โรคเชื้อราที่เล็บ
เชื้อราที่เล็บเป็นโรคที่พบได้บ่อยของเล็บ เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยพบได้ประมาณ 1 ใน 2 ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี สัญญาณแรกเริ่มจากการมีจุดน้ำตาลเหลืองบริเวณใต้ปลายเล็บ หากปล่อยทิ้งไว้ เชื้อราอาจลุกลามไปทั้งเล็บ ทำให้เล็บหนาตัวขึ้นและมีสีที่เปลี่ยนแปลงไป
สาเหตุและอาการของโรคเชื้อราที่เล็บมีอะไรบ้าง
โรคเชื้อราที่เล็บอาจเกิดจากเชื้อราหลายชนิด แต่ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อราชนิด dermatophytes ซึ่งมีขนาดเล็กจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น สามารถเข้าไปในร่างกายผ่านทางบาดแผลหรือร่องระหว่างเล็บและเนื้อเยื่อรองเล็บ เชื้อรากินโปรตีนเคราตินซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของเล็บ ทำให้เล็บอ่อนแอลง เปราะและแตกหักง่าย อาการของโรคเชื้อราที่เล็บ ได้แก่
•เล็บหนาตัวขึ้น
•เล็บผิดรูป
•เล็บเปลี่ยนสี เช่น เปลี่ยนเป็นสีขาว สีเหลือง สีเขียวหรือสีดำ
•เล็บเปราะ มีรอยร้าว แตกหักง่าย มีขุยใต้เล็บ
•มีกลิ่นเหม็น
•เล็บแยกตัวออกจากฐานเล็บ
โดยทั่วไปไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด แต่อาจรู้สึกเจ็บที่นิ้วมือหรือนิ้วเท้าที่ติดเชื้อในขณะทำกิจกรรมทั่วๆไป
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงสูง
• ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
• ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดส่วนปลายตีบตัน
• ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน
• ผู้ที่เป็นโรคน้ำกัดเท้า
• ผู้ที่มีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ (hyperhidrosis)
• ผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ติดเชื้อเอชไอวี
โรคเชื้อราที่เล็บติดต่อกันได้หรือไม่
โรคเชื้อราที่เล็บเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ สามารถติดจากการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรงหรือการสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อโรค เชื้อราที่เล็บชอบอยู่ในที่ชื้น มืดและอุ่น ดังนั้นจึงอาจติดได้จากการเดินเท้าเปล่าในที่สาธารณะ เช่น บริเวณสระว่ายน้ำ ห้องอาบน้ำและห้องเปลี่ยนเครื่องแต่งกายรวม รวมถึงการใช้สิ่งของร่วมกับคนอื่น เช่น ผ้าขนหนู รองเท้า ถุงเท้า นอกจากนี้เชื้อราที่เล็บยังอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ซึ่งรู้จักกันในชื่อของโรคกลาก
โรคเชื้อราที่เล็บรักษาได้อย่างไร
โรคเชื้อราที่เล็บเป็นโรคที่รักษาได้ยาก อาจใช้เวลาในการรักษานานหลายเดือนหรือเป็นปีและมักกลับมาเป็นซ้ำได้อีก เมื่อสงสัยว่าติดเชื้อราที่เล็บ ควรไปพบแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด หรือมีอาการบวมและรู้สึกเจ็บ มีเลือดออกรอบๆเล็บหรือเดินลำบาก แพทย์จะใช้วิธีการรักษาแบบเฉพาะบุคคลเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยทั่วไปการรักษาทำได้ดังนี้
การใช้ยา รักษาได้ด้วยยาเม็ดป้องกันเชื้อรา ครีม ขี้ผึ้ง หรือน้ำยาเคลือบเล็บแบบป้องกันเชื้อรา
การถอดเล็บ สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงหรือรักษาด้วยวิธีการอื่นแล้วไม่ได้ผล แพทย์อาจรักษาด้วยการผ่าตัดถอดเล็บหรือการใช้สารเคมีทาลงบนเล็บเพื่อให้เล็บหลุดร่วมกับการใช้ยา
การรักษาด้วยเลเซอร์ แพทย์อาจใช้เลเซอร์ในการรักษาหรือร่วมกับการรักษาด้วยการใช้ยา
