ยิ้มเห็นเหงือก แก้ไขได้อย่าปล่อยไว้จนขาดความมั่นใจในรอยยิ้ม


ยิ้มเห็นเหงือก แก้ไขได้อย่าปล่อยไว้จนขาดความมั่นใจในรอยยิ้ม

     รอยยิ้มเป็นสิ่งสำคัญที่เรามักใช้ในการผูกมิตรกับคนรอบตัว แต่ถ้าต้องเจอกับ "ภาวะยิ้มเห็นเหงือก" โดยเฉพาะเวลาหัวเราะที่เหงือกของเราไม่เคยให้ความร่วมมือ คงทำให้รอยยิ้มสดใสกลายเป็นความไม่มั่นใจ...และไม่กล้าส่งรอยยิ้มให้กับใครอีก เพราะฉะนั้น ต่อให้ภาวะยิ้มเห็นเหงือกจะไม่ใช่โรคร้ายแรงอะไร เราก็ไม่ควรปล่อยไว้ให้เป็นการบั่นทอนความมั่นใจของตัวเอง!

"ยิ้มเห็นเหงือก" ภาวะแบบนี้เกิดจากสาเหตุอะไรนะ?

หลายๆ โรคมักพบได้ในคนที่มีอายุมาก แต่ในทางกลับกัน...ปัจจัยเรื่องอายุที่ทำให้เกิดภาวะยิ้มเห็นเหงือกนั้น มักพบได้มากในคนอายุน้อย และเมื่ออายุมากขึ้น การยิ้มเห็นเหงือกจะค่อยๆ น้อยลง ซึ่งสาเหตุมาจากการที่ไขมันบนมบหน้าเริ่มมีน้อยลงตามช่วงอายุของเรานั่นเอง รวมทั้งภาวะความหย่อนคล้อย หรือถ้าจะให้มองในอีกแง่มุมก็คือ "ภาวะยิ้มเห็นเหงือก" นั้น ไม่ใช่ข้อเสีย แต่กลับเป็นเครื่องหมายการันตีถึงความอ่อนเยาว์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่ารอยยิ้มแบบไหนที่ทำให้ตัวเรารู้สึกพึงพอใจและมั่นใจกว่า ซึ่งโดยปกติแล้ว ระดับเหงือกขณะที่เรายิ้มนั้นจะอยู่ที่รปะมาณ 3-4 มิลลิเมตร จากระดับคอฟัน

สาเหตุสำคัญ...ที่ทำให้เกิดการยิ้มเห็นเหงือก

-ขากรรไกรบนยื่น/ยาว
-ฟันหน้าบนยื่น/ยาว
-ภาวะเหงือกโต ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับโรคประจำตัวหรือยา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคลมชัก
-การขึ้นของฟันแท้โผล่พ้นเหงือกไม่สมบูรณ์
-ริมฝีปากบนสั้น
-กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ยิ้มมีแรงดึงมากเกิน

ระดับเหงือกบนรอยยิ้มผิดปกติไหม? วินิจฉัยได้ด้วยวิธีเหล่านี้

-ซักประวัติทางการแพทย์และยาที่เกี่ยวข้อง
-การตรวจโครงสร้างใบหน้าและความผิดปกติของกระดูกขากรรไกร
-การวิเคราะห์การทำงานของริมฝีปากทั้งขณะผ่อนคลายและขณะยิ้ม
-การวิเคราะห์ตำแหน่งความสัมพันธ์ของริมฝีปากและฟัน
-การวิเคราะห์ขนาด สัดส่วนและการเรียงตัวของฟัน
-การตรวจสภาวะปริทันต์

ถึงไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ภาวะยิ้มเห็นเหงือกรักษาได้นะ!

-ผ่าตัดขากรรไกรบนเพื่อยกให้สูงขึ้น (Orthognathic surgery)
-จัดฟันเพื่อกดฟันหน้าและเหงือกขึ้น (Orthodontic treatment)
-การตกแต่งเหงือกเพื่อเพิ่มความยาวฟัน (Esthetic crown lengthenting)
-การผ่าตัดเปลี่ยนตำแหน่งยึดใต้ริมฝีปาก
-การฉีด Botox เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อรอยยิ้ม

การยิ้มเห็นเหงือกนั้นเป็นปัญหาในเรื่องความสวยงามของรอยยิ้มผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย และด้วยภาวะการยิ้มเห็นเหงือกที่มีสาเหตุจากหลากหลายปัจจัย การแก้ไขจึงมีวิธีที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสาเหตุของผู้ป่วยแต่ละราย ดังนั้น การตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์อย่างถูกต้อง เพื่อวางแผนการรักษาแก้ไขให้ตรงตามสาเหตุ จึงเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ผลการรักษาประสบความสำเร็จ

เครดิตแหล่งข้อมูล : phyathai



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์