เกิดรอยช้ำไม่ทราบสาเหตุ อาจเสี่ยงไขกระดูกบกพร่อง
โรคไขกระดูกบกพร่อง... แม้เป็นโรคที่พบได้น้อยแต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและมีพบอยู่ทั่วโลก โรคไขกระดูกบกพร่องหรือไขกระดูกเสื่อม มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Myelodysplastic syndrome (MDS) เป็นโรคที่เกิดความผิดปกติขึ้นกับเซลล์เม็ดเลือดขาวหรือเซลล์เม็ดเลือดแดง จนไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดที่สมบูรณ์ได้เหมือนคนปกติ
โรคไขกระดูกบกพร่องมีอยู่ 2 แบบ ก็คือ
1.โลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ (Aplastic anemia) มักพบในคนที่อายุน้อย
2.โรคไขกระดูกเสื่อม หรือโรคเอ็มดีเอส (Myelodysplastic Syndrome: MDS) มักพบในผู้สูงอายุ
สาเหตุของการเกิดโรคไขกระดูกบกพร่อง
-ความผิดปกติทางพันธุกรรมในร่างกายของผู้ป่วยเอง
-สภาพแวดล้อมที่เป็นพิษต่อเซลล์ต้นกำเนิด เช่น ได้รับสารเคมี หรือรังสีบำบัด
-พฤติกรมมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ หรือได้รับไวรัสบางชนิด
อาการไขกระดูกบกพร่อง
-ซีด
-หอบ เหนื่อยง่าย
-มีไข้
-มีจุดเลือดออกตามตัว เป็นรอยช้ำเลือด
-เลือดกำเดาไหล เลือดออกง่าย อาจมีเลือดออกในปาก
-เพศหญิงอาจมีอาการประจำเดือนมามากผิดปกติ
-บางรายอาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด
-ชีพจรเต้นเร็ว หายใจเร็ว
-การทำงานของหัวใจล้มเหลว
วิธีลดเสี่ยงเป็นโรคไขกระดูกบกพร่อง
1.หลีกเลี่ยงการทำงานที่ใช้สารเคมี หรือสารกัมมันตรังสีอันเป็นผลต่อการเปลี่ยนแปลงเซลล์ต้นกำเนิดในระดับยีน
2.ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
3.หากมีอาการผิดปกติ หรือมีอาการเสี่ยงขอโรคกระดูกพร่องควรรีบปรึกษาแพทย์
เครดิตแหล่งข้อมูล : phyathai.com
โรคไขกระดูกบกพร่องมีอยู่ 2 แบบ ก็คือ
1.โลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ (Aplastic anemia) มักพบในคนที่อายุน้อย
2.โรคไขกระดูกเสื่อม หรือโรคเอ็มดีเอส (Myelodysplastic Syndrome: MDS) มักพบในผู้สูงอายุ
สาเหตุของการเกิดโรคไขกระดูกบกพร่อง
-ความผิดปกติทางพันธุกรรมในร่างกายของผู้ป่วยเอง
-สภาพแวดล้อมที่เป็นพิษต่อเซลล์ต้นกำเนิด เช่น ได้รับสารเคมี หรือรังสีบำบัด
-พฤติกรมมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ หรือได้รับไวรัสบางชนิด
อาการไขกระดูกบกพร่อง
-ซีด
-หอบ เหนื่อยง่าย
-มีไข้
-มีจุดเลือดออกตามตัว เป็นรอยช้ำเลือด
-เลือดกำเดาไหล เลือดออกง่าย อาจมีเลือดออกในปาก
-เพศหญิงอาจมีอาการประจำเดือนมามากผิดปกติ
-บางรายอาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด
-ชีพจรเต้นเร็ว หายใจเร็ว
-การทำงานของหัวใจล้มเหลว
วิธีลดเสี่ยงเป็นโรคไขกระดูกบกพร่อง
1.หลีกเลี่ยงการทำงานที่ใช้สารเคมี หรือสารกัมมันตรังสีอันเป็นผลต่อการเปลี่ยนแปลงเซลล์ต้นกำเนิดในระดับยีน
2.ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
3.หากมีอาการผิดปกติ หรือมีอาการเสี่ยงขอโรคกระดูกพร่องควรรีบปรึกษาแพทย์
เครดิตแหล่งข้อมูล : phyathai.com
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!