ปัจจุบันมีการกล่าวถึงยาเลื่อนประจำเดือนกันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นสื่อออนไลน์ เช่น เว็บไซต์เกี่ยวกับสุขภาพ เป็นต้น หรือจากคำแนะนำของเพื่อน จึงมีแนวโน้มทำให้หลายๆ คนเลือกที่จะพึ่งยาเลื่อนประจำเดือนมากขึ้น ดังนั้น ลองมาทำความรู้จักกับยาเลื่อนประจำเดือนกันดูว่าจริงๆ แล้วทุกคนจะสามารถใช้ยาเลื่อนประจำเดือนนี้ได้ตามความต้องการหรือไม่ และใช้อย่างไร
ผู้หญิงทุกคน สามารถรับประทานยาเลื่อนประจำเดือนได้หรือไม่?
ยา นอร์-เอ-ทีส-เตอ-โรน ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน โดยห้ามใช้ยานี้ในคน 5 กลุ่ม ต่อไปนี้
กำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากยาอาจทำให้ทารกในครรภ์ที่เป็นเพศหญิงมีการพัฒนาอวัยวะเพศภายนอกคล้ายกับเพศชายได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุครรภ์เดือนครึ่งเป็นต้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังมีการพัฒนาของอวัยวะเพศ
กำลังให้นมลูกด้วยน้ำนมตัวเอง เนื่องจากยาสามารถปนออกมากับน้ำนมของแม่ จึงอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อลูกได้
มีปัจจัยเสี่ยงหรือมีประวัติการเป็นโรคหลอดเลือดอุดตัน เนื่องจากการใช้ยาในกลุ่มคนเหล่านี้ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดอุดตัน (ตัวอย่างผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ สูบบุหรี่ โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น)
เคยเป็นหรือกำลังเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งที่อวัยวะเพศ ชนิดที่ไวต่อฮอร์โมน เนื่องจากยาอาจส่งเสริมการโตของเนื้อร้ายเหล่านี้เริ่มรับประทานยาเลื่อนประจำเดือน ก่อนประจำเดือนมาแค่ 1 วัน หรือตอนที่กำลังมีประจำเดือนได้หรือไม่?
คำแนะนำในการใช้ยาเลื่อนประจำเดือน
การรับประทานยาเลื่อนประจำเดือน จะส่งผลต่อการมาของประจำเดือนในรอบถัดไปหรือไม่?
แน่นอนว่าการเลื่อนประจำเดือนออกไป เปรียบเสมือนเป็นการตั้งรอบเดือนใหม่ นั่นคือ หากมีประจำเดือนหลังจากหยุดยานี้ในวันไหน ประจำเดือนรอบถัดไปก็จะมาประมาณช่วงนั้น ถ้าไม่มีความผิดปกติอื่นใด
หยุดรับประทานยาเลื่อนประจำเดือนหลายวันแล้ว แต่ประจำเดือนยังไม่มา ควรทำอย่างไร?
อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบได้จากยา นอร์-เอ-ทีส-เตอ-โรน คือ อาจทำให้ประจำเดือนไม่มาได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากหยุดใช้ยาเกิน 1 สัปดาห์แล้วประจำเดือนยังไม่มา ควรตรวจการตั้งครรภ์ (ซึ่งอาจเกิดขึ้นก่อนใช้ยานี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้คุมกำเนิดในเดือนนั้นๆ) อีกทั้ง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทราบสาเหตุและการรักษาที่เหมาะสม
ระหว่างที่รับประทานยาเลื่อนประจำเดือนอยู่ แล้วมีเพศสัมพันธ์ จะตั้งครรภ์หรือไม่?
เนื่องจากการใช้ยาเลื่อนประจำเดือน จะเริ่มใช้อย่างน้อย 3 วัน ก่อนวันที่คาดว่าจะมีประจำเดือน ซึ่งเป็นช่วงปลายของรอบเดือน (ผ่านช่วงไข่ตกมาแล้ว) โอกาสการตั้งครรภ์จึงอาจพบน้อย อย่างไรก็ตาม มีโอกาสน้อยไม่ได้หมายความว่าไม่มีโอกาส ดังนั้น ควรใช้ถุงยางอนามัยในการคุมกำเนิดร่วมด้วย
ตามที่ระบุในข้อ 1 ว่ายาอาจมีผลต่อการพัฒนาอวัยวะเพศภายนอกของทารกในครรภ์ได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้พบเหตุการณ์ดังกล่าวในทุกกรณี อีกทั้งยังไม่มีรายงานว่ายาทำให้ทารกพิการด้านอื่นๆ ดังนั้น หากพบว่าตั้งครรภ์ อย่าเพิ่งตกใจ ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อติดตามพัฒนาการพร้อมทั้งวางแผนการดูแลทารกในครรภ์อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้คุมกำเนิดด้วยวิธีการที่ถูกต้อง เช่น ไม่ใช้ยาคุมกำเนิดหรือถุงยางอนามัย เป็นต้น ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนที่จะใช้ยาเลื่อนประจำเดือน
รับประทานยาคุมกำเนิดอยู่ แล้วจะใช้ยาเลื่อนประจำเดือนได้หรือไม่?