ออฟฟิศซินโดรม อันตรายหรือไม่ และรักษาออฟฟิศซินโดรมอย่างไร


ออฟฟิศซินโดรม อันตรายหรือไม่ และรักษาออฟฟิศซินโดรมอย่างไร

ในปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าคำว่า "ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)" เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในกลุ่มของคนที่ทำงานในออฟฟิศ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดออฟฟิศซินโดรมสูง "Office Syndrome" กลุ่มอาการที่พบบ่อย เกิดขึ้นกับกลุ่มคนวัยทำงานที่มีลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน หรืออยู่ในท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องนานๆทั้งในขณะนั่ง ยืน เดิน ทำงาน เช่น การนั่งหรือยืนหลังค่อม ไหล่ห่อ หรือยกไหล่ ก้มคอมากเกินไป ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยหรือชาตามบริเวณต่างๆ และอาจส่งผลให้เกิดอาการของโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อตามมาได้ เช่น

- กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (myofascial pain syndrome)
- เอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท (carpal tunnel syndrome)
- ความผิดปกติของความตึงตัวของเส้นประสาท (nerve tension)
- กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ (tennis elbow)
- นิ้วล็อก (trigger finger)
- เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ (tendinitis)
- ปวดหลังจากท่าทางผิดปกติ (postural back pain)
- หลังยึดติดในท่าแอ่น (back dysfunction)



ออฟฟิศซินโดรม อันตรายหรือไม่ และรักษาออฟฟิศซินโดรมอย่างไร

สาเหตุของ "ออฟฟิศซินโดรม"

เกิดจากการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำๆเป็นเวลานาน หรืออยู่ในท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องแล้วยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่นได้ เช่น


-สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่นโต๊ะหรือเก้าอี้ที่ใช้ทำงานสูงหรือต่ำจนเกินไป ไม่เหมาะกับโครงสร้างของร่างกาย เป็นต้น


-สภาพร่างกายอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วย เช่น ความเครียดจากการทำงาน การพักผ่อนที่ไม่เพียง การได้รับสารอาหารไม่ครบ หรือทานอาหารไม่ตรงเวลา เป็นต้น



แนวทางการรักษา "ออฟฟิศซินโดรม"

การรักษากลุ่มอาการ "ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)" นั้นมีด้วยกันหลายวิธี ทั้ง การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยยา การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน การทำกายภาพบำบัดเพื่อยืดกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายเพื่อรักษาปวดหลังเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย และปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง การรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาที่ดีและเหมาะสมคือการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยวิธีการที่ดีที่สุดที่จะป้องกันอาการจาก "Office Syndrome" ได้นั้นคือต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น ลดอาการบาดเจ็บจากการทำงานและเพิ่มคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างถาวร

การทำกายภาพบำบัด เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการรักษาออฟฟิศซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก โดยการรักษานอกเหนือจากการทำกายภาพบำบัดแล้ว ยังรวมถึงการประเมินโครงสร้างร่างกายและการปรับร่างกายให้เกิดความสมดุล การสร้างความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงานตามความเหมาะสมในแต่ละบุคคล การให้ความรู้และส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและถูกวิธีเพื่อให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น 

ป้องกันภาวะบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเนื้อเยื่อที่อาจเกิดตามมาจากการออกกำลังแบบผิดวิธี รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคอื่นๆที่อาจเกิดตามมาได้ในระยะยาว และเมื่อมีอาการเกิดขึ้นและไม่สามารถทุเลาได้ด้วยการดูแลตัวเอง เช่น การพักผ่อน นอนหลับการนวด หรือการยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลาย ก็ควรมาพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา และตรวจหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นว่าเป็นจากโรคทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก หรือมีภาวะซ่อนเร้นอื่นๆ เพื่อจะได้วิเคราะห์ต้นเหตุและให้การรักษาปวดหลังได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป




ออฟฟิศซินโดรม อันตรายหรือไม่ และรักษาออฟฟิศซินโดรมอย่างไร

เครดิตแหล่งข้อมูล : โรงพยาบาลสมิติเวช





เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์