ถัดมาที่กลุ่มวัยรุ่น พบพฤติกรรมการขยับน้อยกว่าผู้สูงอายุ เพราะใช้เวลาไปกับอินเตอร์เน็ต 6 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนกลุ่มวัยทำงาน พบพบวัฒนธรรมการดื่มกาแฟตอนเช้า น้ำหวานตอนกลางวัน และดินเนอร์ขนมหวานบิงซูตอนเย็น โดยสสส.ได้สำรวจร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลในพื้นที่เศรษฐกิจ ได้แก่ สีลม อนุเสาวรีย์ชัยฯ เพื่อตรวจปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มหวาน 5 เมนูยอดฮิต พบว่าเพียง 1 แก้วขนาด 250 มล. มีปริมาณน้ำตาลสูงถึง 10-15 ช้อนชา ทั้งที่ร่างกายไม่ควรได้รับน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา ทำให้ผู้ดื่มเสี่ยงอัวนลงพุง อันนำมาสู่โรคเบาหวาน หัวใจ ความดัน
และส่วนผู้สูงอายุพบขาดความพร้อมการเป็นผู้สูงอายุ โดย 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนหรือต่ำกว่า 2,647 บาทต่อเดือน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพ ขณะที่ผู้สูงอายุร้อยละ 95 มีโรคประจำตัวแต่ยังพอสามารถดำรงชีวิตได้ปกติ
ดร.ณัฐพันธุ์กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ สสส.พยายามส่งเสริมคนแต่ละช่วงวัยให้มีพฤติกรรมทางสุขภาพที่ดี จึงได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายนำเสนอประเด็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ได้แก่ บุหรี่ อุบัติเหตุ และสุขภาวะทางเพศ โดยพยายามนำเสนอว่าสุขภาพที่ดีเริ่มที่ตัวเรา และส่งต่อสุขภาพดีให้คนอื่น ซึ่งในงานดังกล่าว สสส.ได้นำกิจกรรม อาทิ ทดสอบปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มของเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน, เกมส์ถนนคนเมาโดยให้ใส่แว่นจำลองอาการเมาแล้วลองเดินบนถนน เพื่อให้เห็นอันตรายจากสุรา, การแนะนำออกกำลังกายให้เหมาะสมกับช่วงวัย เป็นต้น