รู้จัก โรควูบ ภัยร้ายใกล้ตัว ล่าสุดคร่าชีวิต อั๋น มนัส


รู้จัก โรควูบ ภัยร้ายใกล้ตัว ล่าสุดคร่าชีวิต อั๋น มนัส

จากประเด็นที่ อั๋น มนัส พิธีกรชื่อดังเกิดอาการวูบ ลื่นล้มจนป่วยหนักรักษาตัวใน ICU จนกระทั่งเสียชีวิตในเวลาต่อ วันนี้เราจะพาทุกคนรู้จักกับโรควูบกันค่ะ พร้อมทั้งอาการ การรักษา

เป็นอาการ หน้ามืด วูบ หมดสติ ที่พบได้บ่อยที่สุด มาจากหลายสาเหตุ ได้แก่

- มาจากสภาพจิตใจที่ไม่เป็นปกติ เช่น เครียดมาก กลัว หรือตกใจมาก ๆ มักเกิดขึ้นเมื่อประสบกับเหตุการณ์ไม่คาดคิด
- อยู่ในสถานที่หรือสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง เช่น อยู่ในสถานที่แออัดคับคั่ง หรือที่ที่ร้อนอบอ้าว ผู้ป่วยบางราย อาจเป็นลมได้จากการยืนนาน ๆ
- มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น รู้สึกหิวมาก เป็นเวลานาน ๆ
- ร่างกายสูญเสียน้ำมากหรือมีภาวะขาดน้ำ เช่น ท้องเสีย หรือเสียเหงื่อมากเกินไป
- ร่างกายอ่อนเพลียหรือเหนื่อยล้า จากการทำงานหนัก การหักโหมออกกำลังกาย หรือนอนดึกเป็นประจำ
- ความดันตกในช่วงสั้น ๆ แล้วทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก คนที่ไอรุนแรง เบ่งปัสสาวะหรืออุจจาระแรงๆ
- นอนหรือนั่งอยู่นานแล้วลุกขึ้นยืนทันที เรียกว่า ความดันเลือดต่ำขณะเปลี่ยนอิริยาบถ (Orthostatic hypotension)
- ความดันโลหิตต่ำ ซึ่งอาจมาจากโรคความดันโลหิตต่ำ ผู้ที่กินยารักษาโรคความดันเลือดสูงหรือโรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ที่มีภาวะตกเลือด หรือเป็นภาวะของร่างกายในผู้สูงอายุ



จากสาเหตุที่รุนแรง


- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในระดับรุนแรง อาจมาจากผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานกำเริบ ผู้ป่วยเนื้องอกบางชนิด ผู้ที่ดื่มสุราในปริมาณมาก

- ความผิดปกติของสมองหรือระบบประสาท เช่น โรคลมชัก (อาจไม่มีการชักให้เห็น) หรืออาจเกิดจากเสียเลือดเลี้ยงสมองเอง เช่น ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว เลือดออกในสมอง หลอดเลือดสมองตีบ หรืออาจได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ ทำให้สมองกระทบกระเทือน เป็นต้น

- โรคหัวใจ ได้แก่
1. หัวใจเต้นผิดจังหวะ (cardiac arrhythmia) เช่น บางครั้งช้าเกินไป บางครั้งเร็วมากเกินไป หัวใจปั๊มเลือดได้ไม่เพียงพอกับ
2. ความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะสมอง จึงมีอาการเป็นลมหมดสติได้
ความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่วรุนแรง กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม กล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ
3. หลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด


อาการ

ผู้ป่วยที่เป็นลมธรรมดา จะมีความรู้สึกใจหวิว ๆ ทรงตัวไม่ไหว บางรายหากหมดสติอยู่ จะใช้เวลาไม่นาน ประมาณ 1- 2 นาทีก็ฟื้นได้ บางรายจะมีอาการเตือนล่วงหน้า เช่น รู้สึกหนักศีรษะ รู้สึกโคลงเคลง ไม่มีแรงประคองตัว ตามัวลง หรือมองเห็นภาพเป็นจุด เป็นต้น แล้วจึงเริ่มมีอาการวูบหรือเป็นลม

- ผู้ป่วยมีอาการวูบแล้วหมดสติเป็นเวลานาน ให้เราประเมินการหมดสติ โดยการตะโกนเรียกดัง ๆ และเขย่าที่ไหล่ ถ้าผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัวหรือเคลื่อนไหว ควรรีบทำการช่วยชีวิต และนำส่งโรงพยาบาล
- ผู้ป่วยวูบแล้วมีอาการชัก
- ผู้ป่วยวูบแล้วหัวใจเต้นผิดปกติ อาจมีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น หายใจหอบเหนื่อย
- ผู้ป่วยวูบ แล้วมีอาการหน้าเบี้ยวร่วมด้วย
- ผู้ป่วยมีอาการตกเลือด อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ หรือมีเลือดออก
- ผู้ป่วยท้องเสียหรืออาเจียนรุนแรงจนมีภาวะขาดน้ำ
- ผู้ป่วยมีอาการอื่นร่วมด้วย อย่างน้อย 1 อย่าง ดังนี้ ปวดท้อง ปวดหลัง ปวดศีรษะ วิงเวียน ตาเห็นภาพซ้อน พูดอ้อแอ้ กลืนลำบาก เดินเซ หรือแขนขามีอาการชาหรืออ่อนแรง
- ผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ หรือทราบว่ามีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ เป็นต้น



