1.ควรทานอาหารให้เรียบร้อยก่อนการฟอกเลือดถ้าหากจำเป็นที่จะต้องทานอาหารขณะฟอกเลือดจริงๆแล้วควรเป็นอาหารที่ทานง่ายไม่หกเลิกเทอะและใส่ภาชนะได้สะดวกไม่ควรกินอาหารปริมาณมากหรืออาหารมื้อหนักหนักเพราะว่าอาหารที่ย่อยยากจะทำให้เลือดไปเลี้ยงกระเพาะมากซึ่งขณะฟอกอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำได้ซึ่งค่อนข้างมีความอันตราย หรืออาจทำให้ไม่สามารถฟอกเลือดได้จนครบเวลา
2.ผู้ป่วยที่มีปัญหาความดันโลหิตต่ำขณะฟอกเลือดสิ่งที่สำคัญคือจะต้องรีบไปพบ อายุรแพทย์โรคไตที่ดูแลเพื่อที่จะได้ปรับยาลดความดันบางตัวก่อนการฟอกเลือดในแต่ละวันซึ่งในแต่ละคนก็จะแตกต่างกันสิ่งที่สำคัญคือห้ามลดยาลดความดันด้วยตนเองเพราะอาจจะมีปัญหาตามมาได้
3.ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติหรือไม่สบายต้องแจ้งพยาบาลก่อนการฟอกเลือดทุกครั้งอาการที่ต้องแจ้งมีดังนี้คือ
มีไข้เจ็บ
แน่นหน้าอก
นอนราบไม่ได้
ท้องผูก ท้องเสีย
นอนไม่หลับ
คลื่นไส้
อาเจียน
สับสน
มีภาวะเลือดออกผิดปกติ
ประจำเดือนมากผิดปกติ
ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
เพื่อที่จะได้หาสาเหตุและแก้ไขได้ทันท่วงที
4.ในกรณีผู้ป่วยมีนัดทำผ่าตัดต่างๆเช่น การผ่าตัดทำเส้นฟอกไต ถอนฟัน ส่องกล้อง ทั้งก่อนและหลังฟอกเลือดมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแจ้งให้พยาบาลผู้ดูแลทราบเพราะจะได้งดการให้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดขณะฟอกไต
5.ผู้ป่วยที่ใช้เส้นฟอกเลือดที่แขนควรทำความสะอาดเส้นเลือดที่แขนโดยการฟอกสบู่ให้สะอาดและซับให้แห้งเบาๆก่อนการฟอกเลือดทุกครั้งและในวันที่มาฟอกเลือดไม่ควรทาโลชั่นหรือแป้งที่บริเวณเส้นฟอกเลือด เนื่องจากจะเพิ่มโอกาสการติดเชื้อได้
6.ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาชาชนิดทาควรทาก่อนการลงเข็มประมาณ 30 นาทีเพื่อให้ออกฤทธิ์ได้ดีและในกรณีที่มีผื่นคันควรงดการใช้ยาทันทีและแจ้งพยาบาลผู้ดูแลให้ทราบ
7.ชั่งน้ำหนักตัวทุกครั้งก่อนฟอกเลือดโดยนำของใช้ประจำตัวและกระเป๋า ออกจากร่างกาย รวมทั้งไม่ใส่รองเท้าเนื่องจากจะได้วัดและประเมินน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