ป้องกันโรคเชื้อราที่เล็บได้อย่างไร
โรคเชื้อราที่เล็บสามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงดังนี้
สวมรองเท้าแตะในพื้นที่ที่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น สระว่ายน้ำ ห้องอาบน้ำและห้องเปลี่ยนเครื่องแต่งกายรวม
หากมีคนที่อาศัยร่วมกันเป็นโรคเชื้อราที่เล็บหรือที่เท้า ให้ป้องกันด้วยการสวมรองเท้าแตะและหลีกเลี่ยงการใช้ห้องน้ำร่วมกัน
ทำความสะอาดอุปกรณ์ทำเล็บก่อนใช้งานทุกครั้งและไม่ใช้อุปกรณ์ทำเล็บร่วมกับผู้อื่น
หากเป็นโรคเบาหวาน ควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลรักษาเท้าอย่างเคร่งครัด
สวมรองเท้าขนาดกำลังพอดี ไม่คับเกินไป ไม่สวมรองเท้าคู่เดิมซ้ำกันทุกวัน ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 24 ชั่วโมง สวมถุงเท้าที่ระบายอากาศได้ดี เปลี่ยนถุงเท้าทุกวันและทุกครั้งที่เปียกชื้น
เช็ดเท้าให้แห้งสนิทหลังอาบน้ำ
ตัดเล็บให้สั้นเป็นแนวตรง ไม่ตัดเล็มหนังบริเวณรอบๆเล็บ
ทาครีมบำรุงเท้าเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น เชื้อราอาจเข้าสู่ผิวหนังผ่านรอยแตกแห้งที่เท้าได้
คลินิกดูแลเท้าและเล็บของศูนย์รักษาแผลแบบองค์รวม ให้บริการดูแลเท้าและเล็บเท้าแบบครบวงจร โดยทีมผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน เรามีบริการตัดเล็บ สำหรับผู้ที่เล็บเป็นเชื้อรา ทั้งกับผู้ป่วยทั่วไป ผู้ป่วยเบาหวานและผู้สูงอายุ เราทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพอื่นๆที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เช่น แพทย์อายุรศาสตร์โรคระบบต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม (แพทย์โรคเบาหวาน) แพทย์ระบบประสาท แพทย์หัวใจ แพทย์ผิวหนังและอื่นๆ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
เครดิตแหล่งข้อมูล :bumrungrad
สาเหตุและอาการของโรคเชื้อราที่เล็บมีอะไรบ้าง
โรคเชื้อราที่เล็บอาจเกิดจากเชื้อราหลายชนิด แต่ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อราชนิด dermatophytes ซึ่งมีขนาดเล็กจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น สามารถเข้าไปในร่างกายผ่านทางบาดแผลหรือร่องระหว่างเล็บและเนื้อเยื่อรองเล็บ เชื้อรากินโปรตีนเคราตินซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของเล็บ ทำให้เล็บอ่อนแอลง เปราะและแตกหักง่าย อาการของโรคเชื้อราที่เล็บ ได้แก่
•เล็บหนาตัวขึ้น
•เล็บผิดรูป
•เล็บเปลี่ยนสี เช่น เปลี่ยนเป็นสีขาว สีเหลือง สีเขียวหรือสีดำ
•เล็บเปราะ มีรอยร้าว แตกหักง่าย มีขุยใต้เล็บ
•มีกลิ่นเหม็น
•เล็บแยกตัวออกจากฐานเล็บ
โดยทั่วไปไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด แต่อาจรู้สึกเจ็บที่นิ้วมือหรือนิ้วเท้าที่ติดเชื้อในขณะทำกิจกรรมทั่วๆไป
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงสูง
• ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
• ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดส่วนปลายตีบตัน
• ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน
• ผู้ที่เป็นโรคน้ำกัดเท้า
• ผู้ที่มีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ (hyperhidrosis)
• ผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ติดเชื้อเอชไอวี
โรคเชื้อราที่เล็บติดต่อกันได้หรือไม่
