ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ด้วยวัคซีน
เป็นที่ทราบกันดีว่า มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในผู้หญิงไทย รองมาจากมะเร็งเต้านม และการป้องกันด้วยการ ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV จึงเป็นแนวทาง การป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด อย่างไรก็ตาม การตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่สุด
ผศ.พญ.อาบอรุณ เลิศขจรสุข ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ความรู้ "มะเร็งปากมดลูก"ในนิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama ว่า มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบได้ลำดับต้นๆ ในกลุ่มมะเร็งที่พบในผู้หญิงไทย โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากการติดเชื้อ HPV หรือ Human Papilloma Virus อย่างที่ทราบกันดีว่า ในปัจจุบันมีวิธีการป้องกันและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทั้งวิธีการทำแป๊บสเมียร์(Pap smear) หรือ เอชพีวี เทสท์ (HPV test) รวมทั้งมีวัคซีนสำหรับป้องกัน หรือที่เรียกว่า HPV vaccine ที่ฉีดเพื่อสร้างเสริมให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ HPV เป็นการป้องกันแบบปฐมภูมิ
ชนิดของวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ใช้กันในปัจจุบันมี 2 ชนิด ได้แก่ 1) วัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ 6, 11, 16 และ 18 ป้องกันทั้งมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 รวมทั้งป้องกันหูดบริเวณอวัยวะเพศที่เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ 6 และ 112) วัคซีน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ 16 และ 18 ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ที่เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 วัคซีนทั้งสองชนิดนี้มีสายพันธุ์ HPV 16 และ 18 (ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกในสตรีทั่วโลกประมาณร้อยละ 70) ผสมกับสารประกอบเสริม ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
มีการแนะนำให้ฉีดวัคซีนแก่เด็กวัยรุ่นหญิง ผู้หญิงอายุ 9-26 ปี (ช่วงที่ดีที่สุดคือช่วงอายุ11-15 ปี เพราะพบว่าเป็นอายุที่เหมาะสมและได้ประโยชน์สูงสุด เนื่องจากเป็นอายุก่อนเริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ที่ยังไม่ติดเชื้อ HPV และพบว่ามีระดับภูมิคุ้มกันสูงกว่า 2 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับการฉีดในช่วงอายุ 16-26 ปี) ส่วนสตรีที่มีอายุมากกว่า 26 ปี ยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ HPV สำหรับการฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นซ้ำนั้น ก็ยังไม่มีข้อมูลว่าควรฉีดเมื่อไร ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่าระดับ Anti-Body ยังคงป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้นานอย่างน้อย 5.5 ปี นอกจากนี้ยังแนะนำให้ฉีดวัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ แก่ผู้ชายที่มีอายุ 19-26 ปี โดยเฉพาะกลุ่มชายรักร่วมเพศเพื่อป้องกันการติดเชื้อบริเวณทวารหนัก และการเป็นมะเร็งทวารหนักเนื่องจากมีความเสี่ยงสูงมากต่อการติดเชื้อแล้วเป็นมะเร็งบริเวณอวัยวะเพศ
มีผลการศึกษาเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกว่ามีความปลอดภัยสูงกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้แรงกว่าการติดเชื้อ HPV ตามธรรมชาติ และมีประสิทธิภาพสูงมากอย่างมีนัยสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ HPV จากเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด อย่างไรก็ตาม การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกยังคง มีความจำเป็นอยู่ เนื่องจากวัคซีน HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 สามารถครอบคลุมเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 อันเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกได้ประมาณร้อยละ 70 ถึงแม้ว่าจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมะเร็งที่เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ได้สูงถึงร้อยละ 99-100 ก็ตาม
