คุณกำลังเป็น..โรคอ้วนหรือเปล่า!

ความอ้วนเป็นสิ่งที่ใครหลายคนกำลังพบเจอ บางคนรู้ตัวว่าน้ำหนักตัวเองเกินมาตรฐานก็พยายามควบคุม แต่ก็มีอีกหลายคนที่เอ็นจอยอีทติ้งมากเกินจนน้ำหนักพุ่ง กลายเป็นคนอ้วนภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน นอกจากรูปลักษณ์ภายนอกที่ทำให้ไม่มั่นใจในรูปร่างตัวเองแล้ว ความอ้วนหรือโรคอ้วนก็ยังเป็นตัวการร้ายที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยตรง

      โรคอ้วน (Overweight and obesity) คือผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI) เป็นตัวกำหนด ค่า BMI สามารถคำนวนได้โดยการนำน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลัง 2 เช่น น้ำหนัก 79 กก. ส่วนสูง 155 ซม. BMI = 79 (1.55 x 1.55) = 32.88 กก/ม2

ค่าดัชนีมวลกายเท่าไหร่จึงเรียกว่า "โรคอ้วน"

ค่า BMI 18.5 - 22.9 เรียกว่า น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

ค่า BMI 23.0 - 24.9 เรียกว่า น้ำหนักตัวเกิน

ค่า BMI ตั้งแต่ 25 ขึ้นไปเรียกว่า เป็นโรคอ้วน

คุณกำลังเป็น..โรคอ้วนหรือเปล่า!

จากการศึกษาพบว่าถ้ามีความอ้วนค่า BMI มากกว่า 40 จะมีโอกาสเสียชีวิตเพราะโรคร่วมเหล่านี้ได้เร็วกว่าคนทั่วไปเฉลี่ยประมาณ 10 ปี

ความน่ากลัวของโรคอ้วน คืออะไร

หากมองในเรื่องน้ำหนักที่มาก ขนาดตัวที่ใหญ่ ใส่เสื้อผ้าไม่มั่นใจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ซึ่งเป็นเรื่องของความสวยความงาม นับว่ากลายเป็นเรื่องเล็กไปเลย หากเทียบกับสิ่งที่จะตามมาเมื่อเป็นโรคอ้วน นั่นก็คือ "โรคร่วมจากความอ้วน" สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้เป็นอย่างมาก

โรคร่วมแทรกซ้อนที่มาจากโรคอ้วนกับอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

ศีรษะ - โรคซึมเศร้า จากปัญหารูปร่างที่เปลี่ยนแปลงจึงส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคมและต่อเนื่องถึงจิตใจ 

โรคหลอดเลือดสมอง

คอ - ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea) นอนกรน
ปอด - ปอดทำงานได้ไม่ดี ความดันปอดสูง โรคปอด
เต้านม - มะเร็งเต้านม
หัวใจ - โรคหัวใจ เช่น หัวใจโต หัวใจวาย หลอดเลือดหัวใจขาดเลือด
โรคแมตาบอลิค - ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
ทางเดินอาหาร - ไขมันเกาะตับ นิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ใหญ่
ทางเดินปัสสาวะ - มะเร็งไต
ระบบอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง - โรคซีสต์ ฮอร์โมนผิดปกติ ประจำเดือนผิดปกติ มีความเสี่ยงกับการเกิดมะเร็งรังไข่และมะเร็งมดลูกเพิ่มขึ้น รวมถึงทำให้มีบุตรยาก
ระบบอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย - มีความเสี่ยงกับการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
กระดูกและข้อ - ปวดข้อเข่า ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย ปวดหลัง
ผิวหนัง - สิว ขนดก ซิสต์ใต้ผิวหนังติดเชื้อ อักเสบ เป็นฝีบ่อย มีกลิ่นตัว
คงจะดีกว่าถ้าหันมาลดน้ำหนักเพื่อบอกลาปัญหาโรคอ้วน และบอกลาจากโรคร่วมที่ทำร้ายสุขภาพ 

คุณกำลังเป็น..โรคอ้วนหรือเปล่า!

