เครียดงานเสี่ยง`ซึมเศร้า`
แพทย์หญิง พอใจ มหาเทพ นายแพทย์ชำนาญการจิตแพทย์โรงพยาบาลสารภี จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในภาวะเศรษฐกิจที่มีความแปรปรวน สังคมที่ต้องแข่งขันเพื่อเอาตัวรอดพบว่าอาการเครียดเรื้อรัง เป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า และนำมาสู่การฆ่าตัวตาย
โดยความเครียดเกิดได้จาก 2 สาเหตุหลัก คือ
1. เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น มลพิษทางเสียง มลพิษทางอากาศ รายรับไม่พอกับรายจ่าย การมีสัมพันธภาพกับคนอื่นที่ไม่ราบรื่น มักมีข้อขัดแย้ง ทะเลาะเบาะแว้งกับคนอื่นเสมอ การที่รู้สึกว่าตนเองต่ำต้อยกว่าคนอื่น และ
2. เกิดจากนิสัยส่วนตัว เช่น ผู้ที่ชอบการแข่งขัน ชอบความท้าทาย เอาจริงเอาจังกับทุกอย่าง เข้มงวด ผู้ที่พยายามทำอะไรหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ผู้ที่ใจร้อนและผู้ที่มีอารมณ์รุนแรง
แพทย์หญิง พอใจ กล่าวต่อไปว่า ผู้ที่อยู่ในภาวะตึงเครียดร่างกายจะเกิดความเตรียมพร้อมที่จะ "สู้" หรือ "หนี" โดยที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น หัวใจเต้นแรงและเร็วขึ้นการหายใจเร็วขึ้น เป็นการหายใจ ตื้น ๆ ม่านตาขยายเพื่อให้ได้รับแสงมากขึ้น มีการขับอะดรีนาลีนและฮอร์โมนอื่น ๆ เข้าสู่กระแสเลือด เส้นเลือดบริเวณอวัยวะย่อยอาหารหดตัว เหงื่อออกเพราะมีการเผาผลาญอาหารมากขึ้นทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อหดเกร็งเพื่อเตรียมการเคลื่อนไหวเตรียมสู้หรือหนีอันส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางกาย ได้แก่ อาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกาย ความผิดปกติของหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะ อาการท้องผูกท้องเสียบ่อย ๆ นอนไม่หลับ หอบหืด เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ และส่งผลต่อสุขภาพจิตใจ อารมณ์ไม่มั่นคง เปลี่ยนแปลงง่าย กลัวอย่างไร้เหตุผล นำไปสู่ความวิตกกังวล ซึมเศร้าหรือโรคประสาทบางอย่างได้
สำหรับวิธีการลดความเครียดสามารถทำได้โดยการใช้ยา เช่น ยาหม่อง ยาดม ยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการหลังเกิดภาวะตึงเครียด ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุด คือการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ได้แก่ การสำรวจและเปลี่ยนแปลงนิสัย เปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อตัวเองและผู้อื่น การทำกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียด เช่น ออกกำลังกาย ทำงานอดิเรกที่ชอบ
การฝึกผ่อนคลายโดยตรง เช่น การฝึกหายใจให้ถูกวิธี การฝึกสมาธิ ตลอดจนหาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการ เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มบางประเภทที่ส่งเสริมทำให้เกิดความเครียดทั้งนี้ประชาชนยังสามารถสำรวจระดับความเครียดเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง
Cr::: สสส.
โดยความเครียดเกิดได้จาก 2 สาเหตุหลัก คือ
1. เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น มลพิษทางเสียง มลพิษทางอากาศ รายรับไม่พอกับรายจ่าย การมีสัมพันธภาพกับคนอื่นที่ไม่ราบรื่น มักมีข้อขัดแย้ง ทะเลาะเบาะแว้งกับคนอื่นเสมอ การที่รู้สึกว่าตนเองต่ำต้อยกว่าคนอื่น และ
2. เกิดจากนิสัยส่วนตัว เช่น ผู้ที่ชอบการแข่งขัน ชอบความท้าทาย เอาจริงเอาจังกับทุกอย่าง เข้มงวด ผู้ที่พยายามทำอะไรหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ผู้ที่ใจร้อนและผู้ที่มีอารมณ์รุนแรง
แพทย์หญิง พอใจ กล่าวต่อไปว่า ผู้ที่อยู่ในภาวะตึงเครียดร่างกายจะเกิดความเตรียมพร้อมที่จะ "สู้" หรือ "หนี" โดยที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น หัวใจเต้นแรงและเร็วขึ้นการหายใจเร็วขึ้น เป็นการหายใจ ตื้น ๆ ม่านตาขยายเพื่อให้ได้รับแสงมากขึ้น มีการขับอะดรีนาลีนและฮอร์โมนอื่น ๆ เข้าสู่กระแสเลือด เส้นเลือดบริเวณอวัยวะย่อยอาหารหดตัว เหงื่อออกเพราะมีการเผาผลาญอาหารมากขึ้นทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อหดเกร็งเพื่อเตรียมการเคลื่อนไหวเตรียมสู้หรือหนีอันส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางกาย ได้แก่ อาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกาย ความผิดปกติของหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะ อาการท้องผูกท้องเสียบ่อย ๆ นอนไม่หลับ หอบหืด เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ และส่งผลต่อสุขภาพจิตใจ อารมณ์ไม่มั่นคง เปลี่ยนแปลงง่าย กลัวอย่างไร้เหตุผล นำไปสู่ความวิตกกังวล ซึมเศร้าหรือโรคประสาทบางอย่างได้
สำหรับวิธีการลดความเครียดสามารถทำได้โดยการใช้ยา เช่น ยาหม่อง ยาดม ยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการหลังเกิดภาวะตึงเครียด ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุด คือการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ได้แก่ การสำรวจและเปลี่ยนแปลงนิสัย เปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อตัวเองและผู้อื่น การทำกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียด เช่น ออกกำลังกาย ทำงานอดิเรกที่ชอบ
การฝึกผ่อนคลายโดยตรง เช่น การฝึกหายใจให้ถูกวิธี การฝึกสมาธิ ตลอดจนหาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการ เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มบางประเภทที่ส่งเสริมทำให้เกิดความเครียดทั้งนี้ประชาชนยังสามารถสำรวจระดับความเครียดเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง
Cr::: สสส.
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!