คุณกำลังท้องผูกอยู่หรือไม่? วิธีแก้ท้องผูกอย่างเห็นผล!
หน้าแรกTeeNee รวมเรื่องสุขภาพดีๆ ข่าวสุขภาพและสุขภาพทั่วไป คุณกำลังท้องผูกอยู่หรือไม่? วิธีแก้ท้องผูกอย่างเห็นผล!
คุณมี อาการท้องผูก อยู่หรือไม่?
อาการท้องผูก ต้องมีอาการอย่างไรบ้าง
- ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
- ต้องเบ่งมากกว่าปกติ
- อุจจาระเป็นก้อนแข็ง หรือเป็นเม็ดเล็กๆ เหมือนขี้กระต่าย
- อุจจาระมีเลือดปน
- รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด
- มีความรู้สึกว่าถ่ายไม่ออกเนื่องจากมีสิ่งอุดกั้นบริเวณทวารหนัก
- ต้องใช้นิ้วมือช่วยในการถ่ายอุจจาระ
สาเหตุท้องผูก
- มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทํางานน้อยกว่าปกติ โรคทางระบบประสาทต่างๆ
- ยาบางชนิด เช่น ยาต้านซึมเศร้า ยาแก้ปวด แคลเซียมชนิดเม็ด
- มีการอุดกั้นของลําไส้ หรือการทํางานของลําไส้หรือกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่ายผิดปกติ
- ไม่ค่อยออกกำลังกายให้ลำไส้บีบตัว
- กินอาหารที่มีกากใยน้อย ไม่ค่อยดื่มน้ำเปล่า
- เร่งรีบ มีนิสัยในการขับถ่ายที่ไม่ดี ไม่ให้เวลาขับถ่ายอย่างเพียงพอ ชอบอั้น
ป้องกันก่อนเกิด
กินอาหารที่มีกากใยอย่างเพียงพอ โดยปริมาณนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละคน เช่น อาจลองเริ่มที่ 1 ทัพพีในแต่ละมื้อ หากยังมีอาการ อาจค่อยปรับเพิ่มปริมาณขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล เพราะบางคนเมื่อกินผักเยอะมากเกินไป อาจมีอาการท้องผูก โดยหลายคนอาจเข้าใจผิดว่า การกินเนื้อสัตว์นั้นอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ง่าย แต่ความจริงแล้วไม่จำเป็นต้องงดเนื้อสัตว์ หากกินกากใยอย่างพอเพียงในแต่ละวัน
อาหารที่มีกากใยมาก ได้แก่ ผักสีเขียวต่างๆ โดยเฉพาะผักใบ เช่น คะน้า ผักกาด กวางตุ้ง โดยสามารถกินสดทั้งใบ หรือนำมาปั่นเป็นน้ำดื่มได้ผลเช่นเดียวกัน หรืออาจเลือกเป็นผลไม้ได้เช่นกัน เช่น ส้ม ฝรั่ง แอปเปิ้ล มะละกอ และเลี่ยงผลไม้ที่มีแป้งเยอะ เช่น ทุเรียน มะม่วง ขนุน เป็นต้น นอกจากนี้ บุกและเม็ดแมงลักก็เป็นอาหารที่มีไฟเบอร์สูงด้วยเช่นกัน
เลือกกินโพรไบโอติกส์ (Probiotics) แบคทีเรียชนิดดี เพื่อช่วยให้อุจจาระนิ่มลง ขับถ่ายได้ง่าย เช่น นมเปรี้ยวโยเกิร์ตที่มีแลคโตบาซิลลัส
ขับถ่ายเป็นเวลา และให้เวลาการขับถ่าย ปวดถ่ายอย่าอั้น ดื่มน้ำให้เพียงพอ กินไฟเบอเพียงพอ เวลาไหนก้ได้ตอนเช้า ลำไส้บีบตัวช่วงเช้ามากที่สุด แล้วแต่สะดวก โดยอาจดื่มน้ำอุ่นในทุกๆ เช้าเพื่อช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ได้เกิดการบีบตัว
เลี่ยงการดื่มชา กาแฟ เพราะมีสารที่ทำให้ลำไส้บีบตัวช้าลง บางคนอาจจะท้องผูกได้
หากจำเป็นต้องได้รับแคลเซียมเสริม โดยเฉพาะผู้สูงอายุ อาจเสี่ยงต่ออาการท้องผูกได้ ควรเลือกเป็นแคลเซียมชนิดเม็ดฟู่ และต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
ออกกำลังกายเป็นประจำ เพิ่มความเคลื่อนไหวของลำไส้
นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ และเป็นเวลา เพื่อไม่ให้ลำไล้แปรปรวน
