มะเร็งปอด ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม
มะเร็งปอด อีกหนึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประชากรไทย โดยส่วนมากผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดในระยะแรกมักจะไม่ค่อยมีอาการแสดง แต่จะมีสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคเมื่อมะเร็งเติบโตหรือเริ่มลุกลามแล้ว ซึ่งมะเร็งปอดสามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบในระยะเริ่มต้น
มะเร็งปอดเกิดจากอะไร?
เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วและไม่สามารถควบคุมได้ จึงทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งจะสามารถตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ และแพร่กระจายเป็นจำนวนมากไปตามอวัยวะต่างๆ โดยมะเร็งปอดสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1.มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer) เซลล์จะมีการเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วจึงทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตค่อนข้างเร็ว มะเร็งปอดชนิดนี้พบไม่มาก คือราว 10-15 % แบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ
ระยะจำกัดขนาดมะเร็ง (Limited Stage) ในระยะนี้มะเร็งจะอยู่ในบริเวณปอดเท่านั้น
ระยะการแพร่กระจาย (Extensive Stage) เป็นระยะที่มะเร็งได้มีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายแล้ว
2.มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer) มะเร็งปอดชนิดนี้จะมีการแพร่กระจายได้ช้ากว่า และถ้าหากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ จะสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัด มะเร็งชนิดนี้พบได้ประมาณ 85-90% แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 พบมะเร็งเฉพาะที่บริเวณปอดเท่านั้น ไม่พบในต่อมน้ำเหลือง และยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
ระยะที่ 2 แบ่งออกเป็น
ระยะที่ 2A มะเร็งจะมีขนาดเล็กและพบว่ามีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด
ระยะที่ 2B มะเร็งจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อยและแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด หรือเซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น เช่น บริเวณผนังทรวงอก
ระยะที่ 3 แบ่งออกเป็น
ระยะที่ 4 ในระยะนี้มะเร็งได้มีการกระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายแล้ว เช่น กระดูก ตับ สมอง
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอด
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ แต่มีปัจจัยบางประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดได้ เช่น
เช็กอาการของโรคมะเร็งปอด
โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น มักจะยังไม่แสดงอาการ แต่เมื่อโรคลุกลามแล้วมักมีอาการแสดงออก ที่สามารถสังเกตได้เบื้องต้น คือ
ไอเรื้อรัง และไอมีเสมหะปนเลือด
หายใจสั้น หายใจมีเสียงหวีด เจ็บหน้าอกตลอดเวลา
หายใจลำบาก หอบเหนื่อย เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
ปอดติดเชื้อบ่อย
เสียงแหบ เสียงเปลี่ยน
น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
การรักษาโรคมะเร็งปอด
สิ่งสำคัญของการรักษามะเร็งปอด คือการพิจารณาตำแหน่ง ขนาดและระยะของเซลล์มะเร็ง รวมไปถึงสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย ซึ่งวิธีการรักษามะเร็งปอด มีดังนี้
การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนมะเร็งที่ปอดและต่อมน้ำเหลืองที่ช่องอกออกให้หมด ซึ่งในบางครั้งก้อนเนื้อนั้นอาจจะไม่ใช่เซลล์มะเร็งทั้งหมดก็ได้ ซึ่งโดยทั่วไปวิธีนี้ใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ในระยะที่ 1, 2 และ 3A
การฉายรังสี (Radiotherapy) เป็นการนำพลังงานรังสีที่มีความเข้มข้นฉายไปยังตำแหน่งของเซลล์มะเร็งเพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้น แต่วิธีนี้จะใช้ไม่ได้ผลกับระยะมะเร็งที่ได้มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ แต่อาจใช้เฉพาะจุดเพื่อควบคุมการลุกลาม การฉายรังสีใช้เวลาไม่นานและไม่ทำให้เจ็บปวด แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร กลืนลำบาก ระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี