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลการศึกษาติดตามภายหลัง การฉีดวัคซีนตั้งแต่ปีแรกจนถึง 5-8.5 ปี พบว่าเมื่อฉีดให้ผู้ที่ไม่เคยมีการติดเชื้อ HPV มาก่อน วัคซีนทั้งสองชนิด ก็มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อ HPV ที่เกิดจากสายพันธุ์ที่บรรจุในวัคซีน และป้องกันการคงอยู่ของเชื้อ ภายหลังที่มีการติดเชื้อได้ประมาณร้อยละ 90-96 และข้อมูลเบื้องต้นยังพบว่า วัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ข้ามสายพันธุ์ (สายพันธุ์ 31, 33, 45, 52 และ 58) จากที่บรรจุในวัคซีนได้ในระดับหนึ่งด้วย ถึงแม้ว่าจะป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้ แต่ไม่สามารถขจัดการติดเชื้อที่มีอยู่ หรือรักษาโรคที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อได้การฉีดวัคซีน ต้องฉีดเข้ากล้ามทั้งหมด 3 เข็ม ซึ่งแต่ละยี่ห้อจะมีการฉีดแตกต่างกัน เช่น ฉีดทุก 0, 2 และ 6 เดือน และ ฉีดทุก 0, 1 และ 6 เดือน เนื่องจากเชื้อเอชพีวีติดได้จากเพศสัมพันธ์ จึงควรฉีดตั้งแต่ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก จึงจะได้ประโยชน์สูงสุด วัคซีนนี้สามารถป้องกันเชื้อได้นานเกือบ 10 ปี แต่เนื่องจากเพิ่งคิดค้นวัคซีนได้ประมาณ10 ปี จึงยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าหลังจากนั้นจะต้องมีการฉีดกระตุ้นหรือไม่
อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนชนิดนี้ สามารถป้องกันได้เพียง 2 สายพันธุ์ที่พบบ่อยเท่านั้น ซึ่งคาดว่าครอบคลุมการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 70-90% แต่ใช่ว่า จะไม่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ เพราะยังมีโอกาสที่สายพันธุ์อื่นจะมาสัมผัสจนก่อให้เกิดโรคได้ จึงต้องป้องกันโดยการตรวจภายใน ร่วมกับการตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอทุก 1-2 ปี
สิ่งสำคัญก็คือ การตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี ย้ำ...คุณผู้หญิงหลังมีเพศสัมพันธ์แล้ว ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งหากตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้นจะได้รีบรักษาให้หายก่อนจะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกซึ่งรักษายาก
ผศ.พญ.อาบอรุณ เลิศขจรสุข ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ความรู้ "มะเร็งปากมดลูก"ในนิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama ว่า มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบได้ลำดับต้นๆ ในกลุ่มมะเร็งที่พบในผู้หญิงไทย โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากการติดเชื้อ HPV หรือ Human Papilloma Virus อย่างที่ทราบกันดีว่า ในปัจจุบันมีวิธีการป้องกันและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทั้งวิธีการทำแป๊บสเมียร์(Pap smear) หรือ เอชพีวี เทสท์ (HPV test) รวมทั้งมีวัคซีนสำหรับป้องกัน หรือที่เรียกว่า HPV vaccine ที่ฉีดเพื่อสร้างเสริมให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ HPV เป็นการป้องกันแบบปฐมภูมิ
ชนิดของวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ใช้กันในปัจจุบันมี 2 ชนิด ได้แก่ 1) วัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ 6, 11, 16 และ 18 ป้องกันทั้งมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 รวมทั้งป้องกันหูดบริเวณอวัยวะเพศที่เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ 6 และ 112) วัคซีน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ 16 และ 18 ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ที่เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 วัคซีนทั้งสองชนิดนี้มีสายพันธุ์ HPV 16 และ 18 (ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกในสตรีทั่วโลกประมาณร้อยละ 70) ผสมกับสารประกอบเสริม ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
