
คลื่นโทรศัพท์มือถือ ก่อมะเร็งได้จริงหรือไม่??

ปรากฏว่า หนูตัวผู้ที่อยู่ในการทดลองครั้งนี้ มีขนาดเนื้องอกที่หัวใจโตขึ้น แต่ไม่พบความเชื่อมโยงระหว่างรังสีจากโทรศัพท์มือถือกับเนื้องอกในสมองอย่างที่หลายฝ่ายกังวล และบอกด้วยว่า ด้วยความเข้มข้นของรังสีที่ใช้ทดสอบในหนูทดลองนั้น เป็นระดับที่มนุษย์จะได้รับแค่ในระยะสั้น ซึ่งไม่เหมือนกับที่หนูทดลองเผชิญอย่างต่อเนื่องหลายชั่วโมง
บูเชอร์ ยืนยันว่า การวิจัยนี้ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ และได้ทำการทดลองแบบเดียวกันมาแล้วเมื่อ 2 ปีก่อน ทุ่มเงินไปทั้งสิ้นว่า 25 ล้านดอลลาร์ ซึ่งให้ผลลัพธ์แบบเดียวกัน
หลังผลการวิจัยออกมา มีข้อโต้แย้งถึงประเด็นนี้ โดยนายโอทิส เบราว์ลีย์ หัวหน้าทีมแพทย์จากสถาบันโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา บอกว่า หลังจากได้ศึกษางานวิจัยชิ้นนี้ ก็ไม่ได้ทำให้เขาเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ และมองว่าการจัดสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยรังสีให้หนูทดลองนั้น ไม่ได้สะท้อนพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือที่แท้จริงของมนุษย์
ด้านนายเดวิด คาร์เพนเตอร์ หัวหน้าฝ่ายอนามัยสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก วิทยาเขตอัลบานี บอกว่า การวิจัยชิ้นนี้ไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องผลกระทบของรังสีจากโทรศัพท์มือถือที่มีต่อก้อนเนื้อในสมอง ซึ่งเป็นเรื่องที่เพิกเฉยไม่ได้ เพราะแม้ว่าการใช้โทรศัพท์อาจไม่ส่งผลร้ายแรงเหมือนการสูบบุหรี่ แต่อาจเป็นอันตรายได้หากใช้โทรศัพท์มือถือในระยะยาว
Love Attack เทศกาลความรักแบบนี้ บอกอ้อมๆให้เขารู้กัน
Chocolate Dreams สาวชั่งฝันและช็อคโกแลต กับหนุ่มหล่อ ไม่แน่คุณอาจจะได้เจอแบบนี้ก็ได้
Love You Like Crazy เพลงเพราะๆ ที่ถ้าส่งให้คนที่เรารัก โลกนี้ก็สีชมพูกันทีเดียว