3 โซน เสี่ยงเซลล์เสื่อม
โซนมนุษย์เงินเดือน
คนวัยนี้เป็นวัยกำลังสร้างเนื้อสร้างตัว ถึงแม้จะเป็นวัยที่ยังแข็งแรง แต่ด้วยหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องดูแลครอบครัว และคนที่รัก ทำให้ต้องเผชิญกับความเครียดต่างๆ ทั้งจากเรื่องงาน ครอบครัว เศรษฐกิจ ซึ่งเป็นความเครียดที่เกิดภายในนอกจากนี้ ความเครียดอีกประเภทที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของร่างกาย โดยที่เราไม่ทันตั้งตัว และไม่สามารถรับรู้ได้ ความเครียดประเภทนี้มักแฝงมากับไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ อาหารการกิน การออกกำลังกาย การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในยุคของโซเชียลมีเดียที่เข้ามามีอิทธิพลกับคนวัยทำงานอย่างมาก ซึ่งอำนวยให้สามารถประชุมหรือติดต่อตามงานกันได้ตลอดเวลา สาเหตุเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นทำให้เซลล์เกิดการอักเสบ ซึ่งไม่มีอาการบ่งชี้ สะสมเป็นเวลานาน ทำให้เซลล์และอวัยวะสำคัญของร่างกายเสื่อมลงในที่สุด
โซนมนุษย์ป่วย
ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการป่วยอยู่แล้ว และจำเป็นต้องรักษาด้วยการใช้ยา สารเคมี การฉายรังสี หรือการผ่าตัด เพื่อระงับอาการของโรคนั้นๆ ขณะเดียวกันการใช้ยาหรือสารเคมีบางชนิดเพื่อรักษาโรคไม่ให้ลุกลามด้วยการเข้าไปกำจัดเซลล์ร้ายที่เข้ามาทำลายร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่ได้กำจัดเซลล์ดีในร่างกายออกไปด้วย ทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ร่างกายอ่อนแอขึ้นกว่าเดิม ภูมิต้านทานลดลง ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน เป็นต้นตัวอย่างนี้เห็นได้ดีในผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยเคมีบำบัด ดังนั้นกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับสารอาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์และครบทั้ง 5 หมู่ พักผ่อนให้เต็มที่ ดูแลสุขอนามัยให้สะอาด ออกกำลังกายเท่าที่พอจะทำได้ และทำจิตใจให้สบาย เพื่อซ่อมแซมและเพิ่มปริมาณเซลล์ดีในร่างกาย ลดการเกิดโรคแทรกซ้อนและช่วยให้ประสิทธิภาพในการรักษาเป็นไปอย่างเต็มที่
โซนมนุษย์ชรา
มนุษย์วัยนี้เป็นวัยที่เซลล์มีความเสื่อมตามกลไกธรรมชาติมากที่สุด เซลล์บางชนิดในร่างกาย ไม่สามารถแบ่งตัวเพื่อทดแทนเซลล์เดิมที่เสื่อมสภาพหรือเสียหายได้ เช่น เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เลนส์ตา จอตา อวัยวะรับเสียง กระดูกข้อต่อ และเซลล์ประสาทสมอง เป็นต้นทำให้อาการเสื่อมในร่างกายชัดเจนมากขึ้น ส่งผลให้คนชรามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสูง เช่นโรคอัลไซเมอร์ โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน นอกจากนี้แล้วคนชรายังมีปัญหาใน เรื่องสายตา สายตาจะพร่ามัวมองเห็นภาพไม่ชัดเจน ตาสู้แสงไม่ค่อยได้ เนื่องจากเลนส์ตาขาดความยืดหยุ่น จึงทำให้ปรับโฟกัสได้ยาก และการเสื่อมสภาพของเซลล์รับแสงที่จอตา ทำให้ตาอ่อนแอต่อแสง
ซึ่งความเจ็บป่วยเหล่านี้จะบั่นทอนจิตใจและส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนวัยชราแย่ลง แต่ภาวะเหล่านี้สามารถป้องกันได้ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ลดการนำสารอนุมูลอิสระเข้าไปในร่างกาย รับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ หลีกเลี่ยงการทานอาหารหวานจัด มันจัด หรือเค็มจัด หลีกเลี่ยงมลภาวะ ออกกำลังกายแบบไม่หักโหม และรับประทานวิตามินเสริมที่เหมาะสมตามที่ร่างกายต้องการ
นอกจากนี้ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นนวัตกรรมยืดอายุเซลล์ด้วยเอ็นไซม์ เอสโอดี (SOD) หรือ Superoxide Dismutase ซึ่งมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทั้งพืชและสัตว์ ในมนุษย์ก็มีเอ็นไซม์ชนิดนี้อยู่ในร่างกายของเราตั้งแต่แรกเกิด แต่จะมีปริมาณลดน้อยลงเรื่อยๆ โดยหลักการทำงานของเอนไซม์นี้ จัดอยู่ในกลุ่มของ Primary Antioxidant ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ลึกถึงระดับ DNA ภายในเซลล์ นับว่าเป็นการย้อนวัยเซลล์ในร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรงและเป็นมิติใหม่ในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและมีอายุที่ยืนยาวอีกด้วย