อ้วนได้ก็ลดได้
เมื่อเกิดโรคร่วมจากความอ้วนและได้รับการดูแลลดน้ำหนักจนกระทั่งไม่อ้วนแล้ว โรคร่วมหลายชนิดสามารถดีขึ้นจนถึงหายขาดได้ เช่น โรคเบาหวาน เมื่อน้ำหนักลดลง 3-5 กิโลกรัม ส่งผลให้ค่าน้ำตาลสะสมในเลือดลดลง และในกรณีที่ผ่าตัดลดความอ้วน ซึ่งน้ำหนักตัวจะลงโดย ได้ถึงมากกว่า 50% ของน้ำหนักส่วนเกินจากมาตรฐาน หรือ ประมาณ 30-80 กิโลกรัม พบว่า มากกว่าครึ่งนึง ของผู้ป่วยเบาหวาน สามารถลดยา ลดการฉีดอินซูลิน หรือหายจากโรค ...เพราะฉะนั้นคุณพร้อมจะโบกมือลาโรคอ้วนหรือยัง? เพราะอ้วนได้ก็ลดได้...ถ้าคุณพร้อมลงมือทำ

การลดน้ำหนักที่สามารถทำได้จริงและแพทย์ให้การแนะนำ มี 3 วิธี
วิธีการควบคุมด้านโภชนาการ ลดได้ประมาณ 6-9% ของน้ำหนักส่วนเกิน

การออกกำลังกาย ลดได้ประมาณ 6-9 % ของน้ำหนักส่วนเกิน
การผ่าตัดลดน้ำหนัก ลดได้ประมาณ 50-80% ของน้ำหนักส่วนเกิน โดยมีข้อบ่งชี้คือ อายุ 18-65 ปี BMI>32.5 ร่วมกับโรคร่วมมากกว่าสองข้อหรือมีเบาหวาน BMI > 37.5 และไม่สามารถลดความอ้วนสำเร็จแม้ควบคุมโภชนาการและออกกำลังกายได้อย่างเต็มที่แล้ว

เมื่อลดน้ำหนักได้ตามเกณฑ์ที่เหมาะสมแล้ว สิ่งที่สำคัญอันดับต่อไป คือ การควบคุมน้ำหนักให้คงอยู่ในเกณฑ์ไปตลอด เพื่อป้องกันการเกิดโรคอ้วนขึ้นใหม่ และการเกิดโรคร่วมต่างๆ ซึ่งการมีทีมสนับสนุนที่ดีนั้นพบว่าช่วยให้ผู้ป่วยสามารถคุมน้ำหนักได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อต้องการลดน้ำหนัก

การรับประทานยาลดความอ้วน สามารถกล่าวได้ว่ายาลดความอ้วนทุกชนิดที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดมีผลกระทบอันตรายกับสุขภาพ และยังอาจส่งผลกระทบถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว เพราะการใช้ยาลดน้ำหนักที่ถูกต้องนั้น ณ ปัจจุบันจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้ในช่วงเวลาสั้นๆและยาที่มีความปลอดภัยยังมีเพียงไม่กี่ชนิดอีกด้วยการอดอาหาร เพราะหนึ่งในวิธีการลดน้ำหนักที่ถูกต้อง คือ การควบคุมอาหาร ทั้งปริมาณและคุณภาพอาหารไม่ใช่การ อดอาหาร เพราะอาจทำให้น้ำหนักลดลงจากการขาดน้ำและไขมันในร่างกายไม่ได้ลดลง ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เกลือแร่ผิดปกติ หรือช็อคได้

เมื่อใดก็ตามที่น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือเข้าข่ายเป็นโรคอ้วน ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทาง เพราะความอ้วนของแต่ละคนมีที่มา และส่งผลต่อร่างกายที่แตกต่างกัน ดังนั้นการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดและรับคำแนะนำ จากทีมสหสาชขาที่ประกอบด้วยแพทย์เฉพาะทางโภชนบำบัดและโรคอ้วน นักโภชนาการ นักกายภาพบำบัดหรือ Trainer เพื่อวางแผนการลดน้ำหนัก แบบเฉพาะบุคคลจึงมีความสำคัญ เพื่อให้การลดน้ำหนักของคุณเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย

เครดิตแหล่งข้อมูล : phyathai.com

คุณกำลังเป็น..โรคอ้วนหรือเปล่า!

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์