การใช้ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เป็นการกระตุ้นให้ระบบการทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกายไปตรวจจับและทำลายเซลล์มะเร็ง
การให้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นการใช้ยาเพื่อกำจัดและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ทั่วในร่างกาย ซึ่งโดยทั่วไปยาเคมีบำบัดที่ใช้กับมะเร็งปอดเป็นรูปแบบของยาที่ต้องฉีดเข้าเส้นเลือด
การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง (Targeted therapy) เป็นการรักษาโดยการใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับเซลล์มะเร็ง ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติ และวิธีนี้จะไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเหมือนกับการใช้ยาเคมีบำบัด
การรักษาด้วยวิธีการผสมผสาน โดยทั่วไปการรักษามะเร็งมักจะใช้มากกว่าหนึ่งวิธีขึ้นไป ผู้ป่วยจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาและอาการผลข้างเคียงของแต่ละวิธี
อย่างไรก็ตาม เราทุกคนควรหมั่นดูแลสุขภาพ และพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพหรือคัดกรองโรคเป็นประจำทุกปี และเนื่องจากโรคมะเร็งปอดมักจะไม่ค่อยมีอาการแสดงออกในช่วงระยะแรก ดังนั้นการตรวจคัดกรองจึงให้ประโยชน์ทั้งในแง่การเฝ้าระวังและการรักษา เพราะเป็นมะเร็งที่สามารถรักษาให้หายได้หากพบเร็ว
เครดิตแหล่งข้อมูล : paolohospital
มะเร็งปอดเกิดจากอะไร?
เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วและไม่สามารถควบคุมได้ จึงทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งจะสามารถตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ และแพร่กระจายเป็นจำนวนมากไปตามอวัยวะต่างๆ โดยมะเร็งปอดสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1.มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer) เซลล์จะมีการเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วจึงทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตค่อนข้างเร็ว มะเร็งปอดชนิดนี้พบไม่มาก คือราว 10-15 % แบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ
ระยะจำกัดขนาดมะเร็ง (Limited Stage) ในระยะนี้มะเร็งจะอยู่ในบริเวณปอดเท่านั้น
ระยะการแพร่กระจาย (Extensive Stage) เป็นระยะที่มะเร็งได้มีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายแล้ว
2.มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer) มะเร็งปอดชนิดนี้จะมีการแพร่กระจายได้ช้ากว่า และถ้าหากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ จะสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัด มะเร็งชนิดนี้พบได้ประมาณ 85-90% แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 พบมะเร็งเฉพาะที่บริเวณปอดเท่านั้น ไม่พบในต่อมน้ำเหลือง และยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
ระยะที่ 2 แบ่งออกเป็น
ระยะที่ 2A มะเร็งจะมีขนาดเล็กและพบว่ามีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด
ระยะที่ 2B มะเร็งจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อยและแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด หรือเซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น เช่น บริเวณผนังทรวงอก
ระยะที่ 3 แบ่งออกเป็น
ระยะที่ 3A เซลล์มะเร็งจะมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในบริเวณอื่นๆ ที่ห่างจากปอด หรือพบมะเร็งในต่อมน้ำเหลืองรอบๆ ปอด และเซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังผนังทรวงอกหรือบริเวณกลางช่องอกแล้ว
ระยะที่ 3B เซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองอีกด้านของช่องอกหรือต่อมน้ำเหลืองเหนือกระดูกไหปลาร้า หรือมีเนื้องอกมากกว่า 1 ก้อนในปอด หรือเนื้องอกเจริญเติบโตในอีกด้านของช่องอก เช่น บริเวณหัวใจ หลอดอาหาร หรือมีของเหลวที่มีเซลล์มะเร็งอยู่รอบๆ ปอดระยะที่ 4 ในระยะนี้มะเร็งได้มีการกระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายแล้ว เช่น กระดูก ตับ สมอง
