ไตวายทำไงดี ที่นี่มีคำตอบ by หมอท๊อป


เมื่อไหร่ที่เรียกว่าไตวายจนต้องฟอกไต?

เมื่อไตทำงานลดลงจนเข้าสู่ไตเรื้อรังระยะที่ 5 หรือที่เรียกว่า ไตวายระยะสุดท้าย ร่างกายจะเกิดคั่งค้างของของเสีย น้ำ เกลือแร่ และกรดด่าง การเสียสมดุลของฮอร์โมนของร่างกาย ทำให้มีอาการ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ซีด คัน บวมตามร่างกาย อึดอัด หอบ เหนื่อย นอนราบไม่ได้ ฯลฯ

ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ เรียกว่าการบำบัดทดแทนไตวิธีใดวิธีหนึ่งเช่น การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางช่องท้อง หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไต

 มีคนเป็นไตวายจนต้องฟอกไตหรือล้างไตมากแค่ไหน?

ในประเทศไทยมีผู้ป่วยต้องฟอกไตทางเส้นเลือดมากกว่า 30,000 คน และล้างไตทางหน้าท้องมากกว่า 30,000 คนเช่นกัน

ซึ่งผู้ป่วยที่ต้องทำการฟอกเลือด หรือ ทำการล้างไตเพิ่มขึ้นทุกๆปี ปีนึงมากกว่า 6,000 คนสำหรับการฟอกเลือดทางเส้นเลือด และ 4,000 คนสำหรับการล้างไตทางช่องท้อง ส่วนเปลี่ยนไตนั้นทำได้เพียงปีละ 300-400 คนเท่านั้นแล้วถ้าไตวายจนต้องฟอกไตต้องทำไง ใครจะบอกเราได้?

คนที่จะบอกเราได้ว่าไตวายหลักๆแล้วจะเป็นคุณหมอ อายุรกรรมทั่วไป หรือ อายุรกรรมโรคไตครับ ซึ่งตามปกติแล้วก็ไม่ใช่การบอกแบบทันทีทันใด

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะได้รับข้อมูลเบื้องต้นว่าไตเสื่อมระดับไหนแล้ว และ พอไตเสื่อมจนเข้าระดับ 4-5 คุณหมออายุรกรรมก็จะให้คำแนะนำเรื่องการบำบัดทดแทนไต เมื่อเราไตวายนั่นเอง (อันนี้คือไตวายเรื้อรังนะครับ อย่าไปสับสนกับไตวายเฉียบพลันมันคนละเรื่องกันเลยทีเดียว)

 ทำไมต้องเตรียมตัว?

คงมีคนสงสัยว่าไตยังไม่วายจนระยะสุดท้าย อาการก็ปกติดีทำไมจะต้องไปเตรียมอะไรให้วุ่นวาย ก็ขออธิบายตรงนี้เลยครับว่าถ้าท่านไม่เตรียมตัวไว้ก่อนพอท่านต้องฟอกไตเพราะมีอาการน้ำท่วมปอด หรือ หอบเหนื่อยแล้วละก็ ท่านจะมีชีวิตที่วุ่นวายมากกว่าผู้ป่วยที่ได้เตรียมตัวมาอย่างดีหลาย 10 เท่า บางคนบอกว่าเตรียมแล้วไม่ได้ใช้จะเตรียมทำไม ผมอยากแนะนำว่า "เตรียมแล้วไม่ต้องใช้ถือเป็นกำไรชีวิตนะครับ"

 การบำบัดทดแทนไตมี 3 วิธี คือ

1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)

2. การล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis)

3. การผ่าตัดปลูกถ่ายไต (Kidney transplantation)วิธีไหนดีที่สุด?

วิธีที่ดีที่สุด
ก็คือการเปลี่ยนไตครับ แต่โอกาสที่จะได้เปลี่ยนนี่น้อยมากๆ ระดับที่เทียบได้กับการถูกหวยรางวัลที่ 1 เลยทีเดียว ดังนั้นผู้ป่วยส่วนมากก็จะต้องทำการฟอกเลือด หรือ ทำ การล้างไตทางช่องท้องเป็นส่วนใหญ่

 ฟอกเลือด กับ ล้างทางช่องท้องอันไหนดีกว่ากัน?

อันนี้คำถามโลกแตกครับ อะไรดีกว่ากันคงตอบยากครับ แต่ทั้งสองอย่างทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอดได้อีกหลายปีแน่ๆ 20ปี ก็ยังได้สบายๆถ้าดูแลตัวเองดีๆ

บางคนบอกฟอกลือดติดเชื้อน้อยกว่า บางคนก็บอกไม่จริง อันนี้คงตอบยากครับ เอาว่าถ้าผู้ป่วยดูแลตัวเองได้ดี แบบไหนก็ดีทั้งนั้น ถ้าให้แนะนำก้เลือกตามสิทธิ์ที่มีครับประหยัดไปเยอะครับปีนึงประหยัดหลายแสนครับ

แต่ถ้ามีเงินเหลือเฟืออันนี้ก็เลือกตามแต่สะดวกและชอบได้เลยครับ ชอบทำเองไม่ชอบไปโรงพยาบาลบ่อยๆ ก็ล้างไตผ่านทางหน้าท้อง ถ้าทำเองไม่สะดวกกลัวติดเชื้อต่างๆนาๆก็เลือกฟอกทางเ้นเลือดครับ

คราวนี้มาดูกันครับว่า 3 วิธีนั้น แตกต่างกันอย่างไร?

