ระวัง!! แผลในกระเพาะอาจทะลุได้ ถ้ายังไม่เลิกทำแบบนี้?
หน้าแรกTeeNee รวมเรื่องสุขภาพดีๆ ข่าวสุขภาพและสุขภาพทั่วไป ระวัง!! แผลในกระเพาะอาจทะลุได้ ถ้ายังไม่เลิกทำแบบนี้?
ทานข้าวไม่ตรงเวลา หรือ อดอาหารเป็นเวลานาน ควรปรับพฤติกรรมด่วน กินและเคี้ยวอาหารช้าๆ และเคี้ยวนานๆ ลดภาระการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้
กระเพาะอาหารอักเสบ มีแผลในกระเพาะอาหาร แสบร้อนท้อง จุกแน่นท้อง โดยเฉพาะบริเวณใต้ราวนม(ตำแหน่งของกระเพาะอาหาร) มีลมในกระเพาะอาหาร ถ่ายอุจจาระมีสีแดงออกคล้ำๆ หรือดำ เนื่องจากมีเลือดออกในทางเดินอาหาร
สาเหตุ
ทานข้าวไม่ตรงเวลา หรือ อดอาหารเป็นเวลานาน
กินยาต้านการอักเสบหรือยาแก้ปวดมากเกินไป โดยเฉพาะการกินยาอย่างต่อเนื่อง เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งยาในกลุ่มนี้จะก่อการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกบุภายในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อยๆ จะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกกระเพาะอาหาร และกระตุ้นให้กระเพาะอาหารสร้างกรดเพิ่มขึ้น
ความเครียด เมื่อเกิดความความเครียด ร่างกายจะส่งสัญญาณกระตุ้นให้เซลล์กระเพาะอาหารหลั่งกรดเพิ่มขึ้น เกิดการระคายเคือง และ การอักเสบต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร
ควรปรับพฤติกรรม
-เคี้ยวอาหารช้าๆ และเคี้ยวนานๆ ลดภาระการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้
-ลดการทานอาหารที่ย่อยยากเกินไปเช่น เนื้อสัตว์ปริมาณมาก
-ลดการทานอาหารที่ทำให้ระบบย่อยอาหารแย่ลง เช่น กาแฟ นม อาหารทอด
-ลดความเครียด ด้วยการทำสมาธิ ออกกำลังกายเบาๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ
วิธีแก้ไขอาการแผลในกระเพาะอาหาร
-รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
-เมื่อแผลหายดีแล้วค่อยๆบำรุงกำลังของกระเพาะอาหาร (เหมือนบทความตอนต้น)
การรักษาแผลในกระเพาะอาหารด้วย
“กล้วยน้ำว้าดิบ”
ในกล้วยดิบมีสารสำคัญที่ให้รสฝาดและช่วยสมานแผลชื่อ “แทนนิน” ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ช่วยป้องกันผนังกระเพาะอาหารไม่ให้เชื้อโรคต่างๆ และป้องกันรสชาติของอาหารที่เผ็ดร้อนเกินไป ทำอันตรายกับผนังกระเพาะอาหารของเราได้
สารสำคัญอีกอย่างหนึ่งในกล้วยทุกชนิดคือ “เซโรโทนิน” ช่วยกระตุ้นให้กระเพาะอาหารสร้างเยื่อเมือกตามธรรมชาติออกมาเคลือบแผล แต่จะไม่กระทบกับการหลั่งน้ำย่อย ซึ่งจะช่วยลดการระคายเคืองและอาการแสบร้อนท้องโดยที่ไม่ทำให้การย่อยลดประสิทธิภาพลง ในขณะที่ยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร โดยมากออกฤทธิ์เพียงเคลือบป้องกันแผล แต่กล้วยดิบมีฤทธิ์ทั้งป้องกันและสมานแผลในกระเพาะอาหารควบคู่ไปด้วย
ที่มา : senesouk.com
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!