ไม่ใช่กินข้าวไม่ตรงเวลา แต่เชื้อ H. pylori คือสาเหตุโรคกระเพาะอาหาร
หน้าแรกTeeNee รวมเรื่องสุขภาพดีๆ โรคภัยไข้เจ็บ ไม่ใช่กินข้าวไม่ตรงเวลา แต่เชื้อ H. pylori คือสาเหตุโรคกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่พบได้บ่อย และก่อให้เกิดความรำคาญและทุกข์ทรมานจากอาการปวดท้องเป็นๆ หายๆ ในบางรายอาจมีอันตรายจากโรคแทรกซ้อน เช่น การตกเลือดในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะทะลุ และอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร โดยบริเวณที่พบอาจเกิดแผลในกระเพาะ (Gastric Ulcer) หรือแผลบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenal Ulcer) และด้วยสาเหตุการเกิดโรคที่คล้ายกัน จึงมักจะเรียกรวมๆ กันว่า "โรคแผลในกระเพาะอาหาร" (Peptic Ulcer)
สาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร
1.การติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโรไล (H.pylori) เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร คิดเป็นสัดส่วน 60% ของสาเหตุทั้งหมด
2.กรดในกระเพาะมากขึ้นทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ง่าย
3.การทำลายเยื่อบุกระเพาะ เช่น จากยาแอสไพริน ยาแก้ปวดกระดูก หรือการดื่มสุรา
สาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร
1.การติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโรไล (H.pylori) เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร คิดเป็นสัดส่วน 60% ของสาเหตุทั้งหมด
2.กรดในกระเพาะมากขึ้นทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ง่าย
3.การทำลายเยื่อบุกระเพาะ เช่น จากยาแอสไพริน ยาแก้ปวดกระดูก หรือการดื่มสุรา
อาการของโรคแผลในกระเพาะอาหาร
1.มีอาการปวดท้องบริเวณยอดอกหรือลิ้นปี่
การตรวจหาเชื้อ Helicobactor Pylori สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
1.โดยวิธีการส่องกล้องเพื่อตัดชิ้นเนื้อ (Biopsy)
1.มีอาการปวดท้องบริเวณยอดอกหรือลิ้นปี่
2.มีอาการจุก เสียด แน่น เจ็บแสบหรือร้อน อาการจะสัมพันธ์กับการกินหรือชนิดของอาหาร บางรายอาจมีอาการปวดท้องตอนกลางคืน
3.ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการโรคแทรกซ้อน เช่า อาเจียนเป็นเลือด
แบคทีเรียร้ายในกระเพาะอาหาร เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobactor pylori) คืออะไร
1.เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้มีความทนกรดสูง จึงสามารถอาศัยอยู่ในชั้นผิวเคลือบภายในกระเพาะอาหารได้
2.สามารถสร้างสารพิษไปทำลายเซลล์เยื่อบุผิวของกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
3.การศึกษาวิจัยจากสมาคมแพทย์และองค์การอนามัยโลกพบว่าเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ เป็นสารก่อมะเร็ง (Carcinogen group1) ทำให้ผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งของกระเพาะอาหาร มากกว่าคนปกติ 3-6 เท่าการตรวจหาเชื้อ Helicobactor Pylori สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
1.โดยวิธีการส่องกล้องเพื่อตัดชิ้นเนื้อ (Biopsy)
2.การตรวจหา H. Pylori โดยตรวจสอบจากลมหายใจ
3.การตรวจเลือด เพื่อหาภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อ
จากการวิจัยขององค์การอาหารและยา พบว่าประสิทธิภาพของการตรวจแต่ละวิธี แตกต่างกันดังนี้วิธีการรักษาเพื่อกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร
1.การรับประทานยายับยั้งการหลั่งกรด นาน 6-8 สัปดาห์ ร่วมกับยาปฎิชีวนะ นานถึง 1-2 สัปดาห์
