อากาศร้อนจัด! เสี่ยงเป็นลมแดด..อันตรายถึงชีวิต
แม้ว่าประเทศไทยจะมีฤดูร้อนแทบทั้งปี แต่ดูเหมือนว่า...เดือนเมษายนและพฤษภาคมนี่แหละที่อากาศร้อนแบบสุดๆ แถมอากาศที่ร้อน(จนเกินไป) ยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอีกหลายโรค รวมทั้งภาวะฉุกเฉิน อย่าง "โรคลมแดด" หรือ Heat Stroke ที่หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที..ก็อาจรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้
โรคลมแดด เกิดจากร่างกายที่ได้รับความร้อน และไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายหรือปรับตัวได้ทัน จนเกิดภาวะโรคลมแดด สามารถเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ ได้แก่
โรคลมแดดจากการออกกำลังกาย (Exertional Heat Stroke) อากาศร้อนอยู่แล้ว ยิ่งถ้าไปออกกำลังกายกลางแจ้ง หรือที่ที่ระบายความร้อนได้ไม่ดี ก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะโรคลมแดดสูงขึ้น ส่วนมากเกิดในกลุ่มผู้ทำงานกลางแจ้ง ทหารฝึก หรือผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายหนักโรคลมแดดทั่วไป (Non-exertional Heat Stroke) ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคหัวใจ หรืออยู่ในภาวะที่ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้
ตัวร้อนกว่า 40 องศา ไม่ใช่ไข้ธรรมดา
อาการสำคัญของโรคลมแดด คือ ตัวร้อน อุณหภูมิร่ายกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ทำให้ผู้ป่วยเริ่มมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ในบางรายไม่มีเหงื่อออก ความดันเลือดลดลง หัวใจเต้นผิดจังหวะ จนร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ มีอาการเพ้อ ชักเกร็ง จนถึงขั้นหมดสติ
ลมแดดอันตราย รีบส่งโรงพยาบาลให้ไว
หากพบผู้ป่วยโรคลมแดด ให้รีบพาเข้าที่ร่ม นอนราบกับพื้น ยกเท้าสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด ปลดคลายเสื้อผ้าให้หลวม แล้วใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบร่างกาย หรือสเปรย์ละอองน้ำให้ทั่วร่างกาย เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้เร็วที่สุด และรีบนำส่งโรงพยาบาล
อากาศร้อนๆ แบบนี้ อย่าลืมดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรืออยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ใส่เนื้อผ้าสีอ่อนที่ระบายอากาศได้ ไม่คับจนเกินไป ให้หน้าร้อนนี้เป็น Summer ที่สดใส...ห่างไกลโรค
Cr::: phyathai.com
โรคลมแดด (Heat Stroke) เป็นภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายสูงเกิน 40 องศา ร่วมกับอาการทางระบบประสาท โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของร่างกาย เช่น ซึม สับสน บางทีอาจถึงขั้นชักและหมดสติได้ โดยเมื่อปี พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดดถึง 21 ราย และยอดผู้ป่วยจะพุ่งสูงขึ้นในช่วงเดือน เม.ย. - พ.ค. ของทุกปี
อยู่กลางแจ้งนาน...เสี่ยงเป็นโรคลมแดดโรคลมแดด เกิดจากร่างกายที่ได้รับความร้อน และไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายหรือปรับตัวได้ทัน จนเกิดภาวะโรคลมแดด สามารถเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ ได้แก่
โรคลมแดดจากการออกกำลังกาย (Exertional Heat Stroke) อากาศร้อนอยู่แล้ว ยิ่งถ้าไปออกกำลังกายกลางแจ้ง หรือที่ที่ระบายความร้อนได้ไม่ดี ก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะโรคลมแดดสูงขึ้น ส่วนมากเกิดในกลุ่มผู้ทำงานกลางแจ้ง ทหารฝึก หรือผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายหนักโรคลมแดดทั่วไป (Non-exertional Heat Stroke) ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคหัวใจ หรืออยู่ในภาวะที่ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้
ตัวร้อนกว่า 40 องศา ไม่ใช่ไข้ธรรมดา
อาการสำคัญของโรคลมแดด คือ ตัวร้อน อุณหภูมิร่ายกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ทำให้ผู้ป่วยเริ่มมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ในบางรายไม่มีเหงื่อออก ความดันเลือดลดลง หัวใจเต้นผิดจังหวะ จนร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ มีอาการเพ้อ ชักเกร็ง จนถึงขั้นหมดสติ
ลมแดดอันตราย รีบส่งโรงพยาบาลให้ไว
หากพบผู้ป่วยโรคลมแดด ให้รีบพาเข้าที่ร่ม นอนราบกับพื้น ยกเท้าสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด ปลดคลายเสื้อผ้าให้หลวม แล้วใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบร่างกาย หรือสเปรย์ละอองน้ำให้ทั่วร่างกาย เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้เร็วที่สุด และรีบนำส่งโรงพยาบาล
อากาศร้อนๆ แบบนี้ อย่าลืมดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรืออยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ใส่เนื้อผ้าสีอ่อนที่ระบายอากาศได้ ไม่คับจนเกินไป ให้หน้าร้อนนี้เป็น Summer ที่สดใส...ห่างไกลโรค
Cr::: phyathai.com
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!