เวียนหัว แขนขาอ่อนแรง สัญญาณเตือนโรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (PFO)
หน้าแรกTeeNee รวมเรื่องสุขภาพดีๆ โรคภัยไข้เจ็บ เวียนหัว แขนขาอ่อนแรง สัญญาณเตือนโรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (PFO)
เมื่อเอ่ยถึงโรค PFO น้อยคนนักที่จะรู้จักหรือรู้ตัวว่าตัวเองมีภาวะโรคนี้อยู่ ถ้าให้อธิบายแบบง่ายๆ โรค PFO หรือ patent foramen ovale ก็คือ ภาวะผิดปกติของผนังกั้นหัวใจห้องบนขวาและห้องบนซ้ายทะลุหากัน ชนิดที่เกิดจาก foramen ovale ไม่ปิด ซึ่งจริงๆ แล้วผู้ป่วยที่มีภาวะ PFO นั้น จะเป็นมาตั้งแต่กำเนิดเพียงแต่ยังไม่รู้ตัวเพราะมักไม่มีอาการแสดง
อาการเตือน โรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (PFO)
แม้ว่าส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคนี้จะไม่มีอาการแสดง แต่เมื่อไหร่ที่เกิดภาวะลิ่มเลือดไหลจากหัวใจห้องบนขวาย้อนกลับไปยังหัวใจห้องบนซ้ายแล้วเข้าสู่สมอง จะส่งผลให้เกิดอาการเตือนของโรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (PFO) ดังนี้
ไมเกรน เหนื่อยง่าย อีกสัญญาณเตือนจากภาวะ PFO
โดย นพ.อมร จงสถาพงษ์พันธ์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2 ได้อธิบายเกี่ยวกับอาการของโรค PFO ว่า... คนไข้ที่มาพบแพทย์ส่วนใหญ่มักมาด้วยลักษณะอาการเส้นเลือดสมองตีบแบบเป็นแล้วเป็นอีก แต่ในบางรายอาจมาด้วยอาการของไมเกรน คือ ปวดหัวเรื้อรังเป็นๆ หายๆ และบางรายที่ผนังกั้นหัวใจมีรูรั่วขนาดใหญ่... ก็อาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยเวลาออกกำลังกายได้
ที่เข้าใจว่าตัวเอง "เหนื่อยง่ายผิดปกติ" จริงๆ แล้ว...ใช่หรือเปล่านะ?
หากพูดถึงอาการเหนื่อยหอบง่าย สำหรับคนทั่วไปแล้วอาจเหมารวมได้เพียงระดับเดียว แต่สำหรับสมาคมโรคหัวใจของนครนิวยอร์ก (New York Heart Association Functional Classification) ได้มีการแบ่งระดับความรุนแรงของอาการเหนื่อยออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้...
-ระดับที่ 1 คือ สามารถออกกำลังได้ไม่จำกัด เหมือนคนปกติทั่วไป
-ระดับที่ 2 คือ เมื่อออกกำลังตามธรรมดาอาจมีอาการเหนื่อยบ้าง แต่ถ้าอยู่เฉยๆ จะไม่รู้สึกเหนื่อยหรือหอบ
-ระดับที่ 3 คือ เมื่อออกกำลังเพียงเล็กน้อยก็มีอาการเหนื่อย แต่ถ้าอยู่เฉยๆ จะไม่รู้สึกเหนื่อยหรือหอบ
-ระดับที่ 4 คือ ไม่สามารถออกกำลังได้ แม้แต่อยู่เฉยๆ ก็อาจมีอาการเหนื่อย และอาการเหนื่อยจะเพิ่มมากยิ่งขึ้นเมื่อออกกำลังเพิ่มขึ้น
อยากรู้ว่าเป็นโรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (PFO) หรือไม่...ตรวจได้ด้วยวิธีนี้!
