ทำความเข้าใจ...ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ คืออะไรกัน?
หน้าแรกTeeNee รวมเรื่องสุขภาพดีๆ ข่าวสุขภาพและสุขภาพทั่วไป ทำความเข้าใจ...ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ คืออะไรกัน?
ต่อมไทรอยด์ นับว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อระบบต่างๆ ของร่างกายไม่น้อย เมื่อเกิดการทำงานที่ผิดปกติขึ้นกับต่อมไทรอยด์ จึงส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการทำงานของหัวใจ หรือระบบทางเดินอาหาร เราจึงควรรู้ทันสัญญาณเตือนของภาวะไทรอยด์ทำงานผิดปกติ และเริ่มต้นรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องจบลงด้วยการผ่าตัด!
มาทำความเข้าใจกันก่อน! "ไทรอยด์" มีความสำคัญยังไงนะ
ไทรอยด์ เป็นต่อมที่ทำหน้าที่ในการผลิตไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมอัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ควบคุมการใช้ฮอร์โมนและวิตามิน รวมถึงควบคุมการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายเพราะ "ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ" เกิดจากหลายสาเหตุ อาการ...จึงแตกต่างกัน!
ไทรอยด์ทำงานมากเกินไป
หรือที่เราเรียกกันว่า "ไทรอยด์เป็นพิษ" ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์มีการผลิตฮอร์โมน Thyroxine ออกมามากเกินไป การเกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คือ เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีโรคคอพอกตาโปน (Graves' disease) ซึ่งอยู่ในกลุ่มโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง, ในผู้ป่วยคอพอกเป็นพิษชนิดหลายปุ่ม (Plummer's disease), ในผู้ที่มีการอักเสบของต่อมไทรอยด์ หรือในผู้ที่มีการบริโภคอาหารเสริมไอโอดีนมากเกินไป
หรือที่เราเรียกกันว่า "ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ" หรือ "ไฮโปไทรอยด์" เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมาไม่เพียงพอ อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาโรคคอพอกเป็นพิษ หรือเป็นภาวะแทรกซ้อนของต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง หรือเป็นผลข้างเคียงจากการฉายรังสีรักษาโรคมะเร็ง
สำหรับสาเหตุของการเกิดก้อนที่ต่อมไทรอยด์อาจยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าส่วนใหญ่เกิดจากภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าโจมตีเนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์ และภาวะขาดไอโอดีน ก็สามารถทำให้เกิดก้อนที่ต่อมไทรอยด์ได้ โดยอาจเป็นลักษณะก้อนเดี่ยวๆ หรือก้อนเล็กๆ หลายก้อน
การตรวจพบก้อนเนื้อไม่ว่าบริเวณไหนย่อมสร้างความกังวลเกี่ยวกับ "โรคมะเร็ง" ได้เสมอ ซึ่งการตรวจพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์นั้น ส่วนใหญ่แล้วมักเป็นเพียงก้อนเนื้อธรรมดา แต่ก็พบว่าก้อนเนื้อในผู้ป่วยบางรายอาจกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งการพิจารณานั้นต้องอาศัยการตรวจ 3 ขั้นตอน คือ การซักประวัติและตรวจร่างกาย, การตรวจอัลตราซาวด์ และตรวจชิ้นเนื้อเพื่อดูว่าก้อนที่พบเป็นแค่เนื้องอกธรรมดาหรือเนื้อร้ายกันแน่
ตรวจพบไทรอยด์ผิดปกติ...ต้อง "ผ่าตัด" เท่านั้น หรือเปล่า?
ในการรักษาภาวะไทรอยด์ผิดปกตินั้น มีทั้งการใช้ยา การกลืนแร่ และการผ่าตัด จึงไม่ใช่ผู้ป่วยทุกรายที่ต้องผ่าตัดรักษา! เช่น ในผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ สามารถปรับการทำงานของต่อมได้โดยการทานยา แต่หากทานยาไปแล้วระดับฮอร์โมนยังสูงอยู่ หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากไทรอยด์เป็นพิษเกิดขึ้น หรือมีการแพ้ยา แพทย์ก็จะทำการปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาต่อไป
"ผ่าตัดไทรอยด์ทางช่องปาก" อีกทางเลือก...ช่วยลดกังวลเรื่องแผลผ่าตัด!
ปัจจุบัน... การแพทย์ได้มีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก ซึ่งเป็นเทคนิคการผ่าตัดที่ทำให้ "ไร้รอยแผลเป็น" ช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องกังวลเรื่องรอยแผลเป็นบริเวณคอเหมือนการผ่าตัดแบบเปิด รวมถึงเสียเลือดน้อยกว่า เจ็บปวดน้อยกว่า เพราะมีระยะทางระหว่างช่องปากและไทรอยด์สั้นที่สุดเมื่อเทียบกับการผ่าตัดส่องกล้องอวัยวะอื่นๆ และยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้
แม้ว่าการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปากจะมีข้อดีอยู่ไม่น้อย แต่การผ่าตัดก็ยังมีข้อจำกัด คือเหมาะกับการผ่าตัดรักษาก้อนที่ยังมีขนาดเล็กอยู่ เพราะฉะนั้น หากมาพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ การรักษาก็ทำได้ง่ายขึ้น ผู้ป่วยก็หมดห่วงเรื่องรอยแผลเป็นหรือความเจ็บปวดหลังผ่าตัด
เครดิตแหล่งข้อมูล : phyathai.com
มาทำความเข้าใจกันก่อน! "ไทรอยด์" มีความสำคัญยังไงนะ
ไทรอยด์ เป็นต่อมที่ทำหน้าที่ในการผลิตไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมอัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ควบคุมการใช้ฮอร์โมนและวิตามิน รวมถึงควบคุมการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายเพราะ "ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ" เกิดจากหลายสาเหตุ อาการ...จึงแตกต่างกัน!