 


ไตวายทำไงดี ที่นี่มีคำตอบ by หมอท๊อป

1.การปลูกถ่ายไต หรือ การเปลี่ยนไต คือ การนำไตของผู้อื่นที่เข้าได้กับผู้ป่วยมาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วย มิใช่การเปลี่ยนเอาไตผู้ป่วยออกแล้วเอาไตผู้อื่นใส่เข้าไปแทนที่ในตำ แหน่งไตเดิม

การผ่าตัดทำโดยวางไตใหม่ไว้ในอุ้งเชิงกรานข้างใดข้างหนึ่งของผู้ป่วย แล้วต่อหลอดเลือดของไตใหม่เข้ากับหลอดเลือดของผู้ป่วย และต่อท่อไตใหม่เข้าในกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วย

การปลูกถ่ายไตนี้ใช้ไตเพียงข้างเดียวก็พอ ถ้าร่างกายของผู้ป่วยรับไตใหม่ได้ดีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนไตที่ได้รับใหม่จะทำงานได้ดี

แต่ผู้ป่วยต้องได้รับยากดภูมิต้านทานตลอดชีวิต และจะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ไปตลอดชีวิตเช่นกัน

หากขาดยากดภูมิต้านทาน ร่างกายจะต่อต้านไตที่ได้รับใหม่ ทำให้ไตใหม่นั้นเสีย และยังอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้


ไตวายทำไงดี ที่นี่มีคำตอบ by หมอท๊อป

2.การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม(การฟอกเลือด) เป็นการนำเลือดจากหลอดเลือด (ต้องมีการเตรียมหลอดเลือดไว้ล่วงหน้า) ออกจากร่างกาย ผ่านเข้ามาในตัวกรองของเสียที่เครื่องไตเทียม เพื่อดึงน้ำและของเสียออกจากร่างกาย เลือดที่ถูกกรองแล้วจะไหลกลับเข้าร่างกายทางหลอดเลือดอีกหลอดหนึ่ง

"เปรียบเหมือนเอาเลือดเสียมาเข้าเครื่ิงซักทำความสะอาดแล้วใส่กลับไปในร่างกายผู้ป่วย"

วิธีการนำเลือดเข้า - ออกทางหลอดเลือดนี้คล้ายกับการให้เลือดหรือน้ำเกลือทางหลอดเลือด (มิใช่การผ่าตัดเอาเลือดออกมาล้าง) โดยทั่วไปทำครั้งละ 4-5 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

ผู้ป่วยต้องมาโรงพยาบาลหรือศูนย์ไตเทียมสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เนื่องจากการฟอกเลือดต้องทำที่ศูนย์ไตเทียมหรือโรงพยาบาล โดยพยาบาลผู้เชี่ยวชาญไตเทียม

ในปัจจุบันมีการฟอกเลือดที่บ้าน (Home hemodialysis) แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เนื่องจากเป็นภาระและใช้การลงทุนที่ค่อนข้างสูง


ไตวายทำไงดี ที่นี่มีคำตอบ by หมอท๊อป

3.การล้างไตทางช่องท้อง วิธีนี้อาศัยเยื่อบุช่องท้องช่วยกรองของเสียออกจากร่างกาย โดยการใส่น้ำยาเข้าในช่องท้องทางสายพลาสติกที่แพทย์ได้ทำผ่าตัดฝังไว้ในช่องท้อง ทิ้งน้ำ ยาไว้ในช่องท้องประมาณ 4-6 ชั่วโมง แล้วปล่อยน้ำยาออกจากช่องท้องแล้วทิ้งไป

น้ำและของเสียในเลือดที่ซึมออกมาอยู่ในน้ำยาจะถูกกำจัดจากร่างกาย ผู้ป่วยและญาติสามารถเปลี่ยนน้ำ ยาได้เองที่บ้าน

โดยทั่วไปจะทำการเปลี่ยนน้ำยาวันละ 4 ครั้ง ต้องทำต่อเนื่องทุกวัน ผู้ป่วยและญาติสามารถปรับเปลี่ยนการเปลี่ยนถุงน้ำยาให้เข้ากับกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยได้ โดยขณะที่มีน้ำยาในช่องท้อง ผู้ป่วยสามารถทำงานและมีกิจกรรมได้ตามปกติ

"วิธีไหนก็ดีทั้งนั้นขึ้นอยู่กับคนไข้ของแต่ละคน และ ที่สำคัญอย่าลืมที่จะดูเรื่องค่าใช้จ่ายระยะยาว เพราะถ้าเงินหมดก็ลำบากมากเช่นกัน"


ไตวายทำไงดี ที่นี่มีคำตอบ by หมอท๊อป

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี Workpoint


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์