“อึ” ที่ดี ควรเป็นอย่างไร? (คลิป)

เชิญรับชมคลิปวิดีโอ
vvvv
vvv
vv
v

“อึ” ที่ดี ควรเป็นอย่างไร? (คลิป)

คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยใส่ใจกับอุนจิของตนเองมากนัก เพราะคิดว่าเป็นของต่ำ ของสกปรก จึงละเลย โดยบางคนหลังถ่ายเสร็จไม่เคยเหลือบไปดูเลยด้วยซ้ำว่าลักษณะอุจจาระตนเองเป็นอย่างไร ซึ่งอุจจาระที่ดี ไม่ควรถูกเก็บกักอยู่ในร่างกายนานเกินไป โดยอุจจาระที่ดีที่สุดควรจะออกมาภายใน 24 ชั่วโมงหลังการบริโภคอาหาร


และ “อึแบบดีที่สุด” มีสีเหลืองทอง น้ำหนัก 400 กรัม กลิ่นไม่แรงมากนัก มีลักษณะเป็นขดเป็นวง (เหมือนในการ์ตูน) เสมือนอึแบบกล้วยที่ยาวมากจนขดกันเป็นวงโดยที่ไม่ขาด แถมยังมีความนุ่มนวลอีกด้วย เจ้าของอึแบบนี้ ต้องบอกว่ามีสุขภาพที่ดีเยี่ยม แถมยังมีสภาพจิตใจที่อยู่ในสภาวะสมบูรณ์สุดขีด

“อึ” ที่ดี ควรเป็นอย่างไร? (คลิป)

สำหรับความรู้สึกอยากถ่ายนั้น ถ้าเรามีอุจจาระที่สมบูรณ์แบบควรเป็นดังนี้

1.  เกิดความรู้สึกอยากถ่ายขึ้นเองในเวลาที่เหมาะสม เช่น ทุกเช้า เป็นความรู้สึกที่กระตุ้นให้เราไปเข้าห้องน้ำ แต่ไม่ถึงกับ “แทบจะกลั้นไม่อยู่”
2. เมื่อนั่งลงบนโถส้วมแล้ว ทุกอย่างควรเป็นไปด้วยความราบรื่น อุจจาระควรจะมาของมันเองและออกมาแบบลื่นไหลไม่สะดุด
3. ไม่ต้องเบ่งจนหน้าดำหน้าแดง
4. หลังจากถ่ายแล้ว ควรมีความรู้สึกสบาย เพราะไม่มีอะไรมากระตุ้นทวารหนักให้อึดอัดอีก


ทำอย่างไรจึงจะมีลักษณะอุจจาระที่ดี

การกินอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับลำไส้ใหญ่ เพื่อให้มีอุจจาระที่ดีนั้น จริง ๆ แล้วไม่แตกต่างไปจากอาหารเพื่อสุขภาพตามแนวธรรมชาติบำบัดทั่ว ๆ ไป แต่สิ่งที่ต้องเน้นได้แก่

1. ต้องได้เส้นใยอาหารเพียงพอ อย่างน้อย 25 กรัมต่อวัน อาหารที่กินต้องเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน และมีสาร เส้นใยสูง โดยเฉพาะต้องเน้นข้าวกล้องให้มากๆ เพราะเป็นอาหารที่มีเส้นใยสูงมาก   ข้าวกล้อง 1 จาน (2 ทัพพี) มีเส้นใยถึง 6 กรัม ในขณะที่ผัก 1 จาน มีเส้นใยเพียง 2 กรัม เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะกินเส้นใยให้เพียงพออย่าง ง่าย ๆ ก็ต้องกินข้าวกล้อง เพียงมื้อละ 1 จาน 3 มื้อ ก็จะได้เส้นใยไป 18 กรัมแล้ว ที่เหลืออีก 7 กรัมก็ให้กินผัก และผลไม้อีกอย่างละ 2 จานต่อวัน เท่านี้ก็จะได้เส้นใยเพียงพออย่างง่าย ๆ ทำให้สุขภาพลำไส้ใหญ่โดยรวมดีขึ้น เส้นใยช่วยจับสารพิษและไขมันส่วนเกินในลำไส้ไปทิ้งอีกด้วย

2. อย่ากินเนื้อสัตว์มากเกินไป ควรเลือกอาหารโปรตีนที่มีเส้นใย จะดีกว่า ควรเลี่ยงอาหารไขมันสูง เช่น ปลา

3. ดื่มน้ำให้เพียงพอ ประมาณ 6-8 แก้วต่อวัน

4. เลือกอาหารที่มีฤทธิ์ระบายเพื่อให้ถ่ายได้สะดวก เช่น มะละกอ กล้วย มะขาม ลูกพรุน มะเดื่อแห้ง ใบขี้เหล็ก สมอไทย สะตอ เป็นต้น

5. เลี่ยงอาหารกลุ่มที่จะทำให้ท้องผูก เช่น ชา กาแฟ เป็นต้น

6. ควรขับถ่ายเป็นเวลา โดยใส่ใจในสัญญาณเตือน (ซึ่งก็คือถ้ามีอาการปวดถ่าย ไม่ควรกลั้นไว้ ควรจะรีบเข้าห้องน้ำโดยเร็ว)

7. อารมณ์ก็มีผลต่อการขับถ่าย เช่น ในภาวะเครียดจัดจะมีการเคลื่อนไหวลำไส้อย่างรุนแรงจนปวดมวนท้องหรือท้องเสีย หรืออยู่ในภาวะเร่งรีบ เป็นต้น

8. การออกกำลังกายทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ดีขึ้น

9. การฝึกชี่กง สามารถช่วยเสริมการทำงาน ของลำไส้ได้

10. การสวนล้างลำไส้ด้วยน้ำ (Colon cleansing) ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์สวนล้างลำไส้ จะไปช่วยล้างตะกรันที่คั่งค้างอยู่ในลำไส้ให้หลุดออกมา ซึ่งอาจจะทำ ปีละ 1 – 2 ครั้ง


ข้อมูลจาก คุณยุ้ย – อัมพิกา (หาญพานิช) ศิริสุวัฒน์


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์