สำหรับใครที่มีอาการเหนื่อยเวลาออกกำลังจนรู้สึกผิดปกติ และไม่แน่ใจว่าตนเองมีภาวะ PFO นี้ซ่อนอยู่หรือไม่? การตรวจวินิจฉัยเพื่อค้นหาภาวะ PFO สามารถทำได้โดยการทำ Micro bubble หรือการฉีดฟองอากาศเข้าทางเส้นเลือดดำ แล้วให้คนไข้ลองออกแรงเบ่งลมหายใจ เพื่อให้แพทย์สามารถรู้ได้ว่ามีฟองอากาศเล็ดลอดจากหัวใจห้องบนขวาไปยังหัวใจห้องบนซ้ายหรือไม่
หากสังเกตว่าตัวเองมักมีอาการปวดหัวเรื้อรังเป็นๆ หายๆ แขนขาอ่อนแรง หรือรู้สึกว่าเหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกายจนผิดปกติ อย่านิ่งนอนใจ! ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพราะไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ อันตรายจากโรค (ร้าย) ต่างๆ ก็เกิดขึ้นได้เสมอ
เครดิตแหล่งข้อมูล : phyathai.com
อาการเตือน โรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (PFO)
แม้ว่าส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคนี้จะไม่มีอาการแสดง แต่เมื่อไหร่ที่เกิดภาวะลิ่มเลือดไหลจากหัวใจห้องบนขวาย้อนกลับไปยังหัวใจห้องบนซ้ายแล้วเข้าสู่สมอง จะส่งผลให้เกิดอาการเตือนของโรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (PFO) ดังนี้
-เวียนหัว บ้านหมุน เดินเซ... ไม่มั่นคง
-ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด
-แขนขาชา อ่อนแรง
-ตาพร่า มองเห็นไม่ชัด
-ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายบางส่วนได้ (อัมพาต)ไมเกรน เหนื่อยง่าย อีกสัญญาณเตือนจากภาวะ PFO
โดย นพ.อมร จงสถาพงษ์พันธ์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2 ได้อธิบายเกี่ยวกับอาการของโรค PFO ว่า... คนไข้ที่มาพบแพทย์ส่วนใหญ่มักมาด้วยลักษณะอาการเส้นเลือดสมองตีบแบบเป็นแล้วเป็นอีก แต่ในบางรายอาจมาด้วยอาการของไมเกรน คือ ปวดหัวเรื้อรังเป็นๆ หายๆ และบางรายที่ผนังกั้นหัวใจมีรูรั่วขนาดใหญ่... ก็อาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยเวลาออกกำลังกายได้
ที่เข้าใจว่าตัวเอง "เหนื่อยง่ายผิดปกติ" จริงๆ แล้ว...ใช่หรือเปล่านะ?
หากพูดถึงอาการเหนื่อยหอบง่าย สำหรับคนทั่วไปแล้วอาจเหมารวมได้เพียงระดับเดียว แต่สำหรับสมาคมโรคหัวใจของนครนิวยอร์ก (New York Heart Association Functional Classification) ได้มีการแบ่งระดับความรุนแรงของอาการเหนื่อยออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้...
-ระดับที่ 1 คือ สามารถออกกำลังได้ไม่จำกัด เหมือนคนปกติทั่วไป
-ระดับที่ 2 คือ เมื่อออกกำลังตามธรรมดาอาจมีอาการเหนื่อยบ้าง แต่ถ้าอยู่เฉยๆ จะไม่รู้สึกเหนื่อยหรือหอบ
-ระดับที่ 3 คือ เมื่อออกกำลังเพียงเล็กน้อยก็มีอาการเหนื่อย แต่ถ้าอยู่เฉยๆ จะไม่รู้สึกเหนื่อยหรือหอบ
-ระดับที่ 4 คือ ไม่สามารถออกกำลังได้ แม้แต่อยู่เฉยๆ ก็อาจมีอาการเหนื่อย และอาการเหนื่อยจะเพิ่มมากยิ่งขึ้นเมื่อออกกำลังเพิ่มขึ้น
อยากรู้ว่าเป็นโรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (PFO) หรือไม่...ตรวจได้ด้วยวิธีนี้!
สำหรับใครที่มีอาการเหนื่อยเวลาออกกำลังจนรู้สึกผิดปกติ และไม่แน่ใจว่าตนเองมีภาวะ PFO นี้ซ่อนอยู่หรือไม่? การตรวจวินิจฉัยเพื่อค้นหาภาวะ PFO สามารถทำได้โดยการทำ Micro bubble หรือการฉีดฟองอากาศเข้าทางเส้นเลือดดำ แล้วให้คนไข้ลองออกแรงเบ่งลมหายใจ เพื่อให้แพทย์สามารถรู้ได้ว่ามีฟองอากาศเล็ดลอดจากหัวใจห้องบนขวาไปยังหัวใจห้องบนซ้ายหรือไม่
หากสังเกตว่าตัวเองมักมีอาการปวดหัวเรื้อรังเป็นๆ หายๆ แขนขาอ่อนแรง หรือรู้สึกว่าเหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกายจนผิดปกติ อย่านิ่งนอนใจ! ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพราะไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ อันตรายจากโรค (ร้าย) ต่างๆ ก็เกิดขึ้นได้เสมอ
เครดิตแหล่งข้อมูล : phyathai.com
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!