หมอกระดูก ชี้ กระเป๋านักเรียนหนักอาจไม่ใช้สาเหตุ นร.14 กระดูกสันหลังคด
ขณะที่เฟซบุ๊ก ‘วิ่งดิหมอ' ให้ข้อมูลว่า แม้จะไม่ใช่เรื่องวิ่งแต่ในฐานะหมอกระดูกและข้อที่ทำงานในศูนย์ที่มีผู้ป่วยกระดูกสันหลังคดจำนวนมากต่อปี ได้อ่านข่าวที่กำลังสร้างความเข้าใจผิดต่อประชาชนขณะนี้ แล้วก็เกิดความไม่สบายใจ อยากให้เกิดการแก้ไขความเข้าใจผิดต่อโรคที่เกิดขึ้น (แรกก็ว่าจะไม่เขียน แต่เวลานี้กลายเป็นไฟลามทุ่ง ประเภทเพจต่างๆ นักข่าว เอาไปลงกันอึกทึกครึกโครม) จึงขอนำเรียนมาให้ทุกท่านได้ศึกษาเกี่ยวกับความจริงของภาวะกระดูกสันหลังคดในเด็กและวัยรุ่น ดังนี้ กระดูกสันหลังคดเกิดขึ้นได้หลายช่วงอายุ ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงวัยชรา ซึ่งมีปัจจัยการเกิดแตกต่างกัน และแต่ละชนิดก็ไม่เหมือนกันในหลายประเด็น กล่าวคือ
กระดูกสันหลังคด แบ่งได้เป็นประเภท ดังนี้
1) โรคกระดูกสันหลังคดตั้งแต่แรกเกิด (Congenital Scoliosis) เนื่องจากขณะแม่ตั้งครรภ์ตัวอ่อนในครรภ์มีกระดูกสันหลังที่ผิดปกติ
2) โรคกระดูกสันหลังคดจากโรคทางระบบประสาทหรือระบบกล้ามเนื้อผิดปกติ (Neuromuscular Scoliosis) เช่น โรคกล้ามเนื้อโตมากกว่าปกติ กล้ามเนื้อกระดูกสันหลังฝ่อลีบ เป็นต้น
3) โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Scoliosis) มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ เพศหญิง อายุ และกรรมพันธุ์ แบ่งได้เป็น 3 ช่วงวัย (เกิดในช่วงวัยรุ่นมากสุด)
3.1 โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุในวัยทารก (Infantile Idiopathic Scoliosis) ก่อนอายุ 3 ปี
3.2 โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุในวัยเด็ก (Juvenile Idiopathic Scoliosis) อายุระหว่าง 4 - 10 ปี
3.3 โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุในวัยรุ่น (Adolescent Idiopathic Scoliosis) อายุระหว่าง 10 - 18 ปี พบมากที่สุด
4) โรคกระดูกสันหลังคดจากความเสื่อม (Degenerative Lumbar Scoliosis) มักพบในผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ จากการเปลี่ยนแปลงของเนื้อกระดูกที่เปราะบาง คุณภาพเสื่อมลง ร่วมกับการผ่านการใช้งานมาเป็นเวลายาวนาน (กรณีนี้จะไม่ได้เกิดการคดมาก่อนในวัยเด็ก) อันนำมาซึ่งอาการที่เราเรียกๆกันว่า กระดูกทับเส้นซึ่งแต่ละชนิดจะมีวิธีแยกทางการแพทย์ ซึ่งมีรายละเอียดอีกมาก (ไม่ขอลงรายละเอียด ณ ที่นี้