เตรียมความพร้อม การมีเพื่อนสนิท อย่าง ประจำเดือน
ผู้หญิงเราตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยกลาง ยกเว้นช่วงตั้งครรภ์ มีเพื่อนสนิทอย่าง "ประจำเดือน" อยู่ด้วยตลอด เพื่อนสนิทคนนี้มักจะอยู่กับเรา 5-7 วัน แต่จะมาถี่แค่ไหนอยู่ที่สภาพร่างกายของแต่ละคน ในแต่ละครั้งที่ประจำเดือนมานั้น ก็จะสูญเสียเลือดโดยประมาณ 80 C.C . ช่วงระยะเวลาที่สวมใส่ผ้าอนามัยนั้น อุณหภูมิร่างกายก็จะปรับสูงขึ้นด้วย ทำให้สุภาพสตรียิ่งต้องดูแลจุดซ่อนเร้นเป็นพิเศษ โดยผิวหนังบริเวณจุดซ่อนเร้นนั้นมีค่าอยู่ที่ ph 5.9 ถือเป็นค่ากรดอ่อน เทียบกับบริเวณผิวหนังส่วนอื่น อาจยิ่งง่ายต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งแบคทีเรียแต่ละชนิดก็มีผลต่อสุขภาพ โดยบางชนิดอาจเป็นอันตรายและทำให้เกิดโรคภัยได้
หมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัย ป้องกันการติดเชื้อโรค
ผู้หญิงหลายคนไปหาหมอสูตินารีเวชมากขึ้น เนื่องจากมีอาการผดผื่นตามจุดซ่อนเร้น โดยส่วนมากมีปัญหาในช่วงประจำเดือนใกล้หมด บางครั้งอาจไม่ได้มีการเปลี่ยนผ้าอนามัยในเวลาอันสมควร อาจมีการสวมใส่กางเกงซับในที่ไม่มีอากาศระบายหรือมีการขยับตัวบ่อยๆ ทำให้บริเวณจุดซ่อนเร้นอับชื้นจนเป็นสาเหตุของการติดเชื้อและอักเสบ อาจต้องใช้ทาหรือทานยาปฎิชีวนะควบคู่กับการสวมใส่เสื้อผ้าโปร่งสบายเพื่อบรรเทาอาการให้ดีขึ้น
แผ่นอนามัย
การใช้แผ่นอนามัย สำหรับสุภาพสตรีที่ต้องนั่งทำงานเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้อับชื้นหรือมีการขยับเคลื่อนตัวบ่อยๆ หากเป็นแผ่นอนามัยวัตถุดิบที่ไม่ระบาย แผ่นอนามัยอาจติดกับผิวหนังไปตลอดทั้งวัน ทำให้เกิดความรู้สึกระคายเคือง ผิวหยาบกร้านหรืออักเสบ การเลือกผ้าอนามัยเหมาะสม การเปลี่ยนผ้าอนามัยในช่วงระหว่างวัน การเลือกชุดในระหว่างวันที่ประจำเดือนมาให้ถูกวิธี สามารถลดปัจจัยการทำร้ายผิวหนังได้ดีสวมเสื้อผ้าโปร่งสบาย ไม่รู้สึกอับชื้น หากทายาปฎิชีวนะที่บริเวณจุดซ่อนเร้นที่ระคายเคืองแล้วรู้สึกดีขึ้น ควรหยุดทาต่อ เพื่อไม่ให้มีผลข้างเคียงผิวหนังบางลง หดตัวหรือแห้งเกินไป
ผ้าอนามัยแบบสอด
สุภาพสตรีที่ใช้ผ้าอนามัยแบบสอด ควรเลือกซื้อผ้าอนามัยสอดที่ผลิตจากฝ้ายอย่างพิถีพิถัน และเปลี่ยนผ้าอนามัยสอดอย่างสม่ำเสมอ หากไม่มีการเปลี่ยนผ้าอนามัยสอดในช่วงระหว่างวันอย่างสม่ำเสมอ อาจเกิดเชื้อโรคและสารพิษ Toxic Shock Syndrome หรือ กลุ่มอาการท็อกสิกช็อกเขียนโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังประจำ En Chu Kong Hospital
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!