รู้จัก โรคข้าวผัด ภาวะอาหารเป็นพิษจากเชื้อแบคทีเรีย


รู้จัก โรคข้าวผัด ภาวะอาหารเป็นพิษจากเชื้อแบคทีเรีย

โรคข้าวผัด (Fried Rice Syndrome) ภาวะอาหารเป็นพิษจากเชื้อแบคทีเรีย คือ กลุ่มอาการอาหารเป็นพิษที่เกิดจากการกินอาหารปรุงสุกบางชนิดที่จัดเก็บผิดวิธี (เก็บนอกตู้เย็น) จนทำให้เชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Bacillus cereus หรือ B.cereus เจริญเติบโตในอาหารเหล่านั้น โดยเฉพาะอาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าวและพาสต้า มักเป็นสาเหตุของอาการดังกล่าว แต่บางครั้งก็พบเชื้อโรคชนิดนี้ในผัก และเนื้อสัตว์ปรุงสุกที่เก็บรักษาไม่ถูกวิธีเช่นกัน โดย แบคทีเรีย B.cereus สามารถผลิตสารพิษได้ ยิ่งเก็บอาหารปรุงสุกเหล่านั้น ไว้ที่อุณหภูมิห้องนานเท่าไร เชื้อแบคทีเรียและสารพิษเหล่านี้ก็จะมีโอกาสเติบโตมากขึ้นเท่านั้น

เชื้อ B.cereus เป็นสาเหตุหลักของอาการ Fried Rice Syndrome เนื่องจากมีส่วนที่เป็นแบคทีเรียชนิดอื่นไม่มี กล่าวคือ มันสร้างเซลล์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่าสปอร์ ซึ่งทนทานต่อความร้อนได้ดีมาก ดังนั้น แม้ว่าผู้บริโภคจะอุ่นอาหารที่เหลือด้วยอุณหภูมิสูงก็อาจจะไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคชนิดนี้ได้ (เชื้อโรคอื่น ๆ ส่วนใหญ่เมื่อโดนความร้อนสูงก็จะตายไป สปอร์ของเชื้อ B.cereus เหล่านี้ตามปกติมันจะอยู่ในสภาวะสงบเงียบ แต่หากได้รับอุณหภูมิและสภาวะที่เหมาะสม พวกมันก็สามารถเติบโตและจะเริ่มผลิตสารพิษที่มีความอันตรายต่อร่างกายคนเรา หากเรากินอาหารที่มีเชื้อโรคชนิดนี้จำนวนมากเข้าไป ก็จะเกิดอาการท้องเสียและอาเจียน

ทั่วไปอาการเจ็บป่วยดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะหายไปเองได้ภายใน 2-3 วัน แต่ในผู้ที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว อาจมีแนวโน้มที่จะต้องไปพบแพทย์



รู้จัก โรคข้าวผัด ภาวะอาหารเป็นพิษจากเชื้อแบคทีเรีย

ทั้งนี้ ผศ.(พิเศษ) นพ.พจน์ อินทลาภาพร หัวหน้างานโรคติดเชื้อ กลุ่มงานอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซีเรียส (Bacillus Cereus) สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ 1.ชนิดที่ทําให้ท้องร่วง (diarrhea toxin) และ 2.ชนิดที่ทําให้อาเจียน (emetic toxin)

วิธีเก็บรักษาอาหารให้เหมาะสมเพื่อป้องกันโรค

1. เก็บอาหารปรุงสุกในตู้เย็นทันที
หากรับประทานอาหารเหลือและต้องการเก็บไว้ ควรนำเข้าเก็บในตู้เย็นโดยไม่รอช้า เพื่อลดความเสี่ยงจากแบคทีเรียที่เติบโตในอุณหภูมิห้อง

2. อุ่นอาหารก่อนเก็บ หากเผลอวางไว้เกิน 2 ชั่วโมง
หากลืมอาหารไว้นานกว่า 2 ชั่วโมง ควรอุ่นอาหารให้ร้อนก่อนเก็บในตู้เย็น เพื่อทำลายแบคทีเรียที่อาจเติบโตระหว่างนั้น

3. แบ่งอาหารแช่เย็นทันทีโดยไม่ต้องรอให้เย็นสนิท
หากต้องการเก็บบางส่วนไว้รับประทานในวันถัดไป ให้แบ่งอาหารใส่ภาชนะและแช่เย็นทันที การรอให้อาหารเย็นก่อนเก็บอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน

4. ปฏิบัติตามกฎ "2 ชม./4 ชม."

- หากอาหารวางอยู่นอกตู้เย็นไม่เกิน 2 ชั่วโมง สามารถนำกลับเข้าแช่ตู้เย็นได้อย่างปลอดภัย
- หากอาหารวางไว้นานเกิน 4 ชั่วโมง ไม่ควรเก็บหรือรับประทาน เนื่องจากอาจมีการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่อันตราย

5. แบ่งอาหารปริมาณมากเป็นส่วนเล็กๆ
การแบ่งอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ ช่วยให้ความเย็นเข้าถึงอาหารได้เร็วขึ้น และเมื่อจะรับประทานก็สามารถนำออกมาคลายความเย็นได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

 



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์