ไข้จับสั่น หรือไข้มาลาเรีย ในบุพเพสันนิวาส แท้จริงคืออะไร? อีกหนึ่งโรคที่เกิดมาแล้วหลายร้อยปี

ไข้มาลาเรีย (Malaria) หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า ไข้ป่า ไข้จับสั่น ไข้ป้าง ไข้ร้อนเย็นหรือไข้ดอกสัก โดยโรคนี้เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ที่มีชื่อว่า พลาสโมเดียม (Plasmodium) แพร่เข้าสู่ร่างกายของคนที่โดนยุงก้นปล่องเพศเมียกัดหรือดูดเลือด ซึ่งผู้ที่โดนยุงกัดนั้นจะมีอาการไข้ขึ้นสูงและหนาวสั่น

ไข้จับสั่น หรือไข้มาลาเรีย ในบุพเพสันนิวาส แท้จริงคืออะไร? อีกหนึ่งโรคที่เกิดมาแล้วหลายร้อยปี

สาเหตุของโรคไข้มาลาเรีย หรือไข้จับสั่น

ซึ่งถ้าใครที่ได้ติดตามละครเรื่องบุพเพสันนิวาส จะเห็นได้เลยจากฉากที่มีบ่าวในบ้านของคุณพี่หมื่นสุนทรเทวาหรือขุนศรีวิสารวาจาได้มีไข้ขึ้นสูง มีอาการจับสั่น อาเจียน และเสียชีวิตในเวลาต่อมา โดยในสมัยกรุงศรีอยุธยายังคงเรียกว่า "ไข้จับสั่น" แต่ก็ไม่ผู้ใดที่จะสามารถหาวิธีการป้องกันโรคนี้ได้


จนแม่หญิงการะเกดมาเห็นจึงได้บอกให้ทุกคนถึงสาเหตุของการเกิดโรคนี้ขึ้นมา โดยที่โรคไข้จับสั่น หรือในปัจจุบันจะมีชื่อว่า ไข้มาลาเรีย เกิดจากที่มีน้ำขังอยู่ในโอ่ง ขัน หรือกะลามะพร้าว ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว และยังรวมถึงโอ่งน้ำที่มีไว้ใช้งานด้วยก็ต้องทำการปิดฝาโอ่ง เมื่อยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ยุงก้นปล่องไปวางไข่อีกด้วย

ไข้จับสั่น หรือไข้มาลาเรีย ในบุพเพสันนิวาส แท้จริงคืออะไร? อีกหนึ่งโรคที่เกิดมาแล้วหลายร้อยปี

และสำหรับวิธีการป้องกันง่ายๆ ที่แม่หญิงการะเกดขึ้นมาได้นั่นก็คือ การทำให้ไม่มีน้ำขังในโอ่ง ขัน หรือกะลามะพร้าว และยังรวมถึงกางมุ้งเวลานอนด้วย ก็ถือได้ว่าเป็นวิธีการป้องกันขั้นพื้นฐานที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ และในยุคปัจจุบันจะมีวิธีการป้องกัน รักษาอาการไข้มาลาเรียอย่างไรกันได้บ้างนั้น เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ

มารู้จักอาการของไข้มาลาเรียกันก่อนเลย

อาการของไข้มาลาเรียจะแตกต่างกันไป ระยะเวลาที่เกิดจะขึ้นอยู่กับชนิดของโปรโตซัวที่เป็นสาเหตุ โดยอาการของไข้มาลาเรียที่พบบ่อยๆ มีดังนี้


1.มีไข้สูง หนาวสั่น
2.เหงื่อออกมาก
3.ปวดศีรษะ
4.คลื่นไส้ อาเจียน
5.ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
6.ท้องเสีย
7.ภาวะโลหิตจาง
8.อุจจาระเป็นเลือด
9.อาการหมดสติไม่รับรู้ต่อการกระตุ้นต่างๆ หรืออาการโคม่า



ไข้จับสั่น หรือไข้มาลาเรีย ในบุพเพสันนิวาส แท้จริงคืออะไร? อีกหนึ่งโรคที่เกิดมาแล้วหลายร้อยปี

อย่างไรก็ตาม อาการของไข้มาลาเรียจะไม่รุนแรงและบางอาการระบุโรคได้ยาก ดังนั้นผู้ป่วยคนไหนที่มีไข้ขึ้นสูง ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว สำหรับเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม (Plasmodium) มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่ชนิดที่ทำให้เกิดโรคไข้มาลาเรียในคนนั้นมีอยู่ 5 ชนิดด้วยกัน ได้แก่

1.พลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม (Plasmodium Falciparum)
2.พลาสโมเดียม ไวแว็กซ์ (P.Vivax)
3.พลาสโมเดียม มาลาริอี่ (P.Malariae)
4.พลาสโมเดียม โอวาเล่ (P.Ovale)
5.พลาสโมเดียม โนว์ไซ (P. Knowlesi)



ไข้จับสั่น หรือไข้มาลาเรีย ในบุพเพสันนิวาส แท้จริงคืออะไร? อีกหนึ่งโรคที่เกิดมาแล้วหลายร้อยปี

ส่วนเชื้อที่บ่อยในประเทศไทย คือ พลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม (Plasmodium Falciparum)

ภาวะแทรกซ้อนของไข้มาลาเรียที่เราควรรู้

1.ภาวะโลหิตจาง (Anaemia) เป็นภาวะที่เม็ดเลือดแดงไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อและอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย
2.มาลาเรียขึ้นสมอง (Cerebral Malaria) เชื้อมาลาเรียส่งผลกระทบต่อสมอง ทำให้หลอดเลือดในสมองบวม ซึ่งสร้างความเสียหายให้สมองได้อย่างถาวร และอาจทำให้เกิดอาการชักหรือโคม่าได้
3.ปอดบวมน้ำ (Pulmonary Oedema) เกิดการสะสมของเหลวในปอดทำให้มีปัญหาในการหายใจ
4.อวัยวะภายในล้มเหลว เช่น ตับ ไต หรือม้าม ฯลฯ
5.ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycaemia)
6.ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome: ARDS)
7.อาการช็อกเนื่องจากความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว
8.ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์ ได้แก่ คลอดก่อนกำหนด, ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ, แท้งบุตร ฯลฯ



วิธีการป้องกันและรักษาไข้มาลาเรีย

สำหรับการป้องกันตัวเองไม่ให้โดนยุงกัดถือได้ว่าเป็นวิธีที่เราสามารถทำเองได้ง่ายๆ และยังเป็นการช่วยลกการแพร่เชื้อไข้มาลาเรียจากผู้ที่ป่วยไปยังผู้อื่นได้อีกด้วย ซึ่งมีวิธีดังต่อไปนี้

1.การนอนในมุ้ง
2.การสวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายให้มิดชิด
3.การใช้ยาทากันยุงกัด
4.การใช้ยาจุดกันยุง
5.การใช้ตาข่ายกันยุงกัด



ที่มา : campus-star.com


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์