ลักษณะไฝแบบไหนเสี่ยงมะเร็ง
อันตรายที่ว่านี้ ก็คือ สัญญาณการเกิดมะเร็ง เพราะไม่ใช่แค่อวัยวะภายใน เช่น ตับ มดลูก เป็นต้น เท่านั้นมีโอกาสเกิดโรคมะเร็ง แต่อวัยวะภายนอกที่สัมผัสกับมลภาวะที่เป็นพิษก็มีโอกาสเกิดมะเร็งได้เช่นกัน โดยเฉพาะคนที่มีไฝนอกร่มผ้าและมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานๆ พฤติกรรมแบบนี้ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังมากขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว
การสังเกตตัวเองว่ากำลังเข้าข่ายการเป็นมะเร็งผิวหนังหรือไม่จึงเป็นสิ่งสำคัญ และควรทำก่อนล่วงหน้า เพื่อให้สามารถป้องกันแก้ไขสิ่งผิดปกติที่อาจจะตามมาได้ หากพร้อมแล้วตามมาศึกษาไปด้วยกันได้เลยค่ะ
ไฝมะเร็งมีชื่อที่ไม่น่าฟังเท่าไหร่ ซึ่งอาการนี้มักพบได้บ่อยๆใน "ฝรั่งผิวขาว" ส่วนชาวเอเชียมีโอกาสพบน้อยกว่า โดยไฝชนิดนี้สามารถพบได้ทั้งบริเวณผิวหนังรอบร่างกาย ทั้ง มือ เท้า หรือแม้กระทั่งเล็บ ก็มีโอกาสพบเจอได้เช่นกัน
ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องมีวิธีการตรวจเช็คมะเร็งผิวหนังด้วยตนเอง โดยมีขั้นตอนการตรวจเช็คมะเร็งผิวหนังประจำทุกเดือนง่ายๆดังต่อไปนี้
เริ่มต้นจากการมองไฝด้วยหลัก ABCDE เป็นวิธีการง่ายๆที่จะช่วยให้คุณจำได้ว่าหลักการในการสังเกตไฝต้องสงสัยต้องทำอย่างไร โดย ABCDE เป็นตัวย่อของตัวอักษร 5 ตัว ดังนี้
A-Asymmetry
หรือ ไฝที่มีรูปร่างไม่สมมาตร หรือเรียกว่าสัดส่วนของไฝด้านซ้านและขวาไม่เท่ากันนั่นเอง
B-Border
หรือ ไฝที่มีขอบไม่เรียบ ขรุขระ เป็นไฝที่เราต้องระวังให้มาก
C-Color
หรือสีของไฝที่ไม่สม่ำเสมอ บางส่วนสีเข้ม บางส่วนจาง
D-Diameter
หรือขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางที่ใหญ่มากกว่า 6 mm
E-Evolving
หรือไฝที่ขนาดขยายขึ้นเรื่อยๆ
หากไฝที่คุณมีเข้าข่าย ABCDE ก็ให้ระวังไว้เลยว่าไฝที่มีอาจจะพัฒนากลายเป็ไฝมัเร็งได้ แต่ถ้าไม่ใช่ก็ยังวางใจได้
แล้วเราควรสังเกตไฝที่ใดบ้าง ต้องบอกว่าไฝมะเร็งสามารถพบได้ทุกบริเวณ ไม่เว้นแม้แต่ในลูกตาขาวของเรา ก็ยังเคมมีคนเกิดไฝประเภทนี้มาแล้ว โดยหากย้อนไปดูสถิติก็จะพบว่า ชนชาตโซนยุโรปผิวขาวโดยเฉพาะเพศชาย มักจะพบไฝมะเร็งได้บ่อยบริเวณแผ่นหลัง ส่วนหากเป็นผู้หญิงแล้ว จะพบไฝชนิดขี้ได้บ่อยบริเวณขาท่อนล่างหรือหลังมากกว่า แต่ถ้าเป็นคนโซนเอเชียจะพบไฝมะเร็งคนละจุด โดยมากจะพบได้บ่อยบริเวณมือหรือเท้า
อย่างที่บอกไปว่าไฝมะเร็งเกิดได้ทุกๆส่วนของร่างกาย ดังนั้น หากต้องการตรวจว่าเรามีไฝชนิดนี้อยู่บนร่างกายหรือไม่ ก็ควรตรวจให้ครบตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า ตั้งแต่ส่วนที่เราสามารถสังเกตเห็นได้บ่อยไปจนถึงส่วนที่เราไม่คิดว่าจะต้องสังเกตุ เริ่มจากใบหน้าด้านตรง หน้าด้านข้าง ศีรษะ ริมฝีปาก หนังศีรษะ นิ้วมือ ฝ่ามือ ง่ามนิ้ว ข้อศอก ลำตัวทั้งด้านตรงและด้านข้าง รักแร้ แผ่นหลัง คอทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ต้นแขนทุกด้าน สะโพก ขาโดยเฉพาะส่วนด้านหลังที่เราอาจไม่เคยสังเกต เท้า และสุดท้ายที่อวัยวะเพศก็สามารถเกิดไฝได้เช่นกัน
เพียงแค่การสังเกตแค่ครั้งเดียวคงไม่เพียงพอ เพราะการที่จะตอบได้ว่าคุยกำลังมีไฝมะเร็งหรือไม่ต้องอาศัยเวลาเป็นตัวประกอบด้วย ดังนั้น การสังเกตจึงต้องทำเรื่อยๆ สม่ำเสมอ และวิเคราะห์ดูว่าไฝที่เราพบเจอมีความแตกต่างไปจากเดิมหรือไม่ และหากมีการเปลี่ยนแปลงมันรวดเร็วมากแค่ไหน เพื่อที่จะได้เผื่อเวลามาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติมได้ทัน และถ้าสิ่งที่พบคือไฝมะเร็งจริงๆ การตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรกย่อมจะช่วยให้สามารถแก้ไขหรือรักษาได้หายทันเวลาอย่างแน่นอน