เฟซบุ๊ค Dr.Aki - หมออาคิ บอกว่า คาง 2 ชั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1) รูปแบบที่เกิดจากตัวกล้ามเนื้อลิ้นหย่อนลงมา
โดยรูปแบบนี้จะก่อผลเสียเมื่อเวลานอนหลับลึก กล้ามเนื้อลิ้นที่หย่อนลงมามากจะไปปิดทางเดินหายใจทำให้เกิด "ภาวะหยุดหายใจชั่วขณะเวลานอนหลับ" ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการล้าอ่อนเพลีย ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจได้
วิธีสังเกต
เราสามารถตรวจสอบสอบได้ง่ายๆ โดยให้มองหน้าตรงในกระจก แล้วใช้ปลายไม้บรรทัดจรดที่ลูกกระเดือกแล้วทาบมาที่คาง จากนั้นดูว่ามีช่องว่างพอให้นิ้วชี้เราผ่านได้หรือไม่ ถ้านิ้วชี้ผ่านไม่ได้ก็แสดงว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะนี้
2) รูปแบบที่เกิดจากกระดูกอ่อนใต้กล้ามเนื้อลิ้น (Hyoid Bone) อยู่ต่ำลงมาจากตำแหน่งปกติ
ทำให้เห็นเป็นคาง2ชั้นคล้ายตุ๊กแก สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อที่ยึดกระดูกนี้หย่อนยานทำงานไม่ได้เต็มที่ ทั้งนี้กล้ามเนื้อมัดนี้มีหน้าที่สำคัญช่วยการเปิดปิดของแผ่นปิดกล่องเสียง ป้องกันไม่ให้อาหารลงไปหลอดลมแล้วเข้าปอดเวลาเรากลืน ดังนั้นการที่กล้ามเนื้อมัดนี้หย่อนยานทำให้แผ่นปิดกล่องเสียงนี้เปิดปิดได้ไม่ดี มีโอกาสสำลักอาหารเข้าปอด ส่งผลทำให้เกิดโรคปอดอักเสบติดเชื้อได้นั่นเอง
วิธีสังเกต
เราสามารถตรวจสอบได้ง่ายๆ โดยใช้นิ้วทาบบริเวณลูกกระเดือกแล้วกลืน ดูว่าลูกกระเดือกสามารถเคลื่อนขึ้นลงผ่านนิ้วเราได้ปกติหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีการทดสอบอีกอย่าง คือ ระยะเวลากับการกลืน ให้ดูว่าภายใน 30 วินาที เรากลืนได้กี่ครั้ง ถ้ากลืนได้ต่ำกว่า 2 ครั้งถือว่าผิดปกติ
อย่างไรก็ตาม คุณหมออาคิฝากบอกอีกว่า การตรวจเช็ค "คาง 2 ชั้น" แบบข้างต้นเป็นการตรวจเบื้องต้น ถ้าสงสัยว่าผิดปกติ แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางโรคหู คอ จมูกค่ะ
ชมภาพประกอบได้ในโพสเฟซบุ๊คของคุณหมอ ด้านล่างค่ะ