รู้หรือไม่? ใช้น้ำมนต์รักษาโรคผิวหนังเสี่ยงติดเชื้อ
สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ชี้ "ใช้น้ำมนต์รักษาโรคผิวหนัง เสี่ยงติดเชื้อ" ทำให้การรักษามีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น และอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้
นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีการแชร์ข้อความผ่านสื่อเรื่องการใช้น้ำมนต์รักษาผู้ป่วยโรคผิวหนังอย่างต่อเนื่อง กรมการแพทย์จึงขอให้ข้อมูลแก่ประชาชนเพื่อป้องกันความเชื่อที่ว่าการใช้น้ำมนต์สามารถรักษาโรคผิวหนังให้หายได้ เนื่องจากข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่าการรักษาโรคผิวหนัง ต้องมีความระมัดระวังเนื่องจากเมื่อผิวหนังเกิดโรคต่าง ๆ ขึ้น เช่น งูสวัด แผลน้ำร้อนลวก หรือการอักเสบอื่น ๆ ผิวหนังบริเวณนั้น ๆ มักมีการปริแยก ซึ่งเป็นช่องทางที่เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่าย การใช้ยาเพื่อการรักษายังต้องมีการฆ่าเชื้อและการจัดเก็บแบบปลอดเชื้ออย่างดีก่อนนำมาใช้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำเติม ดังนั้น การใช้น้ำมนต์ ซึ่งไม่มีการดูแลเรื่องความสะอาด และใช้ปากอมพ่นใส่ตรงจุดที่มีรอยปริแยกของผิวหนัง จึงเป็นความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่มเติม
แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปกติผิวหนังของมนุษย์สามารถป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ทางผิวหนังได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บจนผิวหนังเกิดรอยปริแยกขึ้น ไม่ว่าจากการเกา การกระทบกระทั่งจนเกิดรอยถลอก หรือน้ำร้อนลวกเป็นแผลพุพอง การป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายบริเวณนั้นจะสูญเสียไป ดังนั้นการใช้น้ำมนต์เป่าไปยังจุดที่เป็นโรคงูสวัด และแผลน้ำร้อนลวกจึงมีโอกาสติดเชื้อโรคเพิ่มเติมสูง โรคงูสวัด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ผู้ป่วยมักจะเป็นในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันโรคลดลง ความเสี่ยงในการติดเชื้ออื่นเพิ่มเติมจึงมีได้ง่าย เช่นเดียวกับแผลจากน้ำร้อนลวก ผิวหนังมีอาการบาดเจ็บเป็นแผล การใช้สิ่งที่ไม่สะอาดสัมผัสแผลโดยตรง อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ
จนเข้าสู่กระแสโลหิตเกิดผลข้างเคียงร้ายแรงต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกาย จึงขอแนะนำว่าการรักษาโรคทางด้านผิวหนัง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้แพทย์ตรวจรักษาตามแนวทางและขั้นตอนที่ถูกต้องเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
เพื่อให้ผิวหนังของผู้ป่วยกลับสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด
Cr:::ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมการแพทย์
นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีการแชร์ข้อความผ่านสื่อเรื่องการใช้น้ำมนต์รักษาผู้ป่วยโรคผิวหนังอย่างต่อเนื่อง กรมการแพทย์จึงขอให้ข้อมูลแก่ประชาชนเพื่อป้องกันความเชื่อที่ว่าการใช้น้ำมนต์สามารถรักษาโรคผิวหนังให้หายได้ เนื่องจากข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่าการรักษาโรคผิวหนัง ต้องมีความระมัดระวังเนื่องจากเมื่อผิวหนังเกิดโรคต่าง ๆ ขึ้น เช่น งูสวัด แผลน้ำร้อนลวก หรือการอักเสบอื่น ๆ ผิวหนังบริเวณนั้น ๆ มักมีการปริแยก ซึ่งเป็นช่องทางที่เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่าย การใช้ยาเพื่อการรักษายังต้องมีการฆ่าเชื้อและการจัดเก็บแบบปลอดเชื้ออย่างดีก่อนนำมาใช้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำเติม ดังนั้น การใช้น้ำมนต์ ซึ่งไม่มีการดูแลเรื่องความสะอาด และใช้ปากอมพ่นใส่ตรงจุดที่มีรอยปริแยกของผิวหนัง จึงเป็นความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่มเติม
แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปกติผิวหนังของมนุษย์สามารถป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ทางผิวหนังได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บจนผิวหนังเกิดรอยปริแยกขึ้น ไม่ว่าจากการเกา การกระทบกระทั่งจนเกิดรอยถลอก หรือน้ำร้อนลวกเป็นแผลพุพอง การป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายบริเวณนั้นจะสูญเสียไป ดังนั้นการใช้น้ำมนต์เป่าไปยังจุดที่เป็นโรคงูสวัด และแผลน้ำร้อนลวกจึงมีโอกาสติดเชื้อโรคเพิ่มเติมสูง โรคงูสวัด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ผู้ป่วยมักจะเป็นในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันโรคลดลง ความเสี่ยงในการติดเชื้ออื่นเพิ่มเติมจึงมีได้ง่าย เช่นเดียวกับแผลจากน้ำร้อนลวก ผิวหนังมีอาการบาดเจ็บเป็นแผล การใช้สิ่งที่ไม่สะอาดสัมผัสแผลโดยตรง อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ
จนเข้าสู่กระแสโลหิตเกิดผลข้างเคียงร้ายแรงต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกาย จึงขอแนะนำว่าการรักษาโรคทางด้านผิวหนัง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้แพทย์ตรวจรักษาตามแนวทางและขั้นตอนที่ถูกต้องเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
เพื่อให้ผิวหนังของผู้ป่วยกลับสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด
Cr:::ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมการแพทย์
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!