ภัยเงียบ!!! ต้อหิน...รักษาไม่ทันอาจมองไม่เห็นอีกต่อไป
หน้าแรกTeeNee รวมเรื่องสุขภาพดีๆ โรคภัยไข้เจ็บ ภัยเงียบ!!! ต้อหิน...รักษาไม่ทันอาจมองไม่เห็นอีกต่อไป
ต้อหิน เป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญของดวงตาที่อาจส่งผลร้ายแรงทำให้ตาบอดได้ และสิ่งที่น่ากลัวไปกว่านั้น ก็คือ ต้อหินไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และหากเป็นแล้วแม้ได้รับการรักษาก็ไม่สามารถกลับมามองเห็นได้ดีดังเดิม ดังนั้นจึงควรหมั่นตรวจเช็คสุขภาพตากับจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมพร้อมรับมือได้อย่างทันท่วงที แล้วปลายทางของโรคต้อหินก็ไม่จำเป็นจะต้องจบที่ "ตาบอด" เสมอไป
ต้อหินคืออะไร
ก็จะส่งผลให้ประสาทตาตายทำให้สูญเสียการมองเห็นในที่สุด โดยการเสื่อมมักจะเริ่มที่ขอบนอกของลานสายตา แต่ยังสามารถมองตรงกลางภาพได้อย่างเห็นชัด ผู้ป่วยจึงไม่รู้ตัว ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาการมองเห็นจะแคบลง แคบลง จนกระทั่งดับไปในที่สุด
ใครบ้างที่เสี่ยง "ต้อหิน"
-ผู้มีอายุมากกว่า 40 ปี
-ผู้มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน
-ผู้ป่วยเบาหวาน
-ผู้ที่มีสายตาสั้นมาก
-ผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์
-ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์
ชนิดของต้อหิน
-ต้อหินมุมเปิด (Open Angle Glaucoma) ต้อหินชนิดนี้จะไม่ส่งผลให้ผู้ป่วยปวดตา แต่จะทำให้สายตาค่อยๆมัวลง ต้องใช้ระยะเวลานานจึงจะทราบถึงการเปลี่ยนแปลง พบได้ทั้งในผู้ที่มีความดันลูกตาสูงและความดันลูกตาปกติ
-ต้อหินมุมปิด (Angle Closer Glaucoma) บางครั้งก็เรียกต้อหินชนิดนี้ว่า ต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน เพราะว่ามีอาการค่อนข้างชัดเจน ทั้งปวดตา ตาแดง ตามัว เห็นรุ้งรอบแสงดวงไฟ ส่วนใหญ่มักเกิดร่วมกับอาการความดันลูกตาสูง ทำให้ปวดตารุนแรง เป็นชนิดที่ต้องรีบทำการรักษา มิเช่นนั้นอาจทำให้ตาบอดได้ภายใน 48 ชั่วโมง
-ต้อหินที่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น การอักเสบของตา การได้รับอุบัติเหตุ โรคเบาหวานหรือการใช้ยาสเตียรอยด์ ซึ่งต้อหินชนิดนี้จะมีอาการไม่รุนแรง
-ต้อหินในเด็กเล็กและทารก (CONGINITAL AND DEVELOPMENT GLAUCOMA) ต้อหินในเด็กทารกมักพบตั้งแต่แรกเกิด เป็นความผิดปกติของดวงตาตั้งแต่แรกคลอด โดยคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตดูว่าลูกน้อยมีขนาดลูกตาใหญ่กว่าเด็กปกติหรือไม่ มีอาการสู้แสงไม่ได้ กระจกตาหรือส่วนของตาดำไม่ใสจนถึงขุ่นขาว และมีน้ำตาไหลมากผิดปกติหรือไม่ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา
ต้อหินคืออะไร
ก็จะส่งผลให้ประสาทตาตายทำให้สูญเสียการมองเห็นในที่สุด โดยการเสื่อมมักจะเริ่มที่ขอบนอกของลานสายตา แต่ยังสามารถมองตรงกลางภาพได้อย่างเห็นชัด ผู้ป่วยจึงไม่รู้ตัว ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาการมองเห็นจะแคบลง แคบลง จนกระทั่งดับไปในที่สุด
ใครบ้างที่เสี่ยง "ต้อหิน"
-ผู้มีอายุมากกว่า 40 ปี
-ผู้มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน
-ผู้ป่วยเบาหวาน
-ผู้ที่มีสายตาสั้นมาก
-ผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์
-ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์
ชนิดของต้อหิน
-ต้อหินมุมเปิด (Open Angle Glaucoma) ต้อหินชนิดนี้จะไม่ส่งผลให้ผู้ป่วยปวดตา แต่จะทำให้สายตาค่อยๆมัวลง ต้องใช้ระยะเวลานานจึงจะทราบถึงการเปลี่ยนแปลง พบได้ทั้งในผู้ที่มีความดันลูกตาสูงและความดันลูกตาปกติ
-ต้อหินมุมปิด (Angle Closer Glaucoma) บางครั้งก็เรียกต้อหินชนิดนี้ว่า ต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน เพราะว่ามีอาการค่อนข้างชัดเจน ทั้งปวดตา ตาแดง ตามัว เห็นรุ้งรอบแสงดวงไฟ ส่วนใหญ่มักเกิดร่วมกับอาการความดันลูกตาสูง ทำให้ปวดตารุนแรง เป็นชนิดที่ต้องรีบทำการรักษา มิเช่นนั้นอาจทำให้ตาบอดได้ภายใน 48 ชั่วโมง
-ต้อหินที่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น การอักเสบของตา การได้รับอุบัติเหตุ โรคเบาหวานหรือการใช้ยาสเตียรอยด์ ซึ่งต้อหินชนิดนี้จะมีอาการไม่รุนแรง
-ต้อหินในเด็กเล็กและทารก (CONGINITAL AND DEVELOPMENT GLAUCOMA) ต้อหินในเด็กทารกมักพบตั้งแต่แรกเกิด เป็นความผิดปกติของดวงตาตั้งแต่แรกคลอด โดยคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตดูว่าลูกน้อยมีขนาดลูกตาใหญ่กว่าเด็กปกติหรือไม่ มีอาการสู้แสงไม่ได้ กระจกตาหรือส่วนของตาดำไม่ใสจนถึงขุ่นขาว และมีน้ำตาไหลมากผิดปกติหรือไม่ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา
การตรวจวินิจฉัยโรคต้อหิน
จักษุแพทย์จะทำการตรวจเช็คตาโดยละเอียด ควบคู่กับการซักประวัติทางร่างกาย ประวัติทางครอบครัว ตรวจวัดค่าสายตา ตรวจวัดความดันภายในลูกตาและตรวจดูขั้วประสาทตาและจอตา หากพบว่ามีความเสี่ยงโรคต้อหิน ก็จะต้องทำการตรวจดูมุมตา เพื่อจำแนกว่าเป็นต้อหินชนิดมุมปิดหรือเปิด
โรคต้อหินรักษาหายขาดหรือไม่
โรคต้อหินไม่สามารถรักษาให้หายขาดแต่สามารถควบคุมได้ เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อหินแล้วผู้ป่วยควรติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยหลักการรักษาก็คือการลดความดันในลูกตาและป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็น
การรักษาโรคต้อหิน
-ใช้ยาหยอด ยารับประทาน
-การรักษาโดยแสงเลเซอร์
-การผ่าตัด
โดยทั่วไป จักษุแพทย์มักเริ่มต้นด้วยยาหยอด หากจำเป็นก็จะเพิ่มยาเม็ดรับประทาน ในบางรายอาจพิจารณาทำการรักษาด้วยเลเซอร์ แต่หากยังไม่สามารถควบคุมโรคได้ด้วยยาและเลเซอร์ก็จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป
ปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อเป็นต้อหิน
-หยอดตาตามแพทย์สั่ง
-อย่าปล่อยให้ขาดยา ควรเตรียมยาให้เพียงพออยู่เสมอ
-ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
-ควบคุมโรคประจำตัว อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง อย่างเคร่งครัด
-ไม่สูบบุหรี่
-ไม่ซื้อยาหยอดตาใช้เองโดยไม่ได้ปรึกษาจักษุแพทย์
-พาสมาชิกครอบครัวของท่านตรวจเช็คสุขภาพตาว่ามีต้อหินหรือไม่ หากพบจะได้ทำการรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม
จักษุแพทย์จะทำการตรวจเช็คตาโดยละเอียด ควบคู่กับการซักประวัติทางร่างกาย ประวัติทางครอบครัว ตรวจวัดค่าสายตา ตรวจวัดความดันภายในลูกตาและตรวจดูขั้วประสาทตาและจอตา หากพบว่ามีความเสี่ยงโรคต้อหิน ก็จะต้องทำการตรวจดูมุมตา เพื่อจำแนกว่าเป็นต้อหินชนิดมุมปิดหรือเปิด
โรคต้อหินรักษาหายขาดหรือไม่
โรคต้อหินไม่สามารถรักษาให้หายขาดแต่สามารถควบคุมได้ เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อหินแล้วผู้ป่วยควรติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยหลักการรักษาก็คือการลดความดันในลูกตาและป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็น
การรักษาโรคต้อหิน
-ใช้ยาหยอด ยารับประทาน
-การรักษาโดยแสงเลเซอร์
-การผ่าตัด
โดยทั่วไป จักษุแพทย์มักเริ่มต้นด้วยยาหยอด หากจำเป็นก็จะเพิ่มยาเม็ดรับประทาน ในบางรายอาจพิจารณาทำการรักษาด้วยเลเซอร์ แต่หากยังไม่สามารถควบคุมโรคได้ด้วยยาและเลเซอร์ก็จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป
ปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อเป็นต้อหิน
-หยอดตาตามแพทย์สั่ง
-อย่าปล่อยให้ขาดยา ควรเตรียมยาให้เพียงพออยู่เสมอ
-ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
-ควบคุมโรคประจำตัว อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง อย่างเคร่งครัด
-ไม่สูบบุหรี่
-ไม่ซื้อยาหยอดตาใช้เองโดยไม่ได้ปรึกษาจักษุแพทย์
-พาสมาชิกครอบครัวของท่านตรวจเช็คสุขภาพตาว่ามีต้อหินหรือไม่ หากพบจะได้ทำการรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม
เครดิตแหล่งข้อมูล : พญ.จันทนา สกุลแรมรุ่ง
แพทย์หัวหน้าศูนย์โรคตา รพ.พญาไท 3
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!