มีการแนะนำให้ฉีดวัคซีนแก่เด็กวัยรุ่นหญิง ผู้หญิงอายุ 9-26 ปี (ช่วงที่ดีที่สุดคือช่วงอายุ11-15 ปี เพราะพบว่าเป็นอายุที่เหมาะสมและได้ประโยชน์สูงสุด เนื่องจากเป็นอายุก่อนเริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ที่ยังไม่ติดเชื้อ HPV และพบว่ามีระดับภูมิคุ้มกันสูงกว่า 2 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับการฉีดในช่วงอายุ 16-26 ปี) ส่วนสตรีที่มีอายุมากกว่า 26 ปี ยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ HPV สำหรับการฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นซ้ำนั้น ก็ยังไม่มีข้อมูลว่าควรฉีดเมื่อไร ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่าระดับ Anti-Body ยังคงป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้นานอย่างน้อย 5.5 ปี นอกจากนี้ยังแนะนำให้ฉีดวัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ แก่ผู้ชายที่มีอายุ 19-26 ปี โดยเฉพาะกลุ่มชายรักร่วมเพศเพื่อป้องกันการติดเชื้อบริเวณทวารหนัก และการเป็นมะเร็งทวารหนักเนื่องจากมีความเสี่ยงสูงมากต่อการติดเชื้อแล้วเป็นมะเร็งบริเวณอวัยวะเพศ
มีผลการศึกษาเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกว่ามีความปลอดภัยสูงกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้แรงกว่าการติดเชื้อ HPV ตามธรรมชาติ และมีประสิทธิภาพสูงมากอย่างมีนัยสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ HPV จากเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด อย่างไรก็ตาม การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกยังคง มีความจำเป็นอยู่ เนื่องจากวัคซีน HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 สามารถครอบคลุมเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 อันเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกได้ประมาณร้อยละ 70 ถึงแม้ว่าจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมะเร็งที่เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ได้สูงถึงร้อยละ 99-100 ก็ตาม
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลการศึกษาติดตามภายหลัง การฉีดวัคซีนตั้งแต่ปีแรกจนถึง 5-8.5 ปี พบว่าเมื่อฉีดให้ผู้ที่ไม่เคยมีการติดเชื้อ HPV มาก่อน วัคซีนทั้งสองชนิด ก็มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อ HPV ที่เกิดจากสายพันธุ์ที่บรรจุในวัคซีน และป้องกันการคงอยู่ของเชื้อ ภายหลังที่มีการติดเชื้อได้ประมาณร้อยละ 90-96 และข้อมูลเบื้องต้นยังพบว่า วัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ข้ามสายพันธุ์ (สายพันธุ์ 31, 33, 45, 52 และ 58) จากที่บรรจุในวัคซีนได้ในระดับหนึ่งด้วย ถึงแม้ว่าจะป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้ แต่ไม่สามารถขจัดการติดเชื้อที่มีอยู่ หรือรักษาโรคที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อได้การฉีดวัคซีน ต้องฉีดเข้ากล้ามทั้งหมด 3 เข็ม ซึ่งแต่ละยี่ห้อจะมีการฉีดแตกต่างกัน เช่น ฉีดทุก 0, 2 และ 6 เดือน และ ฉีดทุก 0, 1 และ 6 เดือน เนื่องจากเชื้อเอชพีวีติดได้จากเพศสัมพันธ์ จึงควรฉีดตั้งแต่ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก จึงจะได้ประโยชน์สูงสุด วัคซีนนี้สามารถป้องกันเชื้อได้นานเกือบ 10 ปี แต่เนื่องจากเพิ่งคิดค้นวัคซีนได้ประมาณ10 ปี จึงยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าหลังจากนั้นจะต้องมีการฉีดกระตุ้นหรือไม่
อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนชนิดนี้ สามารถป้องกันได้เพียง 2 สายพันธุ์ที่พบบ่อยเท่านั้น ซึ่งคาดว่าครอบคลุมการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 70-90% แต่ใช่ว่า จะไม่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ เพราะยังมีโอกาสที่สายพันธุ์อื่นจะมาสัมผัสจนก่อให้เกิดโรคได้ จึงต้องป้องกันโดยการตรวจภายใน ร่วมกับการตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอทุก 1-2 ปี
สิ่งสำคัญก็คือ การตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี ย้ำ...คุณผู้หญิงหลังมีเพศสัมพันธ์แล้ว ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งหากตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้นจะได้รีบรักษาให้หายก่อนจะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกซึ่งรักษายาก
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!