ไทรอยด์ทำงานมากเกินไป
หรือที่เราเรียกกันว่า "ไทรอยด์เป็นพิษ" ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์มีการผลิตฮอร์โมน Thyroxine ออกมามากเกินไป การเกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คือ เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีโรคคอพอกตาโปน (Graves' disease) ซึ่งอยู่ในกลุ่มโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง, ในผู้ป่วยคอพอกเป็นพิษชนิดหลายปุ่ม (Plummer's disease), ในผู้ที่มีการอักเสบของต่อมไทรอยด์ หรือในผู้ที่มีการบริโภคอาหารเสริมไอโอดีนมากเกินไป
อาการเตือนของ "ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ" คือ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เหงื่อออกง่าย ขี้ร้อน อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ และน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วทั้งที่ยังทานในปริมาณปกติ หรือในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปหรือที่เราเรียกกันว่า "ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ" หรือ "ไฮโปไทรอยด์" เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมาไม่เพียงพอ อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาโรคคอพอกเป็นพิษ หรือเป็นภาวะแทรกซ้อนของต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง หรือเป็นผลข้างเคียงจากการฉายรังสีรักษาโรคมะเร็ง
อาการเตือนของ "ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ" ส่วนใหญ่มักจะตรงข้ามกับภาวะไทรอยด์เป็นพิษ คือ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ท้องผูก รู้สึกหนาวง่าย หรือมีอาการอ่อนเพลีย เฉื่อยชา ขาดสมาธิ หรืออาจมีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นได้
มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์หรือคอพอกสำหรับสาเหตุของการเกิดก้อนที่ต่อมไทรอยด์อาจยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าส่วนใหญ่เกิดจากภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าโจมตีเนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์ และภาวะขาดไอโอดีน ก็สามารถทำให้เกิดก้อนที่ต่อมไทรอยด์ได้ โดยอาจเป็นลักษณะก้อนเดี่ยวๆ หรือก้อนเล็กๆ หลายก้อน
อาการเตือนของการมีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ คือ มีอาการไอแห้งและมักแย่ลงเมื่อเอนตัวลงนอน, กลืนอาหารลำบาก โดยเฉพาะอาหารแห้งอย่าง ขนมปัง และข้าว หรือแรงดันอาจส่งผลต่อเส้นประสาทที่ควบคุมกล่องเสียง ทำให้มีอาการเสียงแหบ
คำถามฮิต! ก้อนที่ต่อมไทรอยด์...จะกลายเป็น "มะเร็งต่อมไทรอยด์" ได้หรือไม่การตรวจพบก้อนเนื้อไม่ว่าบริเวณไหนย่อมสร้างความกังวลเกี่ยวกับ "โรคมะเร็ง" ได้เสมอ ซึ่งการตรวจพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์นั้น ส่วนใหญ่แล้วมักเป็นเพียงก้อนเนื้อธรรมดา แต่ก็พบว่าก้อนเนื้อในผู้ป่วยบางรายอาจกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งการพิจารณานั้นต้องอาศัยการตรวจ 3 ขั้นตอน คือ การซักประวัติและตรวจร่างกาย, การตรวจอัลตราซาวด์ และตรวจชิ้นเนื้อเพื่อดูว่าก้อนที่พบเป็นแค่เนื้องอกธรรมดาหรือเนื้อร้ายกันแน่
ตรวจพบไทรอยด์ผิดปกติ...ต้อง "ผ่าตัด" เท่านั้น หรือเปล่า?
ในการรักษาภาวะไทรอยด์ผิดปกตินั้น มีทั้งการใช้ยา การกลืนแร่ และการผ่าตัด จึงไม่ใช่ผู้ป่วยทุกรายที่ต้องผ่าตัดรักษา! เช่น ในผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ สามารถปรับการทำงานของต่อมได้โดยการทานยา แต่หากทานยาไปแล้วระดับฮอร์โมนยังสูงอยู่ หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากไทรอยด์เป็นพิษเกิดขึ้น หรือมีการแพ้ยา แพทย์ก็จะทำการปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาต่อไป
"ผ่าตัดไทรอยด์ทางช่องปาก" อีกทางเลือก...ช่วยลดกังวลเรื่องแผลผ่าตัด!
ปัจจุบัน... การแพทย์ได้มีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก ซึ่งเป็นเทคนิคการผ่าตัดที่ทำให้ "ไร้รอยแผลเป็น" ช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องกังวลเรื่องรอยแผลเป็นบริเวณคอเหมือนการผ่าตัดแบบเปิด รวมถึงเสียเลือดน้อยกว่า เจ็บปวดน้อยกว่า เพราะมีระยะทางระหว่างช่องปากและไทรอยด์สั้นที่สุดเมื่อเทียบกับการผ่าตัดส่องกล้องอวัยวะอื่นๆ และยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้
แม้ว่าการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปากจะมีข้อดีอยู่ไม่น้อย แต่การผ่าตัดก็ยังมีข้อจำกัด คือเหมาะกับการผ่าตัดรักษาก้อนที่ยังมีขนาดเล็กอยู่ เพราะฉะนั้น หากมาพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ การรักษาก็ทำได้ง่ายขึ้น ผู้ป่วยก็หมดห่วงเรื่องรอยแผลเป็นหรือความเจ็บปวดหลังผ่าตัด
เครดิตแหล่งข้อมูล : phyathai.com
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!