กรณีอาการวูบที่ต้องเฝ้าระวัง

1. วูบจากสาเหตุของหัวใจ

ผู้ป่วยที่เกิดอาการวูบจากสาเหตุของหัวใจนั้น มักมีอาการหน้ามืดใจสั่น มวนท้อง เหงื่อแตก ตัวเย็น คลื่นไส้อาเจียน ที่สำคัญคือผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการวูบในช่วงเวลาสั้น ๆ และเมื่อตื่นขึ้นมาก็ยังจำเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ได้ และกลับมาเป็นปกติได้อีกครั้ง

แต่หากผู้ป่วยปล่อยทิ้งไว้ ไม่เข้ารับการตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด และรักษาอย่างถูกวิธีแล้ว อาจส่งผลให้ผู้ป่วยกลายเป็นอัมพาต หรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้2. วูบจากภาวะทางสมอง

โรควูบที่เกิดจากภาวะทางสมองนั้น ผู้ป่วยมักมีอาการวูบร่วมกับอาการทางระบบประสาทอื่น ๆ เช่น อาการเกร็งชัก เหม่อ สับสน เมื่อตื่นจากอาการวูบ ผู้ป่วยไม่สามารถจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ได้ หรืออาจมีอาการอื่นร่วมด้วยเมื่อฟื้นขึ้นมา เช่น ปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด ชาหรืออ่อนแรงร่างกายครึ่งซีก เป็นต้น

ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของภาวะทางสมอง เช่นหลอดเลือดในสมองตีบได้ ด้วยสาเหตุนี้ผู้ป่วยหรือผู้ใกล้ชิดควรต้องสังเกตอาการวูบที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ

 



การป้องกันอาการ

- หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง การรู้ว่าตัวเองมีโรคประจำตัวหรือมีอาการผิดปกติอะไร จะช่วยให้เราพร้อมรับมือกับอาการผิดปกติได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับอายุ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเน้นที่ความสม่ำเสมอ ไม่ได้เน้นที่ความหนักหรือหักโหม
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน (ควรดื่มน้ำให้ได้ 8-13 แก้วต่อวัน)
- พักผ่อนให้เพียงพอ และนอนหลับให้เป็นเวลา อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
- หากมีอาการวูบตอนเปลี่ยนท่า ควรเปลี่ยนท่าช้า ๆ
- ถ้ากินยาเป็นประจำ แล้วทำให้หน้ามืดเป็นลมบ่อย ๆ ควรปรึกษาแพทย์
- ติดตามและศึกษาแนวทางการสังเกตอาการหน้ามืด วูบ หมดสติ เพื่อให้ทราบถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ตามอาการวูบที่ปรากฏ


ข้อปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการวูบ หรือพบเห็นคนมีอาการ

หากตัวเราเองมีอาการหน้ามืด วูบ หมดสติ
- เมื่อมีอาการโหวง ๆ วูบ ๆ คล้ายจะเป็นลม อย่ายืนอยู่เฉย ๆ เพราะอาจล้มได้รับบาดเจ็บได้ พยายามหาหลักพิงที่มั่นคงก่อน
- หากเดินไหว ให้พยายามหาสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ถ้าหายใจไม่สะดวกให้นั่งลงช้า ๆ พยายามสูดหายใจลึก ๆ
- หากอาการแย่มาก ให้นอนราบสักพักเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปยังสมองได้ดีขึ้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ให้รีบบอกคนใกล้ตัวแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

หากพบเห็นคนมีอาการหน้ามืด วูบ หมดสติ
ทำการตรวจสอบว่าหมดสติหรือไม่ โดยการตะโกนเรียกดัง ๆ และเขย่าที่ไหล่ ดูว่าคนไข้รู้เรื่องหรือได้ยินที่เราพูดหรือเปล่า หากผู้ป่วยรู้สึกตัว อย่าพึ่งให้ลุกนั่งทันที (เพราะความดันอาจจะตก) ควรให้พักต่ออีกราว ๆ 15 นาที ระหว่างนั้นให้รีบขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น

กรณีที่ผู้ป่วยมีสติ หรือยังรู้สึกตัวอยู่
- ถ้าอาการยังแย่อยู่ หรือมีอาการกึ่งหมดสติ อย่าพึ่งให้อาหารและน้ำ
- จัดให้คนไข้นอนหงายราบ ยกขาสูงขึ้น จัดสิ่งแวดล้อมให้อากาศถ่ายเทได้ดี (ห้ามมีคนมุง)
เช็ดใบหน้า คอ แขนและขา ด้วยผ้าชุบน้ำ
- ช่วยให้ผู้ป่วยเชิดคางให้ยกขึ้น จะทำให้ทางเดินหายใจเปิดโล่ง

กรณีผู้ป่วยหมดสติ ไม่รู้สึกตัว
ให้ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary resuscitation : CPR)



เครดิตแหล่งข้อมูล : praram9


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์