ทำความรู้จักโรคเเพนิค คืออะไร ที่ ชาล็อต กำลังเผชิญ
โรคแพนิค อาการเป็นอย่างไร?
-ใจสั่น แน่นหน้าอก
-หัวใจเต้นแรง
-หายใจหอบ หายใจถี่
-เหงื่อออกมาก เหงื่อแตก
-ตัวสั่น
-ปั่นป่วนในท้อง
-วิงเวียน คล้ายจะเป็นลม
-หวาดกลัว รู้สึกกลัวไปหมดทุกอย่าง
-มือสั่น เท้าสั่น
-ตัวชา ควบคุมตัวเองไม่ได้
ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคแพนิค
-อาจเกิดจากสมองส่วนควบคุมความกลัวที่เรียกว่า "อะมิกดาลา" (Amygdala) ทำงานผิดปกติ-กรรมพันธุ์ คนที่มีญาติหรือประวัติครอบครัวเป็นโรคแพนิค มีแนวโน้มเป็นได้มากกว่าคนทั่วไป
-การใช้สารเสพติด
-ความผิดปกติของฮอร์โมน อาจทำให้สารเตมีในสมองเสียสมดุลได้
-มีประสบการณ์ เคยผ่านเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต
-พฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นตัวกระตุ้น เช่น ทำงานกับคอมพิวเตอร์และมือถือนานๆ เผชิญความกดดัน อยู่ใน-สภาวะที่เร่งรีบ เครียดวิตกกังวล ไม่ออกกำลังกาย พักผ่อนน้อย
-เครียดสะสม เกิดจากการใช้ชีวิตอย่างจริงจัง เคร่งเครียด อยู่ในสภาวะกดดันเป็นประจำ
โรคแพนิค ไม่อันตรายแต่ควรรักษา!
โรคแพนิคสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาเพื่อปรับสมดุลของสารเคมีในสมองที่ผิดปกติ หรือ การตรวจเลือดหาสาเหตุที่เกิดทางด้านร่างกาย เพื่อการรักษาที่ได้ผลดีนั้นจะต้องมีการรักษาทางจิตใจควบคู่ไปด้วย ปรับแนวคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วย รวมถึงคนรอบข้าง คนใกล้ชิด ควรทำความเข้าใจกับโรคนี้และให้กำลังใจผู้ป่วยการฝึกการหายใจเพื่อควบคุมสติ เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวล ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยสามารถทำได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ผ่อนคลายจากความเครียด รับประทาน พักผ่อนให้เพียงพอและเป็นเวลา อาจหลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตประจำวันด้วยความเร่งรีบ รวมทั้งการใช้เวลาอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือมากเกินไป
แม้ว่าโรคนี้จะไม่รุนแรง หรือเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่อาการของโรคอาจไปสัมพันธ์คล้ายคลึงกับปัญหาสุขภาพร้ายแรง อื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคระบบหลอดเลือดหัวใจ และหัวใจวายเฉียบพลัน ดังนั้น หากสงสัยว่ามีอาการของโรคแพนิค ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด