ไทรอยด์เป็นพิษ สังเกตอาการง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง
ไทรอยด์เป็นพิษ สังเกตอาการง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง
ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายและมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งต่อมนี้มีหน้าที่สำคัญคือการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย แถมยังมีส่วนช่วยในการควบคุมกระบวนการเผาผลาญต่างๆ กระตุ้นการเต้นของหัวใจ รักษาอุณหภูมิในร่างกายและการหลั่งเหงื่อ เรียกได้ว่าดูแลระบบทั่วร่างกาย หากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ มีภาวะของต่อมไทรอยด์โต ก็จะส่งผลให้ร่างกายแปรปรวนตามมา
ไทรอยด์เป็นพิษ...คืออะไร
ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism, Overactive Thyroid) คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย และหงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น ซึ่งโรคไทรอยด์อาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
-ไฮเปอร์ไทรอยด์
คือโรคไทรอยด์ที่มีระดับการทำงานของต่อมไทรอยด์มากเกินไป ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดสูงเกินไป มีการทำงานของเซลล์ในร่างกายเร็วกว่าปกติ อาการที่ส่งผลต่อร่างกายก็คือ น้ำหนักลดลงผิดปกติ ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก เหนื่อย มีประจำเดือนน้อยลง ความจำไม่ดี กระสับกระส่าย ขาดสมาธิ ผมร่วง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ท้องเสีย ผิวเป็นด่างขาว มือสั่น แขนขาไม่มีแรง ตาโปน ต่อมไทรอยด์โต เป็นปื้นหนาที่ขา
-ไฮโปไทรอยด์
คือโรคไทรอยด์ที่มีระดับการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่น้อยเกินไป ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดต่ำเกินไป มีการทำงานของเซลล์ในร่างกายช้ากว่าปกติ อาการที่ส่งผลต่อร่างกายคือ น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขี้หนาว ง่วงนอน อ่อนเพลีย ผมร่วง ผิวแห้ง ซึมเศร้า เป็นตะคริวง่าย หัวใจเต้นช้า ท้องผูก รอบตาบวม หน้าบวม ตัวบวม ต่อมไทรอยด์โต
วิธีตรวจต่อมไทรอยด์เบื้องต้น...ด้วยตัวเอง
1.ส่องกระจก ยืดลำคอขึ้น หันทางซ้ายและขวาช้าๆ เพื่อหาความผิดปกติบริเวณลำคอ
1.กินยา
ยาที่ใช้ในการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษคือยาที่ออกฤทธิ์สกัดกั้นการสังเคราะห์ฮอร์โมนไทรอยด์ (ยาต้านไทรอยด์) ซึ่งจะช่วยให้อาการต่างๆ ที่เกิดจากการเผาผลาญในร่างกายที่สูงเกินไปหายไป เช่น อาการใจสั่น เหนื่อย น้ำหนักลด
1.1 กินไอโอดีน-131
ไอโอดีน-131 เป็นสารกัมมันตรังสีของธาตุไอโอดีนที่ผลิตขึ้นโดยผ่านธาตุไอโอดีนเข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู เมื่อทิ้งไว้ไอโอดีน-131 จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นไอโอดีน-128 ในกระบวนการเปลี่ยนนี้จะปล่อยกัมมันตรังสีที่สามารถทำลายเซลล์ออกมา เมื่อผู้ป่วยกินเข้าไป ต่อมไทรอยด์ที่ถูกทำลายจะมีขนาดเล็กลง และอาการต่อมไทรอยด์เป็นพิษจะค่อยๆ ดีขึ้น
2.การผ่าตัด
การผ่าตัดเป็นวิธีรักษาแบบดั้งเดิม แพทย์จะทำการผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ที่เป็นพิษออกไปบางส่วนเพื่อทำให้ต่อมไทรอยด์มีขนาดเล็กลง จะได้ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาน้อยลง วิธีนี้ช่วยให้อาการต่างๆ หายไปอย่างรวดเร็ว
ถึงแม้ว่าการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดจะเป็นวิธีที่ได้ผลเร็ว แต่กลับได้รับความนิยมลดลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง รวมถึงผู้ป่วยไม่อยากเจ็บตัวและไม่ชอบนอนโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงต่อการมีฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาจากต่อมไทรอยด์มากเกินไปในระหว่างที่ทำการผ่าตัด ซึ่งอาการไทรอยด์เป็นพิษอย่างรุนแรงนี้ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ การรักษาโรคนี้จึงควรรับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวขาญโดยตรง
ซึ่งปัจจุบันมีนวัตกรรม "การผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก" ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดี เพราะเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก และขณะทำการผ่าตัดก็ทำได้ใกล้กับตำแหน่งของต่อมไทรอยด์มากที่สุด จึงทำให้มีความเสี่ยงน้อย เสียเลือดน้อย ใช้เวลาน้อยกว่าในการรักษา ผู้ป่วยฟื้นตัวไวทำให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น
เครดิตแหล่งข้อมูล : phyathai
ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายและมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งต่อมนี้มีหน้าที่สำคัญคือการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย แถมยังมีส่วนช่วยในการควบคุมกระบวนการเผาผลาญต่างๆ กระตุ้นการเต้นของหัวใจ รักษาอุณหภูมิในร่างกายและการหลั่งเหงื่อ เรียกได้ว่าดูแลระบบทั่วร่างกาย หากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ มีภาวะของต่อมไทรอยด์โต ก็จะส่งผลให้ร่างกายแปรปรวนตามมา
ไทรอยด์เป็นพิษ...คืออะไร
ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism, Overactive Thyroid) คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย และหงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น ซึ่งโรคไทรอยด์อาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
-ไฮเปอร์ไทรอยด์
คือโรคไทรอยด์ที่มีระดับการทำงานของต่อมไทรอยด์มากเกินไป ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดสูงเกินไป มีการทำงานของเซลล์ในร่างกายเร็วกว่าปกติ อาการที่ส่งผลต่อร่างกายก็คือ น้ำหนักลดลงผิดปกติ ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก เหนื่อย มีประจำเดือนน้อยลง ความจำไม่ดี กระสับกระส่าย ขาดสมาธิ ผมร่วง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ท้องเสีย ผิวเป็นด่างขาว มือสั่น แขนขาไม่มีแรง ตาโปน ต่อมไทรอยด์โต เป็นปื้นหนาที่ขา
-ไฮโปไทรอยด์
คือโรคไทรอยด์ที่มีระดับการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่น้อยเกินไป ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดต่ำเกินไป มีการทำงานของเซลล์ในร่างกายช้ากว่าปกติ อาการที่ส่งผลต่อร่างกายคือ น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขี้หนาว ง่วงนอน อ่อนเพลีย ผมร่วง ผิวแห้ง ซึมเศร้า เป็นตะคริวง่าย หัวใจเต้นช้า ท้องผูก รอบตาบวม หน้าบวม ตัวบวม ต่อมไทรอยด์โต
วิธีตรวจต่อมไทรอยด์เบื้องต้น...ด้วยตัวเอง
1.ส่องกระจก ยืดลำคอขึ้น หันทางซ้ายและขวาช้าๆ เพื่อหาความผิดปกติบริเวณลำคอ
2.ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือทั้งสองข้างคลำลำคอพร้อมๆ กันในแต่ละด้าน จากด้านหลังไปด้านหน้า และจากบนลงล่าง
3.หากผมการสัมผัสที่ติดขัดเหมือนมีก้อน...ให้ลองคลึงดู
4.หากพบก้อนผิดปกติให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ
การรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ1.กินยา
ยาที่ใช้ในการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษคือยาที่ออกฤทธิ์สกัดกั้นการสังเคราะห์ฮอร์โมนไทรอยด์ (ยาต้านไทรอยด์) ซึ่งจะช่วยให้อาการต่างๆ ที่เกิดจากการเผาผลาญในร่างกายที่สูงเกินไปหายไป เช่น อาการใจสั่น เหนื่อย น้ำหนักลด
1.1 กินไอโอดีน-131
ไอโอดีน-131 เป็นสารกัมมันตรังสีของธาตุไอโอดีนที่ผลิตขึ้นโดยผ่านธาตุไอโอดีนเข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู เมื่อทิ้งไว้ไอโอดีน-131 จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นไอโอดีน-128 ในกระบวนการเปลี่ยนนี้จะปล่อยกัมมันตรังสีที่สามารถทำลายเซลล์ออกมา เมื่อผู้ป่วยกินเข้าไป ต่อมไทรอยด์ที่ถูกทำลายจะมีขนาดเล็กลง และอาการต่อมไทรอยด์เป็นพิษจะค่อยๆ ดีขึ้น
2.การผ่าตัด
การผ่าตัดเป็นวิธีรักษาแบบดั้งเดิม แพทย์จะทำการผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ที่เป็นพิษออกไปบางส่วนเพื่อทำให้ต่อมไทรอยด์มีขนาดเล็กลง จะได้ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาน้อยลง วิธีนี้ช่วยให้อาการต่างๆ หายไปอย่างรวดเร็ว
ถึงแม้ว่าการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดจะเป็นวิธีที่ได้ผลเร็ว แต่กลับได้รับความนิยมลดลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง รวมถึงผู้ป่วยไม่อยากเจ็บตัวและไม่ชอบนอนโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงต่อการมีฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาจากต่อมไทรอยด์มากเกินไปในระหว่างที่ทำการผ่าตัด ซึ่งอาการไทรอยด์เป็นพิษอย่างรุนแรงนี้ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ การรักษาโรคนี้จึงควรรับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวขาญโดยตรง
ซึ่งปัจจุบันมีนวัตกรรม "การผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก" ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดี เพราะเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก และขณะทำการผ่าตัดก็ทำได้ใกล้กับตำแหน่งของต่อมไทรอยด์มากที่สุด จึงทำให้มีความเสี่ยงน้อย เสียเลือดน้อย ใช้เวลาน้อยกว่าในการรักษา ผู้ป่วยฟื้นตัวไวทำให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น
เครดิตแหล่งข้อมูล : phyathai
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!