มะเร็งตับ ภัยเงียบใกล้ตัวคุณ
มะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และอันดับ 3-5 ในเพศหญิง เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้มากที่สุดในโรคหนึ่ง เนื่องจากมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่ค่อยมีอาการแสดง กว่าจะได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกก็มักอยู่ในระยะท้ายของโรคแล้ว ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งตับเมื่อรู้ตัวก็มักจะเสียชีวิตใน 3-6 เดือน มะเร็งตับเกิดขึ้นได้โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ 1. เกิดขึ้นที่ตับโดยตรง และ 2. เซลล์มะเร็งลุกลามมายังตับ สาเหตุของมะเร็งที่เกิดขึ้นกับตับโดยตรง มักพบจากผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ตับอักเสบจากไขมันพอกตับ และดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลกในปี 2563 มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในคนไทย เป็นจำนวนมากถึง 27,394 ราย หรือคิดเป็น 14.4% ของโรคมะเร็งทั้งหมด ในจำนวนนี้ผู้ป่วย 26,704 รายเสียชีวิต ซึ่งคิดเป็น 21.4% ของผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทั้งหมด มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในชายไทย และพบมากเป็นอันดับ 4 ในผู้หญิงไทย การพยากรณ์โรคมะเร็งตับขึ้นอยู่กับระยะที่ตรวจพบ เมื่อเริ่มวินิจฉัย โดยทั่วไปแล้วอัตราการอยู่รอดที่ 5 ปีคือ 20% โดยผู้ที่มีระยะของโรคที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งออกไปนอกตับแล้วจะมีโอกาสอยู่รอดที่ 3 เปอร์เซ็นต์ที่ 5 ปี ในขณะผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยในระยะที่โรคมีขนาดไม่ใหญ่ จะมีอัตราการอยู่รอดที่ 34% ที่ 5 ปี
สาเหตุ
ไวรัสตับอักเสบบี และซีสาเหตุสำคัญมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซีซึ่งจะกลายเป็นตับได้ จากสถิติพบว่า 80 % ของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับเป็นพาหะไวรัสอักเสบบี และผู้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี มีความเสี่ยงตับสูงกว่าคนปกติ 223 เท่า
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งตับสูงกว่าผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
อะฟลาท็อกซิน สารพิษชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากเชื้อรามักพบเจือปนอยู่ในอาหาร โดยเฉพาะ ถั่วลิสง ข้าวโพด พริกแห้ง กระเทียม เต้าหู้ยี้
การตรวจหามะเร็งตับ เนื่องจากมะเร็งตับเปรียบเสมือนมฤตยูเงียบ การเฝ้าระวังจึงเป็นวีธีที่ดีที่สุด โดยการตรวจร่างกาย การตรวจเลือดดูการทำงานของตับ ไวรัสตับอักเสบและสารบ่งชี้มะเร็งตับ (Alpha-fetoprotein) การตรวจอัลตร้าซาวด์การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT SCAN) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา การตรวจไฟโบรสแกน (FIBRO SCAN) เจาะเลือด การตรวจตับด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (US) การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT)
การรักษา
การผ่าตัด
การรักษาก้อนเนื้อของตับ (TOCE)
การเปลี่ยนตับ
การฉายรังสี
เครดิตแหล่งข้อมูล :pitsanuvejphichit