ควรรู้! วิธีป้องกัน “เนื้องอกมดลูก” โรคท็อปฮิตของคุณผู้หญิง!!
หน้าแรกTeeNee รวมเรื่องสุขภาพดีๆ สุขภาพผู้หญิง ควรรู้! วิธีป้องกัน “เนื้องอกมดลูก” โรคท็อปฮิตของคุณผู้หญิง!!
โรคเนื้องอกมดลูก (Myoma uteri/ Uterine fibroid) เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดของคุณผู้หญิง เซลล์กล้ามเนื้อบางตำแหน่ง แบ่งตัวและเจริญจนเป็นก้อนแทรกในชั้นกล้ามเนื้อ เรายังไม่ทราบสาเหตุของโรคนี้ แต่พันธุกรรมน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้อง บางครอบครัวเป็นทุกคนตั้งแต่แม่และลูกสาวทุกคน แม้จะไม่ใช่โรคร้ายแต่คุณผู้หญิงบางราย อาจจะมีอาการรุนแรงได้ อาการต่างๆของโรคนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้องอก
เนื้องอกที่อยู่ใต้เยื่อบุโพรงมดลูก จะทำให้มาระดูออกมาก และมีระดูหลายวัน คุณผู้หญิงจะรู้สึกอ่อนเพลีย และเหนื่อยง่ายจากภาวะซีด ถ้าก้อนเนื้องอกที่อยู่ด้านหน้าใต้กระเพาะปัสสาวะ จะกดกระเพาะปัสสาวะทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย บางรายอาจมีอาการปัสสาวะลำบากก้อนที่อยู่ทางด้านหลังก็จะกดลำไส้ใหญ่จนเกิดอาการท้องผูก ก้อนที่ขยายไปทางด้านข้างด้วยอาจจะไปกดท่อไตมีผลทำให้การทำงานของไตเสียได้ ก้อนที่ด้านบนของมดลูก ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ และตรวจพบเมื่อก้อนมีขนาดใหญ่มากแล้ว
เนื้องอกมดลูกมีผลต่อการตั้งครรภ์และการคลอด พบว่าร้อยละ 25 -35 ของสตรีที่มีเนื้องอกมดลูกจะพบร่วมกับภาวะมีบุตรยาก ถ้าตั้งครรภ์อาจเกิดการแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้ เนื่องจากการฝังของไข่ที่ได้รับการผสมจากเชื้ออสุจิแล้วกับเยื่อบุมดลูกไม่ดีและก้อนเนื้องอกไปขัดขวางการเจริญเติบโตของมดลูกขณะตั้งครรภ์ หรือทำให้เกิดการบีบตัวอย่างผิดปกติของมดลูกนอกจากนี้ทารกในครรภ์อาจอยู่ในตำแหน่งหรือท่าผิดปกติ เนื้องอกมดลูกอาจไปขัดขวางทางคลอด ทำให้คลอดยากและอาจตกเลือดหลังการคลอดได้
แนวทางในการป้องกันโรคเนื้องอกมดลูก
1. วิธีคุมกำเนิด
ในผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นเนื้องอกมดลูก หากต้องการคุมกำเนิด อาจเลือกการใส่ห่วงหรือใช้ถุงยางอนามัยหรือการใช้ยาฉีด ยาฝัง ที่มีฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) แทนการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน
2. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
เพราะดังกล่าวแล้วว่า โรคนี้พบได้สูงขึ้นในคนมีน้ำหนักตัวเกิน
3. รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ
เพราะไขมันจะเป็นแหล่งในการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน ดังนั้นถ้ามีปริมาณไขมันในร่างกายเพิ่มพูนมากขึ้น ปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนก็จะมากขึ้นด้วย
4. ออกกำลังกายแบบแอโรบิค
4-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งจะช่วยในการปรับสมดุลของฮอร์ โมนได้
5. ลดหรือหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน
เช่น แยม (Jam) หรือเจลลี (Jelly) บางชนิด ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง หรือสมุนไพรบางชนิด เช่น โสมบางชนิด
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!