ออฟฟิศซินโดรม โรคฮิตที่คนทำงานออฟฟิศต้องเจอ
เดี๋ยวปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดต้นคอ อาการแบบนี้ใช่ออฟฟิศซินโดรมรึเปล่านะ? หากคุณเป็นคนหนึ่งที่นั่งทำงานเป็นเวลานานๆ แล้วมักมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบ่อยๆ พึงระวังไว้เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคออฟฟิศซินโดรม หากปล่อยไว้อาจทำให้อาการรุนแรง ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตได้!
รู้ทันโรคฮิต พิชิตออฟฟิตซินโดรม
Cr::::www.phyathai.com
รู้ทันโรคฮิต พิชิตออฟฟิตซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คืออาการที่เกิดจากการทำงานในท่าเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการเสียสมดุลย์ของกล้ามเนื้อ กระดูกข้อต่อ เอ็น และเส้นประสาท อีกทั้งยังส่งผลเสียไปยังระบบร่างกายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบการไหลเวียนเลือดน้ำเหลืองติดขัด รวมไปถึงการย่อยอาหาร สายตาการมองเห็น ซึ่งพบในกลุ่มทำงานชาวออฟฟิศ ที่อยู่ท่าที่ไม่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน
อาการของออฟฟิศซินโดรมโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดแขน ปวดข้อมือ ปวดอุ้งมือ ปวดนิ้วมือ นิ้วล็อก หรือปวดกระบอกตา นอกจากนี้อาการของออฟฟิศซินโดรมยังส่งผลการมองเห็น ความดันสูง อาหารไม่ย่อยท้องอืด ทำให้นอนหลับยาก หรือหลับๆ ตื่นๆ อีกด้วย
อาการแบบนี้คือระยะไหน?- ระยะเริ่มต้น มักจะเริ่มจากมีอาการปวดเมื่อยหรือตึงล้าขณะหรือหลังทำงาน แต่เมื่อได้ยืดเปลี่ยนอริยาบทหรือได้พักก็ดีขึ้น แต่จะเริ่มเป็นๆ หายๆ ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธีจะทำให้เกิดการเรื้อรัง อาการปวดจะหายยาก
- ระยะเรื้อรัง เมื่อเป็นไประยะหนึ่งอาการไม่ดีขึ้น เป็นบ่อย ปรับปรับเปลี่ยนอิริยาบถแล้วก็ยังไม่ดี อาการปวดดังกล่าวรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือส่งผลให้ความสามารถในการทำงานลดลง นั่นอาจเป็นสัญญาณของขั้นเรื้อรัง ต้องรีบรักษาโดยด่วน
- ระยะรุนแรง มักมีอาการปวดแทบตลอดเวลา มีอาการชา อ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อเกร็งตัว ตาพร่ามัว เวียนศรีษะ ไมเกรน บางครั้งคลื่นไส้ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จนอาจทำให้ไม่สามารถทำงานปกติได้
- ในระยะเริ่มแรกสามารถรักษาให้หายได้ด้วยตนเอง โดยแก้ที่ต้นเหตุตั้งแต่การปรับวิถีชีวิตท่าทางการทำงาน จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อข้อต่อ รวมถึงลดอาการปวดอักเสบด้วยการหยืดเหยียดกล้ามเนื้อข้อต่อให้เลือดน้ำเหลืองไหลเวียนดีขึ้น การประคบร้อนเย็น นอนแช่น้ำร้อนผ่อนคลาย การนวดคลายกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายแบบเพิ่มความหยืดหยุ่นและความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อข้อต่อ ฯลฯ
- สำหรับผู้ที่มีอาการเรื้อรัง มีอาการปวดทรมารหายเองได้ช้า ปรับเปลี่ยนอิริยาบถแล้วไม่ดีขึ้น และอาจเป็นซ้ำได้บ่อย หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจจะลุกลามทำให้ เกิดพังผืด ความหยืดหยุ่นลดลง โครงสร้างร่างกายเสียสมดุลย์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด ด้วยการตรวจรังสีเอกซเรย์ ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การทำกายภาพบำบัดลดปวดเพิ่มความหยืดหยุ่น ให้ยาทาหรือยากินบรรเทาอาการปวดหรืออักเสบ การใส่อุปกรณ์เพื่อกระจายการรับน้ำหนักของข้อและกล้ามเนื้อ การฝังเข็มของการแพทย์แผนจีน ฯลฯ
- สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา หากรุนแรงจนทำให้เกิดอาการชา แขนขาอ่อนแรง แพทย์จะพิจารณาให้ยาบรรเทาอาการทั้งในรูปแบบการฉีดยา กินยา หรือใช้อุปกรณ์เพื่อลดการใช้งานของอวัยวะที่เกิดการอักเสบ หรืออาจต้องผ่าตัดเพื่อแก้ไขที่สาเหตุของโรค
Cr::::www.phyathai.com
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!