ปวดหัว ปวดหู หูอื้อ กับความผิดปกติของท่อปรับแรงดันหู
การรักษาท่อปรับแรงดันหู "ยูสเตเชียน" ทำงานบกพร่อง โดยใช้ Balloon ถ่างขยายท่อปรับแรงดันหู Eustachian tube dysfunction
ท่อยูสเตเชียน คืออะไร?
ท่อยูสเตเชียน (eustachian tube) คือท่อปรับแรงดันหู ซึ่งเป็นท่อที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลางกับโพรงหลังจมูก โดยท่อยูสเตเชียนจะมีหน้าที่หลักๆ ดังนี้
-ปรับความดันของหูชั้นกลาง
-ระบายและหมุนเวียนอากาศในหูชั้นกลาง
-ระบายน้ำจากหูชั้นกลางลงด้านหลังโพรงจมูก
หากเมื่อใดที่ท่อนี้ทำงานผิดปกติไป จะทำให้เกิดอาการหูอื้อ, ปวดหู, ปวดหัว มีเสียงดังในหู หรือถ้าเป็นมากๆ อาจมีอาการเวียนหัวบ้านหมุนได้
สาเหตุที่ทำให้ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ
การที่ท่อยูสเตเชียนเกิดความผิดปกตินั้น อาจเกิดได้ทั้งจากโรคที่เป็น จากสิ่งแวดล้อม และจากการใช้ชีวิตตามปกติ เช่น
1.เกิดจากการอักเสบและบวมของจมูก, ไซนัส หรือโพรงหลังจมูก, การอักเสบของต่อมอดีนอยด์, การฉายแสงบริเวณโพรงจมูก ซึ่งจะทำให้เยื่อบุรอบท่อยูสเตเชียนบวมหรือตีบแคบลง ทำให้มีการทำงานผิดปกติได้
2.เกิดการเปลี่ยนแปลงความกดดันบรรยากาศอย่างรวดเร็ว หรือในระยะเวลาอันสั้น เช่น ขึ้นหรือลงลิฟต์เร็วๆ, เครื่องบินขึ้นหรือลงเร็ว, ดำน้ำโดยลดระดับเร็วเกินไป
3.มีก้อนไปอุดรูเปิดของท่อยูสเตเชียน ทำให้ท่อทำงานผิดปกติ เกิดความดันเป็นลบในหูชั้นกลาง เช่น ต่อมอดีนอยด์ที่มีขนาดโตจนไปอุดรูเปิดของท่อยูสเตเชียน, มะเร็งของโพรงหลังจมูกที่ลามไปที่ท่อยูสเตเชียน ทำให้ท่อนี้ทำงานผิดปกติไป
หากท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ อาจทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้
เมื่อคนไข้เข้ามาพบแพทย์ ด้วยอาการที่แพทย์สงสัยว่าอาจเกิดความผิดปกติกับท่อยูสเตเชียน แพทย์จะทำการตรวจเพื่อหาความผิดปกติที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจพบสิ่งเหล่านี้ ได้แก่
2.เยื่อบุแก้วหูบุ๋มลงไป เนื่องจากมีความดันในหูชั้นกลางที่เป็นลบ บางรายถ้าเป็นมากๆ แก้วหูอาจบุ๋มลงไปจนทะลุได้
3.บางรายอาจพบเลือดออกบนเยื่อบุแก้วหู เยื่อบุแก้วหูบางส่วนอาจบวม แดง เนื่องจากมีเลือดคั่งมากกว่าปกติได้
4.การได้ยินลดลงมากน้อยขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค บางรายอาจได้ยินเสียงดังกึ๊กในหูได้ โดยเฉพาะเวลากลืนน้ำลาย
1.การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการอักเสบทางจมูก เช่น รับประทานยาแก้แพ้ (ยาต้านฮิสตะมีน), ยาหดหลอดเลือด (oral decongestant เช่น pseudoephedrine) หรือ พ่นจมูกด้วยยาหดหลอดเลือด (topical decongestant เช่น ephedrine, oxymetazoline) อาจทำร่วมกับการล้างจมูก, การพ่นยาสเตียรอยด์ในจมูก เพื่อทำให้การอักเสบภายในจมูกลดน้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงท่อยูสเตเชียนลดน้อยลง เยื่อบุรอบรูเปิดท่อยูสเตเชียนยุบบวมลง ทำให้ของเหลวที่คั่งอยู่ในหูชั้นกลางสามารถระบายไหลผ่านท่อยูสเตเชียนได้ดีขึ้น
2.การเคี้ยวหมากฝรั่ง จะทำให้มีการเปิดของท่อยูสเตเชียน
3.การทำ Valsalva maneuver โดยให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าเต็มที่ และปิดจมูก ปิดปาก หลังจากนั้นเบ่งลมให้อากาศผ่านทางจมูกที่ปิด อากาศจะผ่านไปที่ท่อยูสเตเชียนเข้าสู่หูชั้นกลาง วิธีนี้ห้ามทำในขณะที่เป็นหวัดหรือไซนัสอักเสบ เพราะจะทำให้เชื้อโรคในจมูกหรือไซนัสเข้าไปสู่หูชั้นกลางได้
4.การผ่าตัด จะทำต่อเมื่อรักษาด้วยยาแล้วไม่ดีขึ้น ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
-การเจาะเยื่อบุแก้วหู (myringotomy) เพื่อปรับความดันของหูชั้นกลางให้เท่ากับบรรยากาศภายนอก และ/หรือ ระบายของเหลวภายในหูชั้นกลาง ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใส่ท่อ (myringotomy tube) คาไว้ที่เยื่อบุแก้วหู การเจาะเยื่อบุแก้วหูมักทำโดยการใช้ยาชาเฉพาะที่
-การใช้ balloon ยูสเตเชียน สามารถทำโดยยาชาเฉพาะที่หรือการใช้ยาสลบ
-แพทย์จะใช้วิธีส่องกล้องเข้าไปในจมูก เพื่อตรวจดูพยาธิสภาพของจมูก และดูตำแหน่งของท่อยูสเตเชียน
-ใส่เครื่องมือที่เป็น balloon เข้าไปในท่อยูสเตเชียน หลังจากนั้นอัดลมเข้าไปใน balloon เมื่อตัว balloon ขยายพองตัวออกมา จะถ่างให้ท่อยูสเตเชียนขยายตัวและเปิดออก
เครดิตแหล่งข้อมูล : phyathai