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอด
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ แต่มีปัจจัยบางประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดได้ เช่น
การสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด รวมถึงมะเร็งชนิดอื่นๆ ได้ โดยผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
ควันบุหรี่ ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้สูบบุหรี่ แต่การได้รับควันบุหรี่จากการสูดหายใจเข้าไปจะทำให้มีสารพิษตกค้างซึ่งอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้
การทำงานในอุตสาหกรรมที่มีสารก่อมะเร็ง การสัมผัสสารก่อมะเร็ง เช่น โครเมียม แร่เรดอน นิกเกิล เป็นต้น
สภาวะแวดล้อมที่มีฝุ่นละอองพิษ เช่น ฝุ่น PM2.5 จากการศึกษาพบว่า PM2.5 ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดได้มากถึง 1-1.4 เท่า ซึ่งถือว่ามีความร้ายแรงเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่
เช็กอาการของโรคมะเร็งปอด
โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น มักจะยังไม่แสดงอาการ แต่เมื่อโรคลุกลามแล้วมักมีอาการแสดงออก ที่สามารถสังเกตได้เบื้องต้น คือ
ไอเรื้อรัง และไอมีเสมหะปนเลือด
หายใจสั้น หายใจมีเสียงหวีด เจ็บหน้าอกตลอดเวลา
หายใจลำบาก หอบเหนื่อย เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
ปอดติดเชื้อบ่อย
เสียงแหบ เสียงเปลี่ยน
น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
การรักษาโรคมะเร็งปอด
สิ่งสำคัญของการรักษามะเร็งปอด คือการพิจารณาตำแหน่ง ขนาดและระยะของเซลล์มะเร็ง รวมไปถึงสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย ซึ่งวิธีการรักษามะเร็งปอด มีดังนี้
การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนมะเร็งที่ปอดและต่อมน้ำเหลืองที่ช่องอกออกให้หมด ซึ่งในบางครั้งก้อนเนื้อนั้นอาจจะไม่ใช่เซลล์มะเร็งทั้งหมดก็ได้ ซึ่งโดยทั่วไปวิธีนี้ใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ในระยะที่ 1, 2 และ 3A
การฉายรังสี (Radiotherapy) เป็นการนำพลังงานรังสีที่มีความเข้มข้นฉายไปยังตำแหน่งของเซลล์มะเร็งเพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้น แต่วิธีนี้จะใช้ไม่ได้ผลกับระยะมะเร็งที่ได้มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ แต่อาจใช้เฉพาะจุดเพื่อควบคุมการลุกลาม การฉายรังสีใช้เวลาไม่นานและไม่ทำให้เจ็บปวด แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร กลืนลำบาก ระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี
การใช้ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เป็นการกระตุ้นให้ระบบการทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกายไปตรวจจับและทำลายเซลล์มะเร็ง
การให้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นการใช้ยาเพื่อกำจัดและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ทั่วในร่างกาย ซึ่งโดยทั่วไปยาเคมีบำบัดที่ใช้กับมะเร็งปอดเป็นรูปแบบของยาที่ต้องฉีดเข้าเส้นเลือด
การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง (Targeted therapy) เป็นการรักษาโดยการใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับเซลล์มะเร็ง ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติ และวิธีนี้จะไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเหมือนกับการใช้ยาเคมีบำบัด
การรักษาด้วยวิธีการผสมผสาน โดยทั่วไปการรักษามะเร็งมักจะใช้มากกว่าหนึ่งวิธีขึ้นไป ผู้ป่วยจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาและอาการผลข้างเคียงของแต่ละวิธี
อย่างไรก็ตาม เราทุกคนควรหมั่นดูแลสุขภาพ และพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพหรือคัดกรองโรคเป็นประจำทุกปี และเนื่องจากโรคมะเร็งปอดมักจะไม่ค่อยมีอาการแสดงออกในช่วงระยะแรก ดังนั้นการตรวจคัดกรองจึงให้ประโยชน์ทั้งในแง่การเฝ้าระวังและการรักษา เพราะเป็นมะเร็งที่สามารถรักษาให้หายได้หากพบเร็ว
เครดิตแหล่งข้อมูล : paolohospital
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!