กัญชารักษาโรคมะเร็งได้จริงหรือไม่? นี่คือคำตอบจากคุณหมอ
หน้าแรกTeeNee รวมเรื่องสุขภาพดีๆ โรคภัยไข้เจ็บ กัญชารักษาโรคมะเร็งได้จริงหรือไม่? นี่คือคำตอบจากคุณหมอ
ช่วงที่ผ่านมาเรามักได้ยินเกี่ยวกับประเด็นของการใช้สารสกัดจากต้นกัญชาในการรักษาโรคมะเร็ง ทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า แท้จริงแล้วใบกัญชานั้นสามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้จริงหรือไม่ และเพื่อให้คนทั่วไปได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง นพ.วิชิต อาภรณ์วิรัตน์ แพทย์ประจำศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลพญาไท 2 จึงได้อธิบาย พร้อมให้คำแนะนำสำหรับคนไข้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า...
เราต้องทำความเข้าใจในเรื่องกระบวนการผลิตยาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งรวมถึง ยาเคมีบำบัด หรือคีโมเทอราปี (Chemotherapy) ที่นำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันก่อนว่า ส่วนหนึ่งของตัวยาเหล่านี้คือสารสกัดจากพืชที่มีฤทธิ์ต่อสิ่งมีชีวิต แล้วนำสารในพืชชนิดนั้นมาสกัดให้เป็นสารบริสุทธิ์ เพื่อนำมาทดลองว่ามีฤทธิ์ในการทำลายเซลล์มะเร็งแต่ละชนิดอย่างไร
หากสารเคมีจากพืชชนิดนั้นสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ ก็จะนำขึ้นสู่ขั้นตอนการทดลองในสัตว์ เช่น หนูทดลอง ว่ามีฤทธิ์ต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร หลังจากผ่านการทดสอบกับสัตว์ทดลองจนเป็นที่แน่ชัดว่าสามารถนำมาใช้กับมนุษย์ได้ จึงเริ่มขั้นตอนการทดสอบกับอาสาสมัครกลุ่มแรก คือ คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายด้วยกระบวนการรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบัน และคนไข้อาสาสมัครมีความต้องการทดลองรักษาด้วยยาตัวใหม่
เมื่อทดสอบกับอาสาสมัครกลุ่มแรกจนประสบความสำเร็จด้วยดี จะเข้าสู่ขั้นตอนการทดลองกับกลุ่มอาสาสมัครอีกกลุ่มหนึ่งเพื่อวัดประสิทธิภาพตัวยา เทียบกับตัวยาที่ใช้ในการรักษาอยู่ในปัจจุบัน หากผลออกมาเป็นที่ยอมรับว่าสามารถรักษาได้จริงและมีผลข้างเคียงในการรักษาอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ยาตัวนั้นจึงจะถูกขึ้นทะเบียนยาใช้ในการรักษาคนไข้ได้ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะใช้ระยะเวลาค้นคว้าทดลองหลายปีกว่าจะสำเร็จ
การวิจัยกัญชาสำหรับใช้รักษาโรคมะเร็งเองก็เช่นเดียวกัน กัญชาเป็นพืชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ต่อสิ่งมีชีวิต หากคิดว่ามีผลช่วยในการรักษาโรคมะเร็ง จะต้องผ่านกระบวนการค้นคว้าทดลองเช่นเดียวกับการผลิตยาตัวอื่นๆ เพื่อดูว่ามีผลต่อการรักษาโรคมะเร็งชนิดใดบ้าง จนกว่าจะได้ผลการวิจัยที่ชัดเจนเป็นที่ยอมรับ จึงจะสามารถนำมาใช้ในการรักษาคนไข้โรคมะเร็งในอนาคต
อย่างไรก็ตามในกรณีนี้คนไข้ไม่ควรนำกัญชามาใช้รักษาโรคโดยพลการ จนกว่าตัวยาจะได้ขึ้นทะเบียนยารับรองอย่างเป็นทางการ หากนำมาใช้โดยขาดความรู้และวิธีการรักษาที่ถูกต้องอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนไข้เองได้
เครดิตแหล่งข้อมูล : phyathai.com
เราต้องทำความเข้าใจในเรื่องกระบวนการผลิตยาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งรวมถึง ยาเคมีบำบัด หรือคีโมเทอราปี (Chemotherapy) ที่นำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันก่อนว่า ส่วนหนึ่งของตัวยาเหล่านี้คือสารสกัดจากพืชที่มีฤทธิ์ต่อสิ่งมีชีวิต แล้วนำสารในพืชชนิดนั้นมาสกัดให้เป็นสารบริสุทธิ์ เพื่อนำมาทดลองว่ามีฤทธิ์ในการทำลายเซลล์มะเร็งแต่ละชนิดอย่างไร
หากสารเคมีจากพืชชนิดนั้นสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ ก็จะนำขึ้นสู่ขั้นตอนการทดลองในสัตว์ เช่น หนูทดลอง ว่ามีฤทธิ์ต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร หลังจากผ่านการทดสอบกับสัตว์ทดลองจนเป็นที่แน่ชัดว่าสามารถนำมาใช้กับมนุษย์ได้ จึงเริ่มขั้นตอนการทดสอบกับอาสาสมัครกลุ่มแรก คือ คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายด้วยกระบวนการรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบัน และคนไข้อาสาสมัครมีความต้องการทดลองรักษาด้วยยาตัวใหม่
เมื่อทดสอบกับอาสาสมัครกลุ่มแรกจนประสบความสำเร็จด้วยดี จะเข้าสู่ขั้นตอนการทดลองกับกลุ่มอาสาสมัครอีกกลุ่มหนึ่งเพื่อวัดประสิทธิภาพตัวยา เทียบกับตัวยาที่ใช้ในการรักษาอยู่ในปัจจุบัน หากผลออกมาเป็นที่ยอมรับว่าสามารถรักษาได้จริงและมีผลข้างเคียงในการรักษาอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ยาตัวนั้นจึงจะถูกขึ้นทะเบียนยาใช้ในการรักษาคนไข้ได้ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะใช้ระยะเวลาค้นคว้าทดลองหลายปีกว่าจะสำเร็จ
การวิจัยกัญชาสำหรับใช้รักษาโรคมะเร็งเองก็เช่นเดียวกัน กัญชาเป็นพืชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ต่อสิ่งมีชีวิต หากคิดว่ามีผลช่วยในการรักษาโรคมะเร็ง จะต้องผ่านกระบวนการค้นคว้าทดลองเช่นเดียวกับการผลิตยาตัวอื่นๆ เพื่อดูว่ามีผลต่อการรักษาโรคมะเร็งชนิดใดบ้าง จนกว่าจะได้ผลการวิจัยที่ชัดเจนเป็นที่ยอมรับ จึงจะสามารถนำมาใช้ในการรักษาคนไข้โรคมะเร็งในอนาคต
อย่างไรก็ตามในกรณีนี้คนไข้ไม่ควรนำกัญชามาใช้รักษาโรคโดยพลการ จนกว่าตัวยาจะได้ขึ้นทะเบียนยารับรองอย่างเป็นทางการ หากนำมาใช้โดยขาดความรู้และวิธีการรักษาที่ถูกต้องอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนไข้เองได้
เครดิตแหล่งข้อมูล : phyathai.com
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!