ข้อควรรู้เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในทุกช่วงอายุ
หน้าแรกTeeNee รวมเรื่องสุขภาพดีๆ ข่าวสุขภาพและสุขภาพทั่วไป ข้อควรรู้เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในทุกช่วงอายุ
ภาวะซึมเศร้าคือฝันร้ายที่กัดกินทุกอย่างไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ปัญหาสุขภาพจิตนี้ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลกราว 350 ล้านคนจะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงอายุและบางครั้งก็อาจปรากฏไม่ค่อยชัดเจนนัก ภาวะซึมเศร้ามีความซับซ้อนอย่างไม่น่าเชื่อจนหลายๆคนอาจยังไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่ ดังนั้นทางที่ดีคุณควรหาสาเหตุของปัญหาและขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ ด้านล่างนี้คือผลกระทบจากปัญหาสุขภาพจิตดังกล่าวในช่วงอายุต่างๆ แม้ว่าภาวะซึมเศร้าจะไม่เกิดขึ้นกับเด็กบ่อยนักเมื่อเทียบกับในช่วงอายุอื่นๆแต่ก็ใช่ว่าจะไม่เคยได้ยินเลย การศึกษาพบว่าเด็กนักเรียนชั้นประถมราวร้อยละ 2 มีอาการซึมเศร้าแถมยังสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กก่อนวัยเรียนบางคนด้วย พ่อแม่มักจะเข้าใจอาการทางจิตของลูกๆผิด หากลูกมีอาการแข็งขืนหรือเจ้าอารมณ์ผิดปกติ มีปัญหาการปรับตัวในโรงเรียนและปวดศีรษะบ่อยๆก็เป็นไปได้ว่าพวกเขากำลังเผชิญกับภาวะซึมเศร้า เรามักจะคิดว่าอาการของภาวะซึมเศร้าคือการนอนหรือการกินมากเกินไป เด็กๆอาจไม่แสดงอาการซึมเศร้าหรือไม่แสดงออกทุกวัน นอกจากนี้คำว่า “ซึมเศร้า” ก็อาจไม่เคยปรากฏอยู่ในพจนานุกรมของพวกเขาด้วย
ข้อมูลชี้ว่าวัยรุ่นประมาณร้อยละ 11.5 ต้องเคยตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าอย่างน้อยครั้งหนึ่งในช่วงอายุที่ผ่านมา โดยเด็กผู้หญิงจะมีปัญหาสุขภาพจิตนี้บ่อยกว่าเด็กผู้ชาย ปัจจัยต่างๆ เช่น การกลั่นแกล้งกันและความกดดันทางวิชาการสามารถเพิ่มโอกาสเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าได้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างทุ่มเททั้งพลังงานและทรัพยากรในการแก้ปัญหาภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นโดยเฉพาะในยุคดิจิทัล งานวิจัยพบว่าการใช้สื่อโซเชียลมากเกินไปนั้นมีความเชื่อมโยงกับอาการต่างๆของภาวะซึมเศร้า บริการต่างๆอย่าง Crisis Text Line และองค์กรต่างๆอย่าง Project UROK พยายามให้ความช่วยเหลือกลุ่มวัยรุ่นที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาสุขภาพจิต ประชากรวัยหนุ่มสาวเกือบหนึ่งในสี่ต่างเคยตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าอย่างน้อยครั้งหนึ่งแต่โดยส่วนใหญ่แล้วภาวะซึมเศร้ามักจะเกิดขึ้นตอนอายุประมาณ 25 ปี อาการที่พบบ่อยที่สุดของวัยหนุ่มสาวคือสภาพอารมณ์หรือแรงจูงใจที่แปรปรวน นอกจากนี้ก็ยังมีอาการอื่นๆ เช่น การนอนหลับไม่เต็มอิ่ม ง่วงซึม และเจ้าน้ำตาหรือโกรธง่าย แต่ที่แย่ที่สุดคือภาวะซึมเศร้าจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายโดยเฉพาะในช่วงวัยกลางคน
จากข้อมูลล่าสุดของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐพบว่าผู้ชายวัยกลางคนมีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากกลุ่มวัยกลางคนมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับความเครียดเนื่องจากสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาเศรษฐกิจหรือการโดดเดี่ยวทางสังคม ดังนั้นการรักษาไม่ว่าจะเป็นการบำบัด การใช้ยา หรือทั้งสองอย่างจึงน่าจะเป็นวิธีควบคุมอาการเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ภาวะซึมเศร้าไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา เมื่อผู้คนเจ็บป่วยหรือตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าก็ควรได้รับการประเมินอาการไม่ต่างจากโรคความดันโลหิตสูง ส่วนภาวะซึมเศร้าที่เกิดกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีก็ไม่ใช่เรื่องแปลกซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่คงหนีไม่พ้นอาการเจ็บป่วยจากโรคอื่นๆ เช่น โรคมะเร็งหรือโรคเบาหวาน นอกจากนี้ก็ยังเกิดขึ้นได้เนื่องจากการสูญเสียคู่รัก ความเหงา หรือสมรรถภาพทางกายที่เสื่อมถอยลง อย่างไรก็ตามคุณควรให้ความสำคัญกับสุขภาวะทางจิตเป็นอันดับแรกซึ่งรวมถึงการปรึกษาแพทย์หากมีการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์โดยเฉพาะถ้ามีอาการรุนแรงหรือเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ที่มา issue247
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!