โรคเชื้อราที่เล็บเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ สามารถติดจากการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรงหรือการสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อโรค เชื้อราที่เล็บชอบอยู่ในที่ชื้น มืดและอุ่น ดังนั้นจึงอาจติดได้จากการเดินเท้าเปล่าในที่สาธารณะ เช่น บริเวณสระว่ายน้ำ ห้องอาบน้ำและห้องเปลี่ยนเครื่องแต่งกายรวม รวมถึงการใช้สิ่งของร่วมกับคนอื่น เช่น ผ้าขนหนู รองเท้า ถุงเท้า นอกจากนี้เชื้อราที่เล็บยังอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ซึ่งรู้จักกันในชื่อของโรคกลาก
โรคเชื้อราที่เล็บรักษาได้อย่างไร
โรคเชื้อราที่เล็บเป็นโรคที่รักษาได้ยาก อาจใช้เวลาในการรักษานานหลายเดือนหรือเป็นปีและมักกลับมาเป็นซ้ำได้อีก เมื่อสงสัยว่าติดเชื้อราที่เล็บ ควรไปพบแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด หรือมีอาการบวมและรู้สึกเจ็บ มีเลือดออกรอบๆเล็บหรือเดินลำบาก แพทย์จะใช้วิธีการรักษาแบบเฉพาะบุคคลเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยทั่วไปการรักษาทำได้ดังนี้
การใช้ยา รักษาได้ด้วยยาเม็ดป้องกันเชื้อรา ครีม ขี้ผึ้ง หรือน้ำยาเคลือบเล็บแบบป้องกันเชื้อรา
การถอดเล็บ สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงหรือรักษาด้วยวิธีการอื่นแล้วไม่ได้ผล แพทย์อาจรักษาด้วยการผ่าตัดถอดเล็บหรือการใช้สารเคมีทาลงบนเล็บเพื่อให้เล็บหลุดร่วมกับการใช้ยา
การรักษาด้วยเลเซอร์ แพทย์อาจใช้เลเซอร์ในการรักษาหรือร่วมกับการรักษาด้วยการใช้ยา
ป้องกันโรคเชื้อราที่เล็บได้อย่างไร
โรคเชื้อราที่เล็บสามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงดังนี้
สวมรองเท้าแตะในพื้นที่ที่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น สระว่ายน้ำ ห้องอาบน้ำและห้องเปลี่ยนเครื่องแต่งกายรวม
หากมีคนที่อาศัยร่วมกันเป็นโรคเชื้อราที่เล็บหรือที่เท้า ให้ป้องกันด้วยการสวมรองเท้าแตะและหลีกเลี่ยงการใช้ห้องน้ำร่วมกัน
ทำความสะอาดอุปกรณ์ทำเล็บก่อนใช้งานทุกครั้งและไม่ใช้อุปกรณ์ทำเล็บร่วมกับผู้อื่น
หากเป็นโรคเบาหวาน ควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลรักษาเท้าอย่างเคร่งครัด
สวมรองเท้าขนาดกำลังพอดี ไม่คับเกินไป ไม่สวมรองเท้าคู่เดิมซ้ำกันทุกวัน ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 24 ชั่วโมง สวมถุงเท้าที่ระบายอากาศได้ดี เปลี่ยนถุงเท้าทุกวันและทุกครั้งที่เปียกชื้น
เช็ดเท้าให้แห้งสนิทหลังอาบน้ำ
ตัดเล็บให้สั้นเป็นแนวตรง ไม่ตัดเล็มหนังบริเวณรอบๆเล็บ
ทาครีมบำรุงเท้าเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น เชื้อราอาจเข้าสู่ผิวหนังผ่านรอยแตกแห้งที่เท้าได้
คลินิกดูแลเท้าและเล็บของศูนย์รักษาแผลแบบองค์รวม ให้บริการดูแลเท้าและเล็บเท้าแบบครบวงจร โดยทีมผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน เรามีบริการตัดเล็บ สำหรับผู้ที่เล็บเป็นเชื้อรา ทั้งกับผู้ป่วยทั่วไป ผู้ป่วยเบาหวานและผู้สูงอายุ เราทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพอื่นๆที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เช่น แพทย์อายุรศาสตร์โรคระบบต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม (แพทย์โรคเบาหวาน) แพทย์ระบบประสาท แพทย์หัวใจ แพทย์ผิวหนังและอื่นๆ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
เครดิตแหล่งข้อมูล :bumrungrad
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!