ผายลมบ่อยเป็นเพราะอะไร?
การผายลมเป็นเรื่องธรรมชาติของร่างกาย โดยปกติแล้วคนเราจะผายลมประมาณ 10-20 ครั้งต่อวัน แต่หากมีการผายลมบ่อยมากกว่านี้ อาจเป็นเพราะเกิดจากปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ได้
อาหารที่รับประทาน โดยเฉพาะอาหารที่ประกอบด้วยน้ำตาลธรรมชาติ มีเส้นใยอาหารสูง หรืออาหารประเภทแป้ง จะทำให้เกิดแก๊สระหว่างที่ถูกย่อยสลายมากกว่าชนิดอื่น ๆ ได้แก่ ผักบางชนิด เช่น หน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี่ ถั่วลันเตา ผลไม้บางชนิด เช่น แอปริคอท ลูกท้อ แอปเปิ้ล ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี ข้าวโอ๊ต อาหารที่ทำจากธัญพืช ขนมปัง ข้าวโพด มันฝรั่ง เครื่องดื่มน้ำอัดลมต่างๆ รวมถึงน้ำผลไม้
การกลืนอากาศมากเกินไป โดยปัจจัยที่ทำให้มีการกลืนอากาศมากเกินไปมักพบว่าเกิดจากพฤติกรรมต่อไปนี้ ได้แก่ อมลูกอม เคี้ยวหมากฝรั่ง ดื่มน้ำอัดลม กลืนน้ำลายบ่อย (อาจเกิดขึ้นเมื่อรู้สึกวิตกกังวล) สูบบุหรี่ เป็นต้น
ยารักษาโรคหรือปัญหาสุขภาพ ยารักษาโรคหรืออาหารเสริมบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงให้มีอาการท้องอืดหรือเกิดแก๊สในระบบย่อยอาหารมาก เช่น ยารักษาโรคเบาหวานอย่างอะคาร์โบส (Acarbose) การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่มักมีอาการท้องอืดก่อนหน้าช่วงมีประจำเดือน หรือโรคบางชนิดสามารถส่งผลให้มีแก๊สมากและผายลมบ่อย เช่น ภาวะการย่อยแลคโตสผิดปกติเกิดจากการที่ร่างกายไม่ย่อยน้ำตาลแลคโตสในนม
ความเครียด ภาวะทางอารมณ์สามารถส่งผลต่อการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ปั่นป่วน เมื่อมีอาการเครียด มักมีอาการปวดมวนท้อง หรือมีอาการท้องอืดได้ เป็นเพราะระบบประสาทบางส่วนมีการเชื่อมต่อกับระบบย่อยอาหารนั่นเอง
อาหารที่รับประทาน โดยเฉพาะอาหารที่ประกอบด้วยน้ำตาลธรรมชาติ มีเส้นใยอาหารสูง หรืออาหารประเภทแป้ง จะทำให้เกิดแก๊สระหว่างที่ถูกย่อยสลายมากกว่าชนิดอื่น ๆ ได้แก่ ผักบางชนิด เช่น หน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี่ ถั่วลันเตา ผลไม้บางชนิด เช่น แอปริคอท ลูกท้อ แอปเปิ้ล ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี ข้าวโอ๊ต อาหารที่ทำจากธัญพืช ขนมปัง ข้าวโพด มันฝรั่ง เครื่องดื่มน้ำอัดลมต่างๆ รวมถึงน้ำผลไม้
การกลืนอากาศมากเกินไป โดยปัจจัยที่ทำให้มีการกลืนอากาศมากเกินไปมักพบว่าเกิดจากพฤติกรรมต่อไปนี้ ได้แก่ อมลูกอม เคี้ยวหมากฝรั่ง ดื่มน้ำอัดลม กลืนน้ำลายบ่อย (อาจเกิดขึ้นเมื่อรู้สึกวิตกกังวล) สูบบุหรี่ เป็นต้น
ยารักษาโรคหรือปัญหาสุขภาพ ยารักษาโรคหรืออาหารเสริมบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงให้มีอาการท้องอืดหรือเกิดแก๊สในระบบย่อยอาหารมาก เช่น ยารักษาโรคเบาหวานอย่างอะคาร์โบส (Acarbose) การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่มักมีอาการท้องอืดก่อนหน้าช่วงมีประจำเดือน หรือโรคบางชนิดสามารถส่งผลให้มีแก๊สมากและผายลมบ่อย เช่น ภาวะการย่อยแลคโตสผิดปกติเกิดจากการที่ร่างกายไม่ย่อยน้ำตาลแลคโตสในนม
ความเครียด ภาวะทางอารมณ์สามารถส่งผลต่อการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ปั่นป่วน เมื่อมีอาการเครียด มักมีอาการปวดมวนท้อง หรือมีอาการท้องอืดได้ เป็นเพราะระบบประสาทบางส่วนมีการเชื่อมต่อกับระบบย่อยอาหารนั่นเอง
เครดิตแหล่งข้อมูล :vichaiyut
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!