากนานาชาตที่พึงระวัง ได้แก่ 1.ไม่ปิดกั้นการแสดงออก ความรู้สึก แต่อย่าให้รู้สึกสิ้นหวัง ท่วมท้นจนมองไม่เห็นทางออกของสังคม 2.เป็นการแสดงออกที่พอดี โดยไม่ไปกระตุ้นความขัดแย้ง และความเห็นต่างในสังคม 3.ไม่หาแพะรับบาป
วิธีดูแลบุคคลที่มีความรู้สึกสูญเสียอย่างรุนแรง ซึ่งจะมีอาการที่แสดงออก ได้แก่ มีปฏิกิริยาความโศกเศร้ารุนแรงที่แสดงออกไปในฝูงชน เช่น เป็นลม หายใจเร็ว ร้องไห้คร่ำครวญ ตีอกชกหัว ชัก มีความโศกเศร้าที่รุนแรงยาวนาน
การช่วยเหลือจากผู้ใกล้ชิดสามารถแบ่งเป็น "ทฤษฎี 3 L" คือ
1. LOOK มองหา มองเห็น ได้แก่ การสำรวจค้นหาคนหรือกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง ที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน เช่น แสดงความโศกเศร้ารุนแรง กินไม่ได้นอนไม่หลับ
2. LISTEN รับฟัง คือ มีสติรับฟังอย่างตั้งใจ ใช้ภาษากาย เช่น สบตา จับมือ โอบกอด เพื่อช่วยให้ผู้สูญเสียบอกเล่าอารมณ์ความรู้สึก คลายความทุกข์ในใจ และจัดการอารมณ์ให้สงบ
3. LINK ช่วยเหลือ ส่งต่อ คือ ให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็นพื้นฐาน ในกรณีที่ช่วยเหลือเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้น เช่น ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ โศกเศร้ารุนแรง มีความคิดฆ่าตัวตาย ให้ส่งต่อตามความเหมาะสม
ถึงแม้วันนี้ "การสูญเสีย" พระองค์ท่านจะเป็น "ความโศกเศร้า" อันใหญ่หลวงของมหาชน แต่ก็เป็นโอกาสในการสร้างความเป็นหนึ่งอันเดียวกัน ที่จะได้แสดงความรู้สึกร่วมกัน และสืบทอดปณิธานของพระองค์ท่านเพื่อให้สังคมไทยก้าวต่อไป