ผลการวิจัยชี้!! คนนอนดึก มักมีอาการซึมเศร้า
หน้าแรกTeeNee รวมเรื่องสุขภาพดีๆ ข่าวสุขภาพและสุขภาพทั่วไป ผลการวิจัยชี้!! คนนอนดึก มักมีอาการซึมเศร้า
นาฬิกาชีวิต นาฬิกาชีวภาพ นาฬิการ่างกาย Biological clock หรือ Internal clock มีหลากหลายชื่อแล้วแต่คนจะเรียกกัน หลายคนคงเคยได้ยินคนพูดถึงมากันบ้างแล้ว ลองไปดูกันเลยดีกว่า ว่ามันมีหลักการทำงานยังไงบ้าง จะได้นำไปปรับใช้กันดู นอกจากจะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายของเราแล้ว ยังดีต่อสุขภาพจิตอีกด้วยนะ เพรามีการวิจัยพบว่า นาฬิกาชีวิตเนี่ย มันเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า แต่จะเกี่ยวข้องกันอย่างไร ลองไปดูกันเลยดีกว่า
นาฬิกาชีวิต กับภาวะซึมเศร้า
นาฬิกาชีวิตคืออะไร?
นาฬิกาชีวิต คือ วงจรของระบบการทำงานในร่างกายมนุษย์ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการตื่นนอน การนอนหลับ หรือการหลั่งฮอร์โมน แม้แต่การแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิในร่างกาย
หลักการทำงานของ นาฬิกาชีวิต
- 01.00-03.00 น. ช่วงเวลาทำงานของตับ เป็นช่วงเวลาที่ควรนอนหลับ ให้ตับได้ทำงานอย่างเต็มที่ กำจัดของเสียออกจากร่างกาย ผลิตอินซูลิน และผลิตน้ำดีไว้ย่อยไขมัน และเป็นเวลาที่ควรงดอาหาร
- 03.00-05.00 น. ช่วงเวลาทำงานของปอด เป็นเวลาที่ปอดฟอกเลือดได้อย่างเต็มที่ เป็นเหตุผลที่ตื่นเช้าจะรู้สึกสดชื่น เพราะได้ตื่นมาสูดอากาศยามเช้า
- 05.00-07.00 น. ช่วงเวลาทำงานของลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่จะทำงานได้ดี เป็นช่วงเวลาที่ควรขับถ่าย
- 07.00-09.00 น. ช่วงเวลาทำงานของกระเพาะอาหาร เป็นเวลาที่กระเพาะจะดูดซึมและย่อยสารอาหารต่าง ๆ ได้ดีที่สุด จึงเป็นสาเหตุที่เราไม่ควรอดมื้อเช้า
- 09.00-11.00 น. ช่วงเวลาทำงานของม้าม การกินอาหารในเวลานี้ทำให้อ้วนง่าย การนอนในเวลานี้จะทำให้ม้ามทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร
- 11.00-13.00 น. ช่วงเวลาทำงานของหัวใจ หัวใจจะทำงานหนักช่วงเวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่ห้ามเครียด พักเที่ยงชิล ๆ ไปเลย
- 13.00-15.00 น. ช่วงเวลาทำงานของลำไส้เล็ก งดกินช่วงนี้ สมองแล่น ช่วงเวลานี้ไม่ควรกินอาหารทุกชนิด ลำไส้เล็กจะได้ทำงานอย่างเต็มที่ และเป็นช่วงที่สมองซีกขวาทำงานได้ดี
- 17.00-19.00 น. ช่วงเวลาทำงานของไต ห้ามนอนเวลานี้ เพราะจะทำให้ไตทำงานหนัก ควรออกกำลังกาย หรือหาอะไรทำ ห้ามอยู่นิ่ง ๆ เพื่อให้ร่างกายสดชื่น เพิ่มความดันเลือด
- 19.00-21.00 น. ช่วงเวลาทำงานของเยื่อหุ้มหัวใจ ช่วงนี้ควรอยู่นิ่ง ๆ จะโยคะ นั่งสมาธิ หรือนอนแช่น้ำอุ่นชิล ๆ ก็ได้
- 21.00-23.00 น. ช่วงเวลาทำงานของอุณหภูมิในร่างกาย เป็นเวลาที่ร่างกายต้องการความอบอุ่น ไม่ควรอาบน้ำเย็นในช่วงนี้ จะทำให้ร่างกายอ่อนแอได้ง่าย
- 23.00-01.00 น. ช่วงเวลาทำงานของถุงน้ำดี ควรดื่มน้ำก่อนเข้านอน ป้องกันไม่ให้น้ำดีข้นเกินไป ส่งผลให้เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับ
ผลการวิจัยชี้ คนนอนดึก มักมีภาวะซึมเศร้า
มนุษย์กลางคืนทั้งหลาย จากนี้ไปคุณอาจจะต้องเลิกดูเน็ตฟลิกจนตีสอง เลิกแชตกับผู้ชายจนดึก ๆ ดื่น ๆ เลิกตามกรี๊ดโอปป้าในซีรีส์เกาหลีจนเช้า เพราะงานวิจัยพบว่า การนอนดึกอาจก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า หรือโรคซึมเศร้าได้
ทุกกระบวนการในร่างกาย ตั้งแต่กินข้าวจนเข้านอน จะถูกควบคุมโดย นาฬิกาชีวภาพ (internal clock) ซึ่งนาฬิกาที่ว่านี้จะแปรผันไปตามสภาพแวดล้อม ในตอนเช้าที่มีแสงแดด ร่างกายของเราก็จะตื่น ในทางกลับกันเมื่อพระอาทิตย์ตกดิน ฟ้ามืด นาฬิการ่างกายของเราก็จะบอกว่าถึงเวลาที่เราต้องเข้านอน
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกลาสโกว ได้ทำการศึกษา ผู้ใหญ่จำนวน 91,105 คน ช่วงอายุระหว่าง 37-73 ปี โดยติดเครื่องติดตามความแอคทีฟเพื่อดูว่า ช่วงเวลาไหนที่พวกเขาจะแอคทีฟมากที่สุด ผลการศึกษา คนที่ร่างกายตื่นตัวในตอนกลางคืน หรือคนที่นอนดึกนั้นอาจจะเป็นเพราะนาฬิการ่างกายเพี้ยนไปจากปกติ
พบว่า 6-10 เปอร์เซ็นต์ของคนที่ร่างกายตื่นตัวในตอนกลางคืน หรือพวกมนุษย์กลางคืนจะเป็นคนที่มีความผิดปกติทางด้านอารมณ์ อย่างโรคซึมเศร้า และโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) ยิ่งกว่านั้น พวกเขายังรู้สึกโดดเดี่ยวเหงาหงอย และรู้สึกไม่มีความสุขในชีวิตมากกว่าคนทั่วไปอีกด้วย
ที่มา : dNet
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!