2.หลังจากหยุดยา 4 สัปดาห์ ให้ผู้ป่วยกลับมาตรวจหาเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร อีกครั้งหนึ่ง
ขั้นตอนการตรวจ - รักษา โดยรวม
-หาสาเหตุการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร
-ตัดชิ้นเนื้อ → ตรวจสอบลมหายใจ → หาภูมิคุ้มกัน
-หากตรวจพบการติดเชื้อ รักษาด้วยยาลดกรดและยาปฎิชีวนะ
-กลับมาตรวจซ้ำ เพื่อยืนยันการรักษา
หลักการสำคัญของการตรวจเชื้อ H.Pylori ในกระเพาะอาหาร ด้วยการทดสอบลมหายใจ
เชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร (H.Pylori) สามารถผลิตเอนไซม์ Urea ได้ ดังนั้นการวินิจฉัยจึงให้ผู้ป่วยรับประทานยา Urea ที่เคลือบ 13C หากผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อ H.Pylori จะเกิดการย่อยเม็ดยา ได้แอมโมเนีย (NH3) ออกมากับปัสสาวะ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (13CO2) ออกมากับลมหายใจ โดยโรงพยาบาลจะเก็บตัวอย่างลมหายใจของผู้ป่วยเพื่อนำไปวิเคราะห์ผลต่อไป
การตรวจหาการติดเชื้อ Helicobacter Pylori ในกระเพาะอาหาร โดยวิธี 13 C-Urea Breath Test
การเตรียมตัวผู้ป่วย
1.งดอาหารและเครื่องดื่ม ก่อนการตรวจอย่างน้อย 4 ชั่วโมง เพื่อให้กระเพาะอาหารว่าง
2.งดอาหารที่มีสารยูเรีย (urea) เช่น แอลกอฮอล์ น้ำอ้อย น้ำสับปะรด
3.งดการสูบบุหรี่
4.งดยาฆ่าเชื้อ (antibiotics) และ ยาลดการหลั่งกรดกลุ่ม PPI (เช่น omeprazole, esomeprazole , dexlanzoprezole) และยาลดการหลั่งกรดกลุ่ม P-CABs (เช่น vonoprazan) ก่อนการตรวจอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือตามคำสั่งแพทย์
ขั้นตอนในการตรวจ13 C-Urea Breath Test
1.เป่าลมหายใจ ลงในถุงตัวอย่าง (Bag no.1) ก่อนทานเม็ดยา UBiT จนเต็มถุง
2.กลืนเม็ดยา UBiT (ภายใน5วินาที) พร้อมดื่มน้ำ 1 แก้ว (100 มิลลิลิตร) ห้ามเคี้ยวหรืออมเม็ดยา
3.นอนตะแคงด้านซ้าย เป็นเวลา 5 นาที
4.เปลี่ยนเป็นท่านั่ง เป็นเวลา 15 นาที
5.เมื่อครบ 20 นาที หลังทานเม็ดยา UBiT แล้วเป่าลมหายใจลงในถุงตัวอย่างใบที่2 (Bag no.2) จนเต็ม
6.เก็บถุงตัวอย่างทั้งสองใบส่งให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อดีของการใช้ 13 C-Urea Breath Test
-ผู้ป่วยไม่เจ็บปวด
-มีความแม่นยำ 98%
-เป็นการตรวจหา H.Pylori
-เม็ดยา Urea ที่เคลือบด้วย 13C ไม่เป็นสารกัมมันตภาพรังสี
-ปลอดภัยทั้งผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่
-ไม่เหลือสารตกค้างในร่างกาย
-ลดการติดเชื้อเนื่องจากถุงเก็บตัวอย่างเป็นชนิด Disposable
-การวิเคราะห์ผลง่าย และรวดเร็ว 30 นาที สามารถทราบผล
2.กลืนเม็ดยา UBiT (ภายใน5วินาที) พร้อมดื่มน้ำ 1 แก้ว (100 มิลลิลิตร) ห้ามเคี้ยวหรืออมเม็ดยา
3.นอนตะแคงด้านซ้าย เป็นเวลา 5 นาที
4.เปลี่ยนเป็นท่านั่ง เป็นเวลา 15 นาที
5.เมื่อครบ 20 นาที หลังทานเม็ดยา UBiT แล้วเป่าลมหายใจลงในถุงตัวอย่างใบที่2 (Bag no.2) จนเต็ม
6.เก็บถุงตัวอย่างทั้งสองใบส่งให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อดีของการใช้ 13 C-Urea Breath Test
-ผู้ป่วยไม่เจ็บปวด
-มีความแม่นยำ 98%
-เป็นการตรวจหา H.Pylori
-เม็ดยา Urea ที่เคลือบด้วย 13C ไม่เป็นสารกัมมันตภาพรังสี
-ปลอดภัยทั้งผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่
-ไม่เหลือสารตกค้างในร่างกาย
-ลดการติดเชื้อเนื่องจากถุงเก็บตัวอย่างเป็นชนิด Disposable
-การวิเคราะห์ผลง่าย และรวดเร็ว 30 นาที สามารถทราบผล
เครดิตแหล่งข้อมูล : ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!