มือชา-นิ้วล็อคโรคฮิตของคนทำงาน
เป็นที่น่าสังเกตุว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีผู้เข้ามาปรึกษาแพทย์ทางกระดูกและข้อ เกี่ยวกับความผิดปกติที่เกิดกับมือและต้องเข้ารับการฟื้นฟู ทำกายภาพบำบัดจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งหญิงและชายที่พบเป็นประจำได้แก่ อาการมือชาจนอ่อนแรงหยิบจับอะไรแทบไม่ได้ และอาการของนิ้วล็อคคือนิ้วบางนิ้วแข็งเกร็งขยับแทบไม่ได้เมื่องอหรือเหยียดนิ้วออกแล้วจะเจ็บปวดมากเมื่อสอบถามประวัติแต่ละคนก็ได้คำตอบคล้ายๆกัน คือส่วนใหญ่เป็นคนที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นประจำ บางคนมีอาชีพเป็นโปรแกรมเมอร์ นักออกแบบ พนักงานบัญชี นอกเหนือไปจากนั้นก็ได้แก่ หนุ่มๆ นักกอล์ฟ กลุ่มสาวๆพนักงานนวด (แผนไทย) คนทำงานตามโรงงาน ที่ต้องใช้มือหยิบจับสิ่งของต่างๆ ซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ พ่อครัวที่ต้องสับเนื้อหั่นผักตลอดเวลาแม้กระทั่งแม่บ้านที่ทำงานซักผ้าถูบ้านต้องออกแรงบิดผ้าเสมอๆ
เรามาดูกันดีกว่าครับว่าอาการผิดปกติเหล่านี้ มันเกิดขึ้นได้อย่างไรหากใครที่กำลังเริ่มเป็นจะได้ไหวตัวทันและไปรับการรักษาก่อนอาการจะเป็นมากขึ้น
โรคมือชาจากเส้นประสาทถูกกดทับ
โรคมือชานี้เกิดจากการที่เส้นประสาทที่พาดผ่านบริเวณข้อมือถูกกดทับ ซึ่งเส้นประสาทนี้จะผ่านจากแขนไปยังข้อมือ เพื่อไปรับความรู้สึกที่บริเวณมือโดยทอดผ่านบริเวณข้อมือ และลอดผ่านเอ็นที่ยึดบริเวณข้อมือ อาจมีสาเหตุบางประการที่ทำให้เส้นประสาทนี้ถูกกดทับได้ จึงทำให้มือชา ร่วมกับมีอาการปวดชาร้าวไปยังท่อนแขนหรือต้นแขนได้ และบางคนพบว่ามือข้างที่เป็นอ่อนแรงหยิบจับสิ่งของไม่ถนัด ถ้าทิ้งไว้จะพบว่ากล้ามเนื้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มืออาจจะแฟบลงเมื่อเทียบกับมืออีกข้างหนึ่ง พบในเพศหญิงมากกว่าชาย ระหว่างวัย 30-60 ปี
อะไรบ้างที่เป็นสาเหตุ
สิ่งใดก็ตามที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการบวมและการระคายเคืองของเยื่อบุข้อที่อยู่รอบๆ เส้นเอ็น ทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ เช่นเกิดการกระแทกที่บริเวณข้อมืออยู่เป็นประจำ เช่นใช้เครื่องตัดหญ้า เครื่องเจาะสกรูกำไม้เทนนิส ไม้กอล์ฟ กระดูกข้อมือหัก หรือการหลุดเคลื่อนของข้อ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (ไขข้ออักเสบ) คนที่เป็นเบาหวาน ในผู้หญิงตั้งครรภ์และคนที่มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนจากการหมดประจำเดือน
ถ้ามีอาการเบื้องต้นต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อยอาจจะใช้วิธีการรักษาโดยวิธีดังต่อไปนี้-ใส่เครื่องพยุงข้อมือในช่วงเวลากลางคืน เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ข้อมืองอเวลานอนและช่วยให้เยื่อบุข้อมือ และเส้นเอ็นที่อักเสบยุบจากอาการบวมซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ
-รับประทานยาลดการอักเสบ
-ถ้าอาการเป็นมากขึ้นแพทย์อาจจะแนะนำให้ฉีดยาสเตียรอยด์ เข้าไปในบริเวณที่เส้นประสาททอดผ่านซึ่งยานี้จะแพร่กระจายไปยังบริเวณเยื่อบุผิวข้อ และเส้นเอ็นที่มีการอักเสบ และบวมทำให้อาการบวมยุบลง การกดเส้นประสาทก็น้อยลงปริมาณของยาที่ใช้ฉีดไม่มากนักและไม่มีอันตรายที่รุนแรง การรักษาด้วยวิธีการเหล่านี้จะได้ผลดี ในกรณีที่เส้นประสาทไม่ถูกกดทับมากนัก ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นก็อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด โดยตัดเอาส่วนของพังผืดเส้นเอ็นในส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก หลังผ่าตัดอาการก็จะดีขึ้น อาการปวดลดลงอาการชาลดลง แต่อาจไม่ถึงกับหายสนิทยังจะต้องใช้ เวลาอีกสักระยะหนึ่ง