หากกินผักหรืออาหารกลุ่มไฟเบอร์แล้วแต่ก็ยังท้องผูก อาจเรียกว่า มีการบีบตัวของลำไส้ใหญ่น้อยเกินควร อาจจะต้องออกกำลังกายเพิ่มขึ้น ดื่มน้ำเพิ่มขึ้น หรือปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาระบายตามอาการ
รักษาบรรเทาอาการท้องผูก
หากมีอาการท้องผูกเรื้อรัง อาจพบแพทย์เพื่อรับการรักษา รับยาระบายเพื่อบรรเทาอาการท้องผูก
- ยาระบายที่ออกฤทธิ์โดยการทําให้ปริมาณอุจจาระมากขึ้น (bulk-forming laxative)
- ยาที่ออกฤทธิ์โดยการดูดน้ากลับเข้ามาในลําไส้มากขึ้น (osmotic laxative)
- ยาที่กระตุ้นการบีบตัวของลําไส้ (Irritant laxatives)
- ยาระบายชนิดสวน
โดยยาถ่ายกลุ่มที่กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ เช่น มะขามแขก อาจทำให้ร่างกายชินต่อยา จนอาจขับถ่ายเองไม่ได้ หรือต้องรับยาในปริมาณที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
หากร่างกายชินแล้ว เราต้องปรับพฤติกรรม การกิน การดื่ม และการขับถ่ายใหม่อีกครั้งเพื่อให้ระบบขับถ่ายกลับมาเป็นปกติ ซึ่งถ้าหยุดยาเลยทันทีอาจทำให้ท้องผุกรุนแรง ต้องค่อยๆ ลดยาลง เพิ่มยากลุ่มอื่นแทน เช่น ยาที่ออกฤทธิ์โดยการดูดน้ากลับเข้ามาในลําไส้มากขึ้น เพื่อให้อุจจาระนิ่มลง ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น
หากผู้ป่วยมีอายุ 45 ปีขึ้นไป อาจต้องสังเกตตัวเองเพิ่ม เพราะอาการท้องผูกอาจเกิดจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ โดยหากคลำพบก้อนที่บริเวณท้องหรือมีอาการท้องผูกรุนแรง อาจจำเป็นต้องส่องกล้องเพื่อวินิจฉัยต่อไป
มะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกันได้
รับประทานอาหารถูกสุขลักษณะ รับประทานอาหารที่มีผักผลไม้มากๆ หลีกเลี่ยงอาหารพลังงานสูง เช่น ของหวานของมัน เนื้อแดง เพื่อหลีกเลี่ยงโรคอ้วน
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
งดสูบบุหรี่ ดื่มสุรา
ทำการตรวจคัดกรองโรคกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยง หรือมีอาการชวนสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระหรือการส่องกล้องลำไส้ใหญ่
ดีท็อกซ์ (Detox) ดีต่อลำไส้?
ดีท็อกซ์ คือการสวนน้ำเข้าลำไส้ทางทวารหนัก บางคนอาจจะรู้สึกสบายตัว โล่ง จากการดีท็อกซ์ลำไส้ โดยการดีท็อกซ์ช่วยให้อุจจาระนิ่มขึ้น ขับถ่ายงาย แต่ไม่ได้เป็นการทำความสะอาดลำไส้อย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะเป็นการสวนน้ำเข้าถึงเพียงช่วงลำไส้ตรงช่วงสั้นๆ เท่านั้น
นอกจากนี้การทำดีท็อกซ์ยังมีความเสี่ยงเช่นกัน หากช่วงลำไส้มีการอักเสบ การดีท็อกซ์อาจทำให้แผลเกิดรุนแรงขึ้นได้ หรืออุณหภูมิน้ำที่ไม่พอดีต่อร่างกายก็อาจจะไม่ปลอดภัยและส่งผลเสียได้เช่นกัน โดยทางการแพทย์นั้นแนะนำว่า ร่างกายไม่จำเป็นต้องได้รับการดีท็อกซ์เพื่อรักษาอาการท้องผูก เพียงแค่กินผักผลไม้ และปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดอาการท้องผูกก็เพียงพอแล้ว แต่หากต้องการรับการดีท็อกซ์ ควรเลือกสถานบริการที่ปลอดภัย เชื่อถือได้
ข้อมูลโดย
นายแพทย์ สมบุญ รุ่งจิรธนานนท์
อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร
ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลนครธน
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!