แนะเคล็ดไม่ลับ ออกกำลังกายให้ชีวิตดี๊ดี

เรารู้กันมานานแล้วว่าการเล่นกีฬา การออกกำลังกายส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย และมีคนสนใจออกกำลังกายกันมาตลอดทุกยุคสมัย มีข้อมูลเกี่ยวกับการออกกำลังกายอยู่ทั่วไปให้ค้นหา แต่ว่าแต่ละคนก็มีความรู้เกี่ยวกับการอ

ดร.ฮิโรฟุมิ ทานากะ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยโรคหัวใจและหลอดเลือด มหาวิทยาลัยเทกซัส ออสติน (The University of Texas at Austin) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องการออกกำลังกายกับระบบการทำงานของร่างกาย มีคำแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังกายให้เข้าใจง่ายเป็นข้อ ๆ ว่า

1.การออกกำลังกายที่ดีเยี่ยมที่สุดคือการว่ายน้ำ เนื่องจากจะช่วยลดอาการบาดเจ็บของข้อต่าง ๆ ลดอาการปวดข้อ ถนอมข้อต่อ ช่วยให้ร่างกายมีความยืดหยุ่น ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบสูบฉีดเลือดดี และลดความเครียด

2.ระหว่างการออกกำลังกายอินดอร์กับเอาต์ดอร์จริง ๆ แล้วไม่ต่างกันมากนัก ขึ้นอยู่ประเภทของกีฬา และความหนักของการออกกำลังกายมากกว่า ทั้งสองแบบมีประโยชน์เหมือนกันคือทำให้เซลล์ในร่างกายมีระบบการทำงานดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น แต่ข้อดีที่เพิ่มขึ้นมาในการออกกำลังกายกลางแจ้งคือ จะมีประโยชน์ต่อทั้งทางภายนอกและภายใน เนื่องจากสภาพแวดล้อมภายนอกจะช่วยลดความกดดัน ความเครียด และช่วยเพิ่มพลังมากขึ้น

3.เคล็ดลับการออกกำลังกาย ในสหรัฐอเมริกาจะมีการวางโปรแกรมการออกกำลังกาย 6 เดือน เปลี่ยนชนิดกีฬาไปเรื่อย ๆ ซึ่งเราจะสามารถเลือกกีฬาที่เราชอบ และถนัดได้เองตามความเหมาะสม

หรืออาจจะทำเป็นการออกกำลังกายต่อเนื่องไปด้วยได้ จะปรับเปลี่ยนให้หลากหลาย หรือจะออกกำลังกายแบบเดิมก็ได้ แต่ที่สำคัญคือความต่อเนื่องสม่ำเสมอ

4.ทราบมาว่าในเมืองไทยกำลังนิยมการวิ่งมาราธอน ข้อแนะนำสำหรับคนที่วิ่งมาราธอนก็คือ ควรจะวิ่งเร็วบ้าง วิ่งช้าบ้าง เดินบ้าง เพื่อเป็นการวอร์มร่างกาย

5.เทรนด์การออกกำลังกายที่อเมริกามีความหลากหลาย เช่น การปั่นจักรยานในฟิตเนส (Spin Cycling) โยคะ ว่ายน้ำ เป็นต้น สิ่งที่สำคัญที่ควรคำนึงถึงในการเลือกชนิดกีฬาคือต้องเป็นสิ่งที่ทำแล้วสนุกและชอบ อย่างที่บอกไปว่าการว่ายน้ำ ก็เป็นกีฬาที่ดี แต่สำหรับคนว่ายน้ำไม่เป็น อาจจะออกกำลังกายในน้ำแทน ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้สูงอายุและเด็ก ๆ

6.ผู้ป่วยโรคอะไรที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้ ? ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับชนิดของการออกกำลังกายว่าหนักเบามากน้อยแค่ไหน เช่น การดำน้ำลึก ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาหลอดเลือด ส่วนสำหรับผู้ป่วยโรคอื่น ๆ สามารถออกกำลังกายได้

แต่เป็นกีฬาที่ไม่หนัก ขึ้นอยู่กับโรคแต่ละชนิดว่าควรหลีกเลี่ยงกีฬาประเภทไหน แม้แต่ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูงก็สามารถออกกำลังกายได้

7.สำหรับคนที่เป็นโรคกลุ่มเบาหวาน ควรจะมีการจับกลุ่มผู้ป่วยแล้วออกกำลังกายร่วมกันในแบบที่เหมาะสม กิจกรรมการออกกำลังกายขึ้นอยู่กับชุมชน ธรรมชาติ และท้องถิ่นของผู้ป่วยเอง เช่น การวิ่งจ๊อกกิ้งในสนามกีฬา เป็นต้น

8.ความถี่ในการออกกำลังกาย ขึ้นอยู่กับผู้ออกกำลังกาย เราสามารถเปลี่ยนได้ตลอดตามที่เราชอบและยังสนุกกับมัน ถ้าเราชอบเราก็ออกกำลังได้ตลอด


แนะเคล็ดไม่ลับ ออกกำลังกายให้ชีวิตดี๊ดี

ที่มา http://www.thaihealth.or.th/


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์