เรามาดูกันดีกว่าครับว่าอาการผิดปกติเหล่านี้ มันเกิดขึ้นได้อย่างไรหากใครที่กำลังเริ่มเป็นจะได้ไหวตัวทันและไปรับการรักษาก่อนอาการจะเป็นมากขึ้น
โรคมือชาจากเส้นประสาทถูกกดทับ
โรคมือชานี้เกิดจากการที่เส้นประสาทที่พาดผ่านบริเวณข้อมือถูกกดทับ ซึ่งเส้นประสาทนี้จะผ่านจากแขนไปยังข้อมือ เพื่อไปรับความรู้สึกที่บริเวณมือโดยทอดผ่านบริเวณข้อมือ และลอดผ่านเอ็นที่ยึดบริเวณข้อมือ อาจมีสาเหตุบางประการที่ทำให้เส้นประสาทนี้ถูกกดทับได้ จึงทำให้มือชา ร่วมกับมีอาการปวดชาร้าวไปยังท่อนแขนหรือต้นแขนได้ และบางคนพบว่ามือข้างที่เป็นอ่อนแรงหยิบจับสิ่งของไม่ถนัด ถ้าทิ้งไว้จะพบว่ากล้ามเนื้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มืออาจจะแฟบลงเมื่อเทียบกับมืออีกข้างหนึ่ง พบในเพศหญิงมากกว่าชาย ระหว่างวัย 30-60 ปี
อะไรบ้างที่เป็นสาเหตุ
สิ่งใดก็ตามที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการบวมและการระคายเคืองของเยื่อบุข้อที่อยู่รอบๆ เส้นเอ็น ทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ เช่นเกิดการกระแทกที่บริเวณข้อมืออยู่เป็นประจำ เช่นใช้เครื่องตัดหญ้า เครื่องเจาะสกรูกำไม้เทนนิส ไม้กอล์ฟ กระดูกข้อมือหัก หรือการหลุดเคลื่อนของข้อ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (ไขข้ออักเสบ) คนที่เป็นเบาหวาน ในผู้หญิงตั้งครรภ์และคนที่มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนจากการหมดประจำเดือน
ถ้ามีอาการเบื้องต้นต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
-มีอาการชา และรู้สึกซ่าในบริเวณมือโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาการมักจะเกิดในตอนกลางคืน ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับท่าทางในการนอนและหลังจากการใช้มือข้างนั้นๆ
-การรับความรู้สึกที่บริเวณนิ้วหัวแม่มือนิ้วชี้ นิ้วกลาง และบางส่วนของนิ้วนางลดลงทำให้หยิบจับของไม่ถนัด
-มีอาการรู้สึกแปล๊บๆ หรือคล้ายกับไฟฟ้าช็อตเมื่อทำการเคาะลงตรงข้อมือ ในบริเวณที่มีเส้นประสาททอดผ่านอาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้น ในคนที่งอมือเข้าหาท้องแขนเป็นเวลา 1 นาที ถ้าเส้นประสาทนี้ถูกกดทับเป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือด้านนิ้วหัวแม่มือแฟบลง
การรักษาถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อยอาจจะใช้วิธีการรักษาโดยวิธีดังต่อไปนี้-ใส่เครื่องพยุงข้อมือในช่วงเวลากลางคืน เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ข้อมืองอเวลานอนและช่วยให้เยื่อบุข้อมือ และเส้นเอ็นที่อักเสบยุบจากอาการบวมซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ
-รับประทานยาลดการอักเสบ
-ถ้าอาการเป็นมากขึ้นแพทย์อาจจะแนะนำให้ฉีดยาสเตียรอยด์ เข้าไปในบริเวณที่เส้นประสาททอดผ่านซึ่งยานี้จะแพร่กระจายไปยังบริเวณเยื่อบุผิวข้อ และเส้นเอ็นที่มีการอักเสบ และบวมทำให้อาการบวมยุบลง การกดเส้นประสาทก็น้อยลงปริมาณของยาที่ใช้ฉีดไม่มากนักและไม่มีอันตรายที่รุนแรง การรักษาด้วยวิธีการเหล่านี้จะได้ผลดี ในกรณีที่เส้นประสาทไม่ถูกกดทับมากนัก ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นก็อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด โดยตัดเอาส่วนของพังผืดเส้นเอ็นในส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก หลังผ่าตัดอาการก็จะดีขึ้น อาการปวดลดลงอาการชาลดลง แต่อาจไม่ถึงกับหายสนิทยังจะต้องใช้ เวลาอีกสักระยะหนึ่ง
นายแพทย์สิรพัชร โพธิ์พุก
นายแพทย์กอบศักดิ์ อุดมเดช
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ
นายแพทย์ธไนนิธย์ โชตนภูติ
เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพก
ศูนย์กระดูกและข้อ
โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!