ทำงานดึก ชอบคึกไม่ยอมนอน เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมได้
ปัจจุบันมะเร็งเต้านมได้กลายมาเป็นมะเร็งอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตหญิงไทยไปมากที่สุด และมีแนวโน้มว่าตัวเลขจะทะยานสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้อาจจะด้วยจากปัจจัยภายนอกและพฤติกรรมของคนในยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป และหนึ่งในนั้นคือพฤติกรรมการนอนดึก หรือการพักผ่อนที่ไม่เป็นเวลา โดยเฉพาะถ้าทำต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ โดยมีรายงานการวิจัยพบว่าอาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมได้ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีที่ว่าการดูแลร่างกายให้แข็งแรง มีการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ เป็นหนึ่งปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม เช่นเดียวกันกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ที่เป็นปัจจัยช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกายได้
นอกจากการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอแล้ว ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงอื่นๆ ยังพบว่าผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตร อาจเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมได้มากกว่าผู้หญิงที่มีบุตรหลายคน และให้นมบุตรนานๆ ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการเกิดมะเร็งเต้านมในปัจจุบัน และพฤติกรรมของผู้หญิงที่มีบุตรน้อยลง ครองตัวโสดกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยร่วมอื่นๆ ด้วย เช่น
มะเร็งเต้านมมักพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ก็สามารถเป็นได้ตั้งแต่อายุน้อยๆ แม้แต่ผู้หญิงที่อายุเพียง 18 ปี ก็สามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้ ดังนั้นผู้หญิงทุกคน ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของเต้านม เพราะนอกจากการคลำเจอก้อนแข็งที่เต้านมแล้ว อาจพบอาการร่วมอื่นๆ ที่สามารถสังเกตได้ดังนี้
-ผิวหนังนูนขึ้นมา
-ผิวหนังบุ๋ม
-หัวนมบอด หรือยุบเข้าไป (ที่เกิดขึ้นใหม่)
-อาจมีน้ำ หรือเลือดไหลออกมาจากหัวนม
หากคลำพบก้อนตามลักษณะที่ระบุไว้ ควรรีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจยืนยันให้แน่ใจ เพราะการคลำพบก้อนเพียงอย่างเดียว อาจยังไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นมะเร็งเต้านมจริงๆ คนไข้ต้องเข้ามาตรวจให้ละเอียด ด้วยการทำ Ultrasound หรือ Mammogram+Ultrasound เพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำขึ้น
โดยมากแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรเช็คมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มแรกก่อนที่จะเติบโตจนสามารถคลำเจอได้ โดยเฉพาะหากมีความเสี่ยงสูงกว่าปกติ เช่น มีญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็งเต้านมตั้งแต่อายุ 40 ปี ควรตรวจเช็คมะเร็งเต้านมตั้งแต่อายุ 35 ปี หรือเร็วกว่านั้น
กำจัดมะเร็งเต้านม พร้อมคงหน้าอกหน้าใจไว้!
การรักษามะเร็งเต้านมได้รับการพัฒนาให้มีทางเลือกในการรักษามากขึ้น จากที่เป็นการรักษาโดยการผ่าตัด ฉายแสง หรือเคมีบำบัด อย่างที่หลายๆ คนทราบกัน แต่ปัจจุบันได้มีเทคนิครักษามะเร็งเต้านมแบบใหม่ ที่นอกจากจะเป็นการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งร้ายออกแล้ว คนไข้จะยังคงมีหน้าอกที่เป็นธรรมชาติและสวยงามขึ้นได้อีกด้วย นั่นคือ...
การผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบสงวนเต้า หรือ Oncoplastic Surgery เทคนิคกำจัดมะเร็งเต้านม โดยยังคงรูปทรงหน้าอกของคนไข้ไว้ หลังการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกแพทย์จะทำการเสริมสร้างหน้าอกกับคนไข้ด้วยวัสดุ ดังนี้
-วัสดุจากไขมันหน้าท้องหรือสะบักด้านหลังของคนไข้เอง โดยแพทย์จะผ่าตัดเอาทั้งไขมันหน้าท้อง พร้อมเส้นเลือดมาเสริมที่เต้านมข้างที่ตัดออก ซึ่งสามารถคงอยู่ได้ถาวร เพราะไขมันที่นำมาเสริมยังมีเส้นเลือดหล่อเลี้ยงเช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย โดยขนาดของเต้านมขึ้นอยู่กับขนาดของไขมันหน้าท้องที่นำมาเสริม เหมาะกับคนไข้ที่ไม่เคยผ่าตัดท้องส่วนล่างมาก่อน เช่น การผ่าตัดคลอดบุตร เป็นต้น
-วัสดุซิลิโคน ในกรณีที่ไขมันหน้าท้องคนไข้ไม่เพียงพอ หรือเคยผ่าตัดคลอดบุตรมาก่อน แพทย์จะแนะนำให้เสริมสร้างเต้านมด้วยซิลิโคน ซึ่งหากคนไข้มีขนาดเต้านมที่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป ก็สามารถผ่าตัดเสริมและตกแต่งเต้านมอีกข้างให้มีขนาดเท่ากันได้
หลังการผ่าตัดมะเร็งเต้านม Oncoplastic Surgery คนไข้หลายๆ รายอาจจะต้องเข้ามารับการทำเคมีบำบัด หรือฉายแสง ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะความรุนแรงของมะเร็งเต้านม ดังนั้นก่อนผ่าตัดรักษาทุกครั้ง แพทย์จะเป็นผู้อธิบายถึงข้อดี-ข้อเสียของการผ่าตัดให้คนไข้ได้รับทราบอย่างละเอียด เพื่อลดผลข้างเคียงจากการรักษาให้คนไข้มากที่สุด
สาวๆ หลายคนที่ยังกล้าๆ กลัวๆ ไม่กล้าเข้ามาหาหมอ คุณหมอฝากบอกมาว่า การตรวจและการรักษาในปัจจุบันให้ผลดีมาก การให้ยาเคมี หรือฉายแสงต่างๆ ไม่ได้น่ากลัวหรือให้ผลข้างเคียงรุนแรงเหมือนสมัยก่อน สำหรับผู้ที่ต้องนอนดึกหรือพักผ่อนน้อยอย่างหลีกเลี่ยงไมได้ ให้ควบคุมสุขภาพด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น เลือกรับประทานอาหารที่ให้ประโยชน์ ไม่เครียด พร้อมสังเกตตัวเองเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้
นอกจากการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอแล้ว ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงอื่นๆ ยังพบว่าผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตร อาจเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมได้มากกว่าผู้หญิงที่มีบุตรหลายคน และให้นมบุตรนานๆ ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการเกิดมะเร็งเต้านมในปัจจุบัน และพฤติกรรมของผู้หญิงที่มีบุตรน้อยลง ครองตัวโสดกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยร่วมอื่นๆ ด้วย เช่น
-กรรมพันธุ์ หรือผู้ที่มีญาติใกล้ชิด เช่น แม่ พี่สาวหรือน้องสาว เป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่
-ผู้ที่ได้รับฮอร์โมนวัยทองเป็นระยะเวลานานๆ
-ผู้ที่ประจำเดือนเร็ว หรือหมดประจำเดือนช้า
มะเร็งเต้านมมักพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ก็สามารถเป็นได้ตั้งแต่อายุน้อยๆ แม้แต่ผู้หญิงที่อายุเพียง 18 ปี ก็สามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้ ดังนั้นผู้หญิงทุกคน ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของเต้านม เพราะนอกจากการคลำเจอก้อนแข็งที่เต้านมแล้ว อาจพบอาการร่วมอื่นๆ ที่สามารถสังเกตได้ดังนี้
-ผิวหนังนูนขึ้นมา
-ผิวหนังบุ๋ม
-หัวนมบอด หรือยุบเข้าไป (ที่เกิดขึ้นใหม่)
-อาจมีน้ำ หรือเลือดไหลออกมาจากหัวนม
หากคลำพบก้อนตามลักษณะที่ระบุไว้ ควรรีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจยืนยันให้แน่ใจ เพราะการคลำพบก้อนเพียงอย่างเดียว อาจยังไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นมะเร็งเต้านมจริงๆ คนไข้ต้องเข้ามาตรวจให้ละเอียด ด้วยการทำ Ultrasound หรือ Mammogram+Ultrasound เพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำขึ้น
โดยมากแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรเช็คมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มแรกก่อนที่จะเติบโตจนสามารถคลำเจอได้ โดยเฉพาะหากมีความเสี่ยงสูงกว่าปกติ เช่น มีญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็งเต้านมตั้งแต่อายุ 40 ปี ควรตรวจเช็คมะเร็งเต้านมตั้งแต่อายุ 35 ปี หรือเร็วกว่านั้น
กำจัดมะเร็งเต้านม พร้อมคงหน้าอกหน้าใจไว้!
