เอาใจไปเลยออเจ้า! ‘กรมควบคุมโรค’ ชื่นชม ‘บุพเพสันนิวาส’ สอนวิธีป้องกันไข้มาลาเรีย
หน้าแรกTeeNee รวมเรื่องสุขภาพดีๆ โรคภัยไข้เจ็บ เอาใจไปเลยออเจ้า! ‘กรมควบคุมโรค’ ชื่นชม ‘บุพเพสันนิวาส’ สอนวิธีป้องกันไข้มาลาเรีย
รมควบคุมโรค ชื่นชมผู้จัดละครบุพเพสันนิวาส ที่ให้ความสำคัญกับงานสาธารณสุข พร้อมเผยสถานการณ์ไข้มาลาเรียปีนี้ ลดลงเกือบร้อยละ 52
วันที่ 22 มี.ค.61 นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีละครดัง หยิบเรื่องการป้องกันโรคมาลาเรียมาไว้ในเนื้อหาของเรื่อง ช่วยปลุกกระแสสังคมในเรื่องการดูแลสุขภาพและการป้องกันควบคมโรคนั้นนับเป็นเรื่องที่ดี จึงขอชื่นชมทางผู้เขียนบทละครและทีมงานผู้จัดละคร เรื่อง "บุพเพสันนิวาส" ที่ให้ความสำคัญด้านงานสาธารณสุขและการป้องกัน ควบคุมโรค ซึ่งมีความสำคัญในการดูแลสุขภาพของประชาชน รวมถึงสอดแทรกสาระความรู้ต่างๆ ที่ดีแก่ประชาชน
โรคไข้มาลาเรีย พบว่ามีบันทึกในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ซึ่งเป็นบันทึกของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ที่เดินทางมาประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยในบันทึกตอนหนึ่งในจดหมายเหตุดังกล่าว บ่งชี้ว่าโรคไข้จับสั่นเป็นโรคประจำถิ่นที่เกิดขึ้นทั่วไปในสังคมในสมัยนั้น และชาวกรุงศรีอยุธยารู้จักคุ้นชินกันเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าโรคไข้มาลาเรียอยู่ในสังคมไทยมาช้านาน
วันที่ 22 มี.ค.61 นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีละครดัง หยิบเรื่องการป้องกันโรคมาลาเรียมาไว้ในเนื้อหาของเรื่อง ช่วยปลุกกระแสสังคมในเรื่องการดูแลสุขภาพและการป้องกันควบคมโรคนั้นนับเป็นเรื่องที่ดี จึงขอชื่นชมทางผู้เขียนบทละครและทีมงานผู้จัดละคร เรื่อง "บุพเพสันนิวาส" ที่ให้ความสำคัญด้านงานสาธารณสุขและการป้องกัน ควบคุมโรค ซึ่งมีความสำคัญในการดูแลสุขภาพของประชาชน รวมถึงสอดแทรกสาระความรู้ต่างๆ ที่ดีแก่ประชาชน
โรคไข้มาลาเรีย พบว่ามีบันทึกในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ซึ่งเป็นบันทึกของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ที่เดินทางมาประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยในบันทึกตอนหนึ่งในจดหมายเหตุดังกล่าว บ่งชี้ว่าโรคไข้จับสั่นเป็นโรคประจำถิ่นที่เกิดขึ้นทั่วไปในสังคมในสมัยนั้น และชาวกรุงศรีอยุธยารู้จักคุ้นชินกันเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าโรคไข้มาลาเรียอยู่ในสังคมไทยมาช้านาน
ทั้งนี้จากการสืบค้นบันทึกเกี่ยวกับการจัดการกับปัญหาโรคติดต่อในอดีต พบว่าในกรณีโรคไข้มาลาเรีย มีหลักฐานว่าเริ่มมีการใช้เปลือกต้นซิงโคนา หรือ "ยาควินิน" มาใช้ในการรักษาโรคไข้มาลาเรียตามแบบที่แพร่หลายอยู่ในยุโรป มาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ ส่วนมาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้มาลาเรีย นั้นยังไม่ปรากฏบันทึกหลักฐานที่ชัดเจน แต่สันนิษฐานว่า ด้วยเหตุที่กรุงศรีอยุธยาเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนกันทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ที่มาจากทั้งเอเชียและยุโรป จึงมีความเป็นไปได้ว่าน่าจะเริ่มมีการนำวัฒนธรรมการนอนในมุ้งเพื่อกันยุงแล้วตั้งแต่สมัยนั้น
สำหรับสถานการณ์โรคไข้มาลาเรียในประเทศไทย ปัจจุบันลดลงอย่างมาก โดยในปี 2561 พบผู้ป่วยเพียง 856 คน ซึ่งลดลงเกือบร้อยละ 52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังคงพบตามแนวชายแดนที่มีการเคลื่อนย้ายของประชาชนข้ามแดน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข
โดยกรมควบคุมโรคยังคงเดินหน้ากำจัดโรคไข้มาลาเรียอย่างเข้มข้น โดยมีเป้าหมายกำจัดให้สิ้นจากประเทศ ภายในปี 2567
สำหรับสถานการณ์โรคไข้มาลาเรียในประเทศไทย ปัจจุบันลดลงอย่างมาก โดยในปี 2561 พบผู้ป่วยเพียง 856 คน ซึ่งลดลงเกือบร้อยละ 52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังคงพบตามแนวชายแดนที่มีการเคลื่อนย้ายของประชาชนข้ามแดน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข
โดยกรมควบคุมโรคยังคงเดินหน้ากำจัดโรคไข้มาลาเรียอย่างเข้มข้น โดยมีเป้าหมายกำจัดให้สิ้นจากประเทศ ภายในปี 2567
Cr::: กระทรวงสาธารณสุข
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!