อาการปวดแบบไหนที่อาจจะไม่ใช่ออฟฟิศซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) เป็นโรคที่พบได้มากขึ้นในปัจจุบัน มีสาเหตุสำคัญจากไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน มนุษย์เงินเดือนหรือพนักงานออฟฟิศที่ต้องทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ แม้โรคนี้จะชื่อออฟฟิศซินโดรม แต่ก็เกิดขึ้นได้กับคนในแทบทุกอาชีพ ไม่ใช่เฉพาะกับมนุษย์ออฟฟิศเท่านั้น เพราะหากใครก็ตามที่มีไลฟ์สไตล์ชอบทำอะไรซ้ำๆ เดิมๆ ทำงานอยู่ในท่าที่ไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานานก็เสี่ยงเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
-ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) มีอาการอย่างไร?
โรคออฟฟิศซินโดรม มีสาเหตุสำคัญมาจากไลฟ์สไตล์ เช่น การนั่งหรือยืนท่าเดิมนานๆ การนั่งผิดท่า (หลังค่อม,ไขว่ห้าง) พักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย และมีความเครียดสูง เป็นต้น
โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดตึง หรือปวดเมื่อยบริเวณคอ บ่า ไหล่ หรือหลัง ในบางรายอาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย และมักจะมีอาการมากขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นจากปัจจัยที่ได้กล่าวมา เช่น มักจะมีอาการปวดกำเริบขึ้นเมื่ออยู่ในภาวะเครียด หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ สำหรับคนทำงานออฟฟิศอาจจะเป็นช่วงที่มีงานเข้ามามากๆ อย่างเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำตัวเลขงบประมาณ ปิดบัญชีต่างๆ ช่วงสิ้นเดือน หรือใครก็ตามที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์อย่างเคร่งเครียดติดต่อกันเป็นเวลานาน
-ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) อันตรายร้ายแรงหรือไม่?
เนื่องจากโรคออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่เกิดจากกล้ามเนื้อที่ตึงตัวมากเกินไปจนเกิดเป็นอาการปวดตามบริเวณต่างๆ ขึ้น แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบรุนแรงถึงชีวิต เพราะไม่ได้มีการกดทับเส้นประสาทจนทำให้เกิดเป็นความพิการถาวร แต่หากเป็นนานๆ หรือเป็นมากขึ้นๆ เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงการขาดการออกกำลังกาย ขาดการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่ใช้งานหนักๆ จนแข็งเกร็ง อาการก็อาจจะรุนแรงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตได้
-อาการปวดแบบไหนที่อาจจะไม่ใช่ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)?
เมื่อคนทำงานออฟฟิศรู้สึกปวด เมื่อย ตึงกล้ามเนื้อ ก็มักจะทึกทักว่าเป็นออฟฟิศซินโดรม แต่แท้จริงแล้วอาการปวดบางอย่างอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า นี่ไม่ใช่แค่โรคออฟฟิศซินโดรมธรรมดาทั่วไป หากแต่กำลังมีโรคร้ายแรงบางอย่างซ่อนเร้นอยู่ เช่น โรคหมอนรองกระดูก หรือกระดูกเสื่อมกดทับเส้นประสาท ซึ่งจะมีอาการที่รุนแรงขึ้น เช่น มีอาการปวดร้าวลงแขน แขนอ่อนแรงหรือชา ไปจนถึงไม่สามารถควบคุมการใช้มือของตัวเองได้ ทำให้ติดกระดุมและเขียนหนังสือลำบาก หากมีอาการดังที่กล่าวมา แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรักษาให้ตรงจุดต่อไป
-ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) มีอาการอย่างไร?
โรคออฟฟิศซินโดรม มีสาเหตุสำคัญมาจากไลฟ์สไตล์ เช่น การนั่งหรือยืนท่าเดิมนานๆ การนั่งผิดท่า (หลังค่อม,ไขว่ห้าง) พักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย และมีความเครียดสูง เป็นต้น
โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดตึง หรือปวดเมื่อยบริเวณคอ บ่า ไหล่ หรือหลัง ในบางรายอาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย และมักจะมีอาการมากขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นจากปัจจัยที่ได้กล่าวมา เช่น มักจะมีอาการปวดกำเริบขึ้นเมื่ออยู่ในภาวะเครียด หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ สำหรับคนทำงานออฟฟิศอาจจะเป็นช่วงที่มีงานเข้ามามากๆ อย่างเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำตัวเลขงบประมาณ ปิดบัญชีต่างๆ ช่วงสิ้นเดือน หรือใครก็ตามที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์อย่างเคร่งเครียดติดต่อกันเป็นเวลานาน
-ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) อันตรายร้ายแรงหรือไม่?
เนื่องจากโรคออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่เกิดจากกล้ามเนื้อที่ตึงตัวมากเกินไปจนเกิดเป็นอาการปวดตามบริเวณต่างๆ ขึ้น แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบรุนแรงถึงชีวิต เพราะไม่ได้มีการกดทับเส้นประสาทจนทำให้เกิดเป็นความพิการถาวร แต่หากเป็นนานๆ หรือเป็นมากขึ้นๆ เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงการขาดการออกกำลังกาย ขาดการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่ใช้งานหนักๆ จนแข็งเกร็ง อาการก็อาจจะรุนแรงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตได้
-อาการปวดแบบไหนที่อาจจะไม่ใช่ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)?
เมื่อคนทำงานออฟฟิศรู้สึกปวด เมื่อย ตึงกล้ามเนื้อ ก็มักจะทึกทักว่าเป็นออฟฟิศซินโดรม แต่แท้จริงแล้วอาการปวดบางอย่างอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า นี่ไม่ใช่แค่โรคออฟฟิศซินโดรมธรรมดาทั่วไป หากแต่กำลังมีโรคร้ายแรงบางอย่างซ่อนเร้นอยู่ เช่น โรคหมอนรองกระดูก หรือกระดูกเสื่อมกดทับเส้นประสาท ซึ่งจะมีอาการที่รุนแรงขึ้น เช่น มีอาการปวดร้าวลงแขน แขนอ่อนแรงหรือชา ไปจนถึงไม่สามารถควบคุมการใช้มือของตัวเองได้ ทำให้ติดกระดุมและเขียนหนังสือลำบาก หากมีอาการดังที่กล่าวมา แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรักษาให้ตรงจุดต่อไป
เครดิตแหล่งข้อมูล : ผศ.นพ.เกรียงศักดิ์ แซ่เตีย
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!