การรักษามะเร็งเต้านมได้รับการพัฒนาให้มีทางเลือกในการรักษามากขึ้น จากที่เป็นการรักษาโดยการผ่าตัด ฉายแสง หรือเคมีบำบัด อย่างที่หลายๆ คนทราบกัน แต่ปัจจุบันได้มีเทคนิครักษามะเร็งเต้านมแบบใหม่ ที่นอกจากจะเป็นการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งร้ายออกแล้ว คนไข้จะยังคงมีหน้าอกที่เป็นธรรมชาติและสวยงามขึ้นได้อีกด้วย นั่นคือ...
การผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบสงวนเต้า หรือ Oncoplastic Surgery เทคนิคกำจัดมะเร็งเต้านม โดยยังคงรูปทรงหน้าอกของคนไข้ไว้ หลังการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกแพทย์จะทำการเสริมสร้างหน้าอกกับคนไข้ด้วยวัสดุ ดังนี้
-วัสดุจากไขมันหน้าท้องหรือสะบักด้านหลังของคนไข้เอง โดยแพทย์จะผ่าตัดเอาทั้งไขมันหน้าท้อง พร้อมเส้นเลือดมาเสริมที่เต้านมข้างที่ตัดออก ซึ่งสามารถคงอยู่ได้ถาวร เพราะไขมันที่นำมาเสริมยังมีเส้นเลือดหล่อเลี้ยงเช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย โดยขนาดของเต้านมขึ้นอยู่กับขนาดของไขมันหน้าท้องที่นำมาเสริม เหมาะกับคนไข้ที่ไม่เคยผ่าตัดท้องส่วนล่างมาก่อน เช่น การผ่าตัดคลอดบุตร เป็นต้น
-วัสดุซิลิโคน ในกรณีที่ไขมันหน้าท้องคนไข้ไม่เพียงพอ หรือเคยผ่าตัดคลอดบุตรมาก่อน แพทย์จะแนะนำให้เสริมสร้างเต้านมด้วยซิลิโคน ซึ่งหากคนไข้มีขนาดเต้านมที่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป ก็สามารถผ่าตัดเสริมและตกแต่งเต้านมอีกข้างให้มีขนาดเท่ากันได้
หลังการผ่าตัดมะเร็งเต้านม Oncoplastic Surgery คนไข้หลายๆ รายอาจจะต้องเข้ามารับการทำเคมีบำบัด หรือฉายแสง ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะความรุนแรงของมะเร็งเต้านม ดังนั้นก่อนผ่าตัดรักษาทุกครั้ง แพทย์จะเป็นผู้อธิบายถึงข้อดี-ข้อเสียของการผ่าตัดให้คนไข้ได้รับทราบอย่างละเอียด เพื่อลดผลข้างเคียงจากการรักษาให้คนไข้มากที่สุด
สาวๆ หลายคนที่ยังกล้าๆ กลัวๆ ไม่กล้าเข้ามาหาหมอ คุณหมอฝากบอกมาว่า การตรวจและการรักษาในปัจจุบันให้ผลดีมาก การให้ยาเคมี หรือฉายแสงต่างๆ ไม่ได้น่ากลัวหรือให้ผลข้างเคียงรุนแรงเหมือนสมัยก่อน สำหรับผู้ที่ต้องนอนดึกหรือพักผ่อนน้อยอย่างหลีกเลี่ยงไมได้ ให้ควบคุมสุขภาพด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น เลือกรับประทานอาหารที่ให้ประโยชน์ ไม่เครียด พร้อมสังเกตตัวเองเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้
ผศ.พญ.กมลรัตน์ พิบูลย์
ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งเต้านม
คลินิกรักษ์เต้านม โรงพยาบาลพญาไท 1
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โทร.02-201-4600 ต่อ 3659, 3660
ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งเต้านม
คลินิกรักษ์เต้านม โรงพยาบาลพญาไท 1
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โทร.02-201-4600 ต่อ 3659, 3660
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!