โรคแห่งการนอนที่ต้องระวัง
เช็คสุขภาพการนอนดู หากเข้าข่ายอาการเหล่านี้ ควรพบแพทย์
1.โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง
หากนำวิธีช่วยให้นอนหลับไปปฏิบัติแล้วไม่ได้ผลและยังคงมีอาการนอนไม่หลับ 1 เดือน ขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์
2.โรคลมหลับ
คือ มีอาการง่วงนอนตลอดเวลา ที่ไม่เกี่ยวกับการอดนอนหรือทานมากเกินแล้วง่วงนอน โดยผู้ที่เป็นจะสามารถง่วงนอนโดยไม่เลือกสถานที่ แม้แต่ขณะขับรถ เข้าครัว ซึ่งอันตราย หรือมีอาการนอนหลับมากกว่าปกติ เช่น เกินกว่า 10 ชั่วโมงหรือนอนได้ทั้งวัน นอกจากนี้ยังมีอาการร่วม เช่น ขี้ลืม ซึมเศร้า ขาดสมาธิ มักเกิดภาวะขยับตัวไม่ได้ขณะกำลังจะตื่น
สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เป็นโรคที่มีความผิดปกติของสมองที่ควบคุมการหลับและตื่น โดยมีการหลับแทรกเข้ามาในขณะที่ยังตื่นอยู่
3.โรคหยุดหายใจขณะหลับ
ใครที่ไม่ได้นอนดึกหรืออดนอน แต่ตื่นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น เหมือนไม่ได้นอนทั้งคืน ช่วงบ่ายก็อ่อนเพลีย ง่วงนอนโดยไม่รู้สาเหตุ ให้ระวังโรคการหายใจผิดปกติขณะหลับ ผู้เป็นโรคนี้มักไม่รู้ตัว โดยจะมีอาการหยุดหายใจขณะหลับช่วงเวลาสั้นๆ
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ นอกเหนือจากลักษณะอาการที่ว่ามาคือนอนกรน
-มีอาการสะดุ้งผวากลางคืน หรือหายใจแรงเหมือนาดอากาศหลังจากหยุดหายใจ
-อาการผีอำบ่อย (ขยับเขยื้อนร่างกายไม่ได้ขณะกำลังรู้สึกตัวตื่น)
-ความดันโลหิตสูงโดยหาสาเหตุไม่ได้ชัดเจน
หากสงสัยว่าอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับให้รีบพบแพทย์ อย่ารอช้า เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว
1.โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง
หากนำวิธีช่วยให้นอนหลับไปปฏิบัติแล้วไม่ได้ผลและยังคงมีอาการนอนไม่หลับ 1 เดือน ขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์
2.โรคลมหลับ
คือ มีอาการง่วงนอนตลอดเวลา ที่ไม่เกี่ยวกับการอดนอนหรือทานมากเกินแล้วง่วงนอน โดยผู้ที่เป็นจะสามารถง่วงนอนโดยไม่เลือกสถานที่ แม้แต่ขณะขับรถ เข้าครัว ซึ่งอันตราย หรือมีอาการนอนหลับมากกว่าปกติ เช่น เกินกว่า 10 ชั่วโมงหรือนอนได้ทั้งวัน นอกจากนี้ยังมีอาการร่วม เช่น ขี้ลืม ซึมเศร้า ขาดสมาธิ มักเกิดภาวะขยับตัวไม่ได้ขณะกำลังจะตื่น
สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เป็นโรคที่มีความผิดปกติของสมองที่ควบคุมการหลับและตื่น โดยมีการหลับแทรกเข้ามาในขณะที่ยังตื่นอยู่
3.โรคหยุดหายใจขณะหลับ
ใครที่ไม่ได้นอนดึกหรืออดนอน แต่ตื่นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น เหมือนไม่ได้นอนทั้งคืน ช่วงบ่ายก็อ่อนเพลีย ง่วงนอนโดยไม่รู้สาเหตุ ให้ระวังโรคการหายใจผิดปกติขณะหลับ ผู้เป็นโรคนี้มักไม่รู้ตัว โดยจะมีอาการหยุดหายใจขณะหลับช่วงเวลาสั้นๆ
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ นอกเหนือจากลักษณะอาการที่ว่ามาคือนอนกรน
-มีอาการสะดุ้งผวากลางคืน หรือหายใจแรงเหมือนาดอากาศหลังจากหยุดหายใจ
-อาการผีอำบ่อย (ขยับเขยื้อนร่างกายไม่ได้ขณะกำลังรู้สึกตัวตื่น)
-ความดันโลหิตสูงโดยหาสาเหตุไม่ได้ชัดเจน
หากสงสัยว่าอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับให้รีบพบแพทย์ อย่ารอช้า เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว
เครดิตแหล่งข้อมูล : สสส.
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!