คนออฟฟิศจ้องจอ นั่งนาน สารพัดโรค
นพ.ณรงค์กล่าวว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจในปี 2553 ทั่วประเทศมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ประมาณ 19 ล้านคน มีผลสำรวจพนักงานที่ทำงานในสำนักพิมพ์แห่งหนึ่ง 400 คน พบว่าร้อยละ 60 มีภาวะดังกล่าว ที่พบบ่อยมี 3 อาการ ได้แก่ 1.ปวดหลังเรื้อรัง การใช้ชีวิตอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์วันละ 8 ชั่วโมง โดยเฉพาะนั่งหลังค่อม จะทำให้กล้ามเนื้อที่ต้นคอ สะบัก เมื่อยตึงตัวอยู่ตลอดเวลา เป็นสาเหตุสำคัญเกิดอาการปวดเมื่อย และการนั่งในท่าดังกล่าวจะทำให้หายใจไม่อิ่ม กระบังลมขยายไม่เต็มที่ สมองได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่ จะทำให้เกิดอาการง่วง หาวนอน หรือที่เรียกว่า สมองไม่แล่น ศักยภาพทำงานไม่เต็มร้อย 2.ไมเกรนหรือปวดศีรษะเรื้อรัง เครียดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ และ 3.มือชา เอ็น อักเสบ นิ้วล็อก การอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ เส้นเอ็นนิ้วมือ พบมากขึ้น
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สิ่งที่พนักงานออฟฟิศควรปฏิบัติ คือ ควรเลือกใช้เก้าอี้ที่เอนได้และมีความสูงของเก้าอี้และโต๊ะได้ระดับ มีหมอนหนุนหลัง คอมพิวเตอร์ที่ใช้ต้องปรับให้จออยู่ในระดับสายตา คือ กึ่งกลางของจอ อยู่ระดับสายตา การพิมพ์งาน แป้นคีย์บอร์ดควรอยู่ในระดับข้อศอก ข้อมือ ปรับพฤติกรรมการนั่งเก้าอี้ขณะนั่งทำงาน โดยนั่งให้เต็มก้น หลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้ กะพริบตาบ่อยๆ พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ทุก 10 นาที เปลี่ยนท่าการทำงานทุก 20 นาที ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือและแขนทุก 1 ชั่วโมง เป็นต้น
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สิ่งที่พนักงานออฟฟิศควรปฏิบัติ คือ ควรเลือกใช้เก้าอี้ที่เอนได้และมีความสูงของเก้าอี้และโต๊ะได้ระดับ มีหมอนหนุนหลัง คอมพิวเตอร์ที่ใช้ต้องปรับให้จออยู่ในระดับสายตา คือ กึ่งกลางของจอ อยู่ระดับสายตา การพิมพ์งาน แป้นคีย์บอร์ดควรอยู่ในระดับข้อศอก ข้อมือ ปรับพฤติกรรมการนั่งเก้าอี้ขณะนั่งทำงาน โดยนั่งให้เต็มก้น หลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้ กะพริบตาบ่อยๆ พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ทุก 10 นาที เปลี่ยนท่าการทำงานทุก 20 นาที ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือและแขนทุก 1 ชั่วโมง เป็นต้น
ขอบคุณ thaihealth.or.th
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!