“น้ำในหูไม่เท่ากัน” ที่มาของอาการเวียนหัว...บ้านหมุน
รู้หรือไม่ว่า "อาการบ้านหมุน" หรือ "เวียนหัวบ้านหมุน" ที่หลายคนเคยได้ยิน หรือบางคนเคยเป็น คือหนึ่งในอาการของโรค "น้ำในหูไม่เท่ากัน" บางคนอาจแค่นั่งพักอาการนี้ก็หายไป แต่บางคนอาจเวียนศีรษะอย่างรุนแรงและมีอาเจียนร่วมด้วย ดังนั้นหากอาการไม่ดีขึ้น หรือรู้สึกว่าอาการที่เป็นรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันก็อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจ วินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัด จะเป็นการดีที่สุด
โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน...คืออะไร?
โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ โรคความดันน้ำในหูไม่เท่ากัน มีชื่อว่าในทางการแพทย์ว่า โรคเมเนียร์ (Meniere's disease) พบมากในผู้ที่มีอายุ 30-60 ปี ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นในที่มีภาวะความดันน้ำในหูชั้นในที่เรียกว่า Endolymph มากผิดปกติ ส่งผลให้หูขั้นในที่มีหน้าที่ในการรับเสียง และควบคุมการทรงตัวทำงานผิดปกติ จึงทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ สูญเสียการได้ยิน และรู้สึกถึงแรงดันภายในหู เป็นต้น
ทำไมถึงเป็น..."โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน"
ปัจจุบันยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่า "โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน" เกิดจากสาเหตุใด แต่มีหลายปัจจัยที่เป็นส่วนสำคัญในการเกิดโรค เช่น
-กรรมพันธุ์
พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีคนในครอบครัวเป็นไมเกรน หรือมีโครงสร้างหูชั้นในผิดปกติ
-การติดเชื้อไวรัส
หูชั้นกลาง หูชั้นในเกิดการอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
-เป็นโรคต่างๆ
โรคภูมิแพ้ โรคซิฟิลิส โรคหูน้ำหนวก โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ และไขมันในเลือดสูง
-ฮอร์โมน
มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน รวมถึงการมีประจำเดือน
-พฤติกรรม
การพักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียด สูบบุหรี่ รวมถึงการรับประทานอาหารโซเดียมสูง และอาหารรสเค็มจัด
-สภาพแวดล้อม
อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังอึกทึกมากๆ
อาการที่เกิดจาก "น้ำในหูไม่เท่ากัน"
โรคน้ำในหูไม่เท่ากันส่งผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทรงตัว และการได้ยิน จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้
เวียนศีรษะอย่างรุนแรง รู้สึกบ้านหมุน โดยมีอาการอยู่นาน อาจจะเป็นชั่วโมง ซึ่งอาการจะมาๆ หายๆ
บางครั้งจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับการสูญเสียสมดุลของร่างกาย จึงทำให้เซล้มได้ง่าย
หูอื้อ ได้ยินไม่ชัด รู้สึกแน่นในหูเป็นๆ หายๆ การได้ยินบางครั้งดีขึ้น บางครั้งก็แย่ลง
มีเสียงดังในหู อาจเป็นเสียงวี้ดๆ มีอาการหนักๆ หน่วงๆ ในหู คล้ายมีแรงดันในหู
โรคนี้รักษาได้...
แพทย์เฉพาะทางจะเป็นผู้ตรวจและรักษาผู้ป่วยตามอาการของโรคที่ประเมินได้ในแต่ละราย เช่น
-ปรับพฤติกรรม
หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง แพทย์จะแนะนำให้พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกาย และพยายามคลายความวิตกกังวล
-การรับประทานยา
เป็นการบรรเทาอาการ เช่น การทานยาขับปัสสาวะ เพื่อลดสภาวะอาการบวม และการคั่งของน้ำในหูชั้นใน รวมทั้งยาขยายหลอดเลือดจะช่วยให้การไหลเวียนของน้ำในหูดีขึ้น ยาลดอาการเวียนศีรษะและคลื่นไส้อาเจียน ตลอดจนยากล่อมประสาทและยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและนอนหลับได้เป็นปกติ ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องทานยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด
-การฉีดยา
แพทย์จะทำการฉีดยาเข้าไปที่หูชั้นในโดยตรง เพื่อทำลายเซลล์ที่ก่อให้เกิดอาการเวียนศีรษะ และเมื่อเซลล์ตายอาการดังกล่าวจะหายไป โดยไม่ต้องทำการผ่าตัดรักษา
-การผ่าตัด
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะไม่หาย มีอาการรุนแรง รักษาด้วยวิธีต่างๆ แล้วไม่ดีขึ้น แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อระบายน้ำที่คั่งอยู่ในหูชั้นในออก
ควรทำอย่างไร?...เมื่อป่วยเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
เมื่อคุณกำลังเป็น "โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน" คุณต้องดูแลตัวเองและปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น
-หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด
-หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างชา กาแฟ
-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทุกหมู่
-หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
-นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากมีเสียงรบกวนในหูขณะนอนหลับ ให้เปิดเพลงคลอเบาๆ เพื่อกลบเสียงนั้น
-พยายามหากิจกรรมเพื่อคลายความเครียด ลดความวิตกกังวล
หากผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะกะทันหัน ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือการปีนป่ายที่สูง ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือเสี่ยงอันตรายได้
หากไม่อยากเป็น "โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน" เราต้องหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพให้มากขึ้น จัดสรรเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ กับคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวเพื่อเติมความสุขความสดใสให้สุขภาพใจ เมื่อร่างกายเราแข็งแรง...ใจของเราแข็งแกร่ง โรคใดๆ ก็ยากที่จะเข้ามากล้ำกรายได้
โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน...คืออะไร?
โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ โรคความดันน้ำในหูไม่เท่ากัน มีชื่อว่าในทางการแพทย์ว่า โรคเมเนียร์ (Meniere's disease) พบมากในผู้ที่มีอายุ 30-60 ปี ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นในที่มีภาวะความดันน้ำในหูชั้นในที่เรียกว่า Endolymph มากผิดปกติ ส่งผลให้หูขั้นในที่มีหน้าที่ในการรับเสียง และควบคุมการทรงตัวทำงานผิดปกติ จึงทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ สูญเสียการได้ยิน และรู้สึกถึงแรงดันภายในหู เป็นต้น
ทำไมถึงเป็น..."โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน"
ปัจจุบันยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่า "โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน" เกิดจากสาเหตุใด แต่มีหลายปัจจัยที่เป็นส่วนสำคัญในการเกิดโรค เช่น
-กรรมพันธุ์
พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีคนในครอบครัวเป็นไมเกรน หรือมีโครงสร้างหูชั้นในผิดปกติ
-การติดเชื้อไวรัส
หูชั้นกลาง หูชั้นในเกิดการอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
-เป็นโรคต่างๆ
โรคภูมิแพ้ โรคซิฟิลิส โรคหูน้ำหนวก โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ และไขมันในเลือดสูง
-ฮอร์โมน
มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน รวมถึงการมีประจำเดือน
-พฤติกรรม
การพักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียด สูบบุหรี่ รวมถึงการรับประทานอาหารโซเดียมสูง และอาหารรสเค็มจัด
-สภาพแวดล้อม
อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังอึกทึกมากๆ
อาการที่เกิดจาก "น้ำในหูไม่เท่ากัน"
โรคน้ำในหูไม่เท่ากันส่งผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทรงตัว และการได้ยิน จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้
เวียนศีรษะอย่างรุนแรง รู้สึกบ้านหมุน โดยมีอาการอยู่นาน อาจจะเป็นชั่วโมง ซึ่งอาการจะมาๆ หายๆ
บางครั้งจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับการสูญเสียสมดุลของร่างกาย จึงทำให้เซล้มได้ง่าย
หูอื้อ ได้ยินไม่ชัด รู้สึกแน่นในหูเป็นๆ หายๆ การได้ยินบางครั้งดีขึ้น บางครั้งก็แย่ลง
มีเสียงดังในหู อาจเป็นเสียงวี้ดๆ มีอาการหนักๆ หน่วงๆ ในหู คล้ายมีแรงดันในหู
โรคนี้รักษาได้...
แพทย์เฉพาะทางจะเป็นผู้ตรวจและรักษาผู้ป่วยตามอาการของโรคที่ประเมินได้ในแต่ละราย เช่น
-ปรับพฤติกรรม
หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง แพทย์จะแนะนำให้พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกาย และพยายามคลายความวิตกกังวล
-การรับประทานยา
เป็นการบรรเทาอาการ เช่น การทานยาขับปัสสาวะ เพื่อลดสภาวะอาการบวม และการคั่งของน้ำในหูชั้นใน รวมทั้งยาขยายหลอดเลือดจะช่วยให้การไหลเวียนของน้ำในหูดีขึ้น ยาลดอาการเวียนศีรษะและคลื่นไส้อาเจียน ตลอดจนยากล่อมประสาทและยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและนอนหลับได้เป็นปกติ ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องทานยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด
-การฉีดยา
แพทย์จะทำการฉีดยาเข้าไปที่หูชั้นในโดยตรง เพื่อทำลายเซลล์ที่ก่อให้เกิดอาการเวียนศีรษะ และเมื่อเซลล์ตายอาการดังกล่าวจะหายไป โดยไม่ต้องทำการผ่าตัดรักษา
-การผ่าตัด
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะไม่หาย มีอาการรุนแรง รักษาด้วยวิธีต่างๆ แล้วไม่ดีขึ้น แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อระบายน้ำที่คั่งอยู่ในหูชั้นในออก
ควรทำอย่างไร?...เมื่อป่วยเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
เมื่อคุณกำลังเป็น "โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน" คุณต้องดูแลตัวเองและปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น
-หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด
-หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างชา กาแฟ
-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทุกหมู่
-หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
-นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากมีเสียงรบกวนในหูขณะนอนหลับ ให้เปิดเพลงคลอเบาๆ เพื่อกลบเสียงนั้น
-พยายามหากิจกรรมเพื่อคลายความเครียด ลดความวิตกกังวล
หากผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะกะทันหัน ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือการปีนป่ายที่สูง ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือเสี่ยงอันตรายได้
หากไม่อยากเป็น "โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน" เราต้องหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพให้มากขึ้น จัดสรรเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ กับคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวเพื่อเติมความสุขความสดใสให้สุขภาพใจ เมื่อร่างกายเราแข็งแรง...ใจของเราแข็งแกร่ง โรคใดๆ ก็ยากที่จะเข้ามากล